Custom Search By Google

Custom Search

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

บทความคริสเตียน

บทความคริสเตียน
http://www.gracezone.org/index.php/christian-articles

บทความทางด้านจิตวิญญาณ หลักข้อเชื่อ พระเจ้า พระคัมภีร์ พระเจ้า พระคัมภีร์ แนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ความรักและครอบครัว บทความหนุนใจ บทเรียนในการเรียนรู้เรืองพระเจ้า บทความและข่าวสารจากพันธกิจด้านต่างๆ รวมทั้งเกร็คความรู้ต่างๆ และอื่่นๆ

More Articles...

10 คำทำนายสะท้านโลก
กษัตริย์ไซรัส ผู้รับใช้ของพระเจ้า
การตรึงที่กางเขนเป็นการทรมาน..ให้ตายอย่างช้าๆ
การตายของอัครทูตแต่ละคน
การนับวันอีสเตอร์ตามปฏิทินเทศกาลของคริสตจักรสากล
การล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
การสร้างพระวิหารหลังที่ 1 (Solomon Temple)
การสร้างพระวิหารหลังที่ 2 (Herod's Temple)
คริสต์ศาสนาในประเทศไทย
คริสเตียนควรเลือกคนแบบไหนมาแต่งงาน??
ความรักหลายแบบในภาษากรีก
ความหมายของ ตัวเลข ในคริสตศาสนา
ความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิกกับนิกายโปรเตสแตนต์
คานาอัน .. ในควันไฟที่ไม่เคยจางหาย (prypilas)
คำเผยพระวจนะ สำหรับประเทศไทย (คริสเตียน) โดย ชัค เพียร์ซ
คำเผยพระวจนะสำหรับประเทศไทย โดย ดร.ซินดี้ เจคอปส์ 13-15 พฤศจิกาย 2008
คำเผยสำหรับประเทศไทย วันที่ 1 มกราคม 2009
จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างตามที่ได้มีพยากรณ์ไว้เกี่ยวกับยุคสุดท้าย?
ทัศนะคติอย่างฟาโรห์ หรือ ทัศนะคติอย่างโยบ
ทำอย่างไร " ให้มีคู่พระพร "
ทำไมอิสลามไม่ยอมรับพระเยซูคริสต์ โดย ชัยรัตน์ จิตต์แก้ว
ที่มาของวัน อีสเตอร์
ทุกอย่างก็อนิจจัง
ทูตสวรรค์ของพระเจ้า และซาตาน
นิกายต่างๆของคริสต์ศาสนา
นิเวศน์อธิษฐาน ตอนที่ 1 : นิเวศน์อธิษฐาน คืออะไร?
นิเวศน์อธิษฐาน ตอนที่ 2 : เรื่องเล่าเกี่ยวกับนิเวศน์อธิษฐาน
นิเวศน์อธิษฐาน ตอนที่ 3 : การอธิษฐาน 24x7 ของ ช่วงยุคแรกของคริสตจักร
นิเวศน์อธิษฐาน ตอนที่ 4 : แรงขับเคลื่อน
นิเวศน์อธิษฐาน ตอนที่ 5 : แรงขับเคลื่อน (ต่อ)
นิเวศน์อธิษฐาน – ห้องอธิษฐาน ห้องเผยพระวจนะ ห้องเยียวยารักษา
ประตูต่างๆของกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม
ประวัติศาสตร์คริสตจักรยุคต่างๆ โดย อ.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
ประวัติศาสตร์อิสราเอล จากฮับบราฮัม ถึง สมัยหลังพระเยซู
ประวัติศาสตร์อียิปต์ - ตอนที่ 1
ประวัติศาสตร์อียิปต์ - ตอนที่ 2 ปลายยุคก่อนราชวงศ์
ประวัติศาสตร์อียิปต์ - ตอนที่ 3 คิง สกอร์เปียน
ประวัติศาสตร์อียิปต์ - ตอนที่ 4 ยุคราชวงศ์
ประเทศอิสราเอล
พยานพระยะโฮวาห์เป็นใคร
พระคัมภีร์นอกสารบบ (Apocrypha)
พระคัมภีร์นอกสารบบ - หนังสือยูดิธ
พระคัมภีร์นอกสารบบ - หนังสือโทบิต
พระนามของพระเจ้า
พระเจ้าทรงช่วยผู้ที่รักพระองค์ให้เกิดผลดีในทุกสิ่ง
พุทธ คริสต์ อิสสลาม เหมือนหรือต่าง โดย ชัยรัตน์ จิตต์แก้ว
มอรมอน
มารู้จัก Dome of the Rock / เขตเมืองเก่า เยรูซาเล็ม
มารู้จักยิว ตอนที่ 1
มารู้จักยิว ตอนที่ 2 รู้สึกว่ายิวจะเป็นศูนย์รวมของความเจริญต่างๆในโลก
มารู้จักยิว ตอนที่ 3 ชาวยิวในสหรัฐอเมริกาช่วยอิสราเอลอย่างไร
มารู้จักยิว ตอนที่ 4 ทำไมพวก "ยิว" ถึงมีอิธิพลต่ออเมริกา
มารู้จักยิว ตอนที่ 5 ความขยันอดทนของคนยิว
มาร์ติน ลูเทอร์
รหัสลับ ในลำดับพงศ์ของพระเยซู
รู้จักทูตสวรรค์ประจำตัวของท่าน
ลัทธิเทียมเท็จ
ศาสนา ประชากร สถิติ
สงครามครูเสด
สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (1095 -1101)
สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (1147–1149)
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (1187–1192)
สรุปหนังสือ “จุมพิตพระพักตร์” โดย แซม ฮินน์
สรุปหนังสือ “นมัสการพระเยซูอย่างไร?” โดย โจเซฟ เอส แคโรลล์
หมายสำคัญสำหรับยุคสุดท้ายมีอะไรบ้าง?
หม้อในพระหัตถ์ - The Potter GOD
หลักฐานการข้ามทะเลแดง ในยุคโมเสส (ตอนที่ 1)
หลักฐานการข้ามทะเลแดง ในยุคโมเสส (ตอนที่ 2)
อาณาจักรพันปีคืออะไร และมันมีอายุพันปีจริง ๆ หรือไม่?
อิสราเอล (ชนชาติที่เพระเจ้าทรงเลือกสรร) ตอนที่ 1
อิสราเอล (ชนชาติที่เพระเจ้าทรงเลือกสรร) ตอนที่ 2
อิสราเอล (ชนชาติที่เพระเจ้าทรงเลือกสรร) ตอนที่ 3
อิสราเอล (ชนชาติที่เพระเจ้าทรงเลือกสรร) ตอนที่ 4
อิสราเอล 965-922ก่อนคริสตาล ถึง ปัจจุบัน
เนบูคัดเนสซาร์ กษัตริย์แห่งบาบิโลน
เนเธอร์แลนด์สร้างเรือโนอาห์เรียนแบบของจริง
เรื่องความอัศจรรย์ของเลข 7 จากพระคัมภีร์ Bible
เลข 8 กับมุมต่างๆในพระคัมภีร์
โปรเตสแตนต์
โมเสสในคัมภีร์ไบเบิ้ลคือใครกันแน่
โรมันคาทอลิก
ใครคือ Anti Christ ?
“การอธิษฐานวิงวอนพลังที่ถูกลืม” โดย จิม กอลล์

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

พระเจ้าพระบิดา

พระเจ้าพระบิดา

พระเจ้า พระบิดาองค์นิรันดร์ทรงเป็นพระผู้สร้าง ทรงเป็นแหล่งที่มา ทรงเป็นผู้ค้ำจุนและทรงมีอำนาจเหนือสรรพสิ่งที่ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ทรงเมตตาและทรงพระคุณ ทรงช้าในความพิโรธ และอุดมด้วยความรักอันมั่นคง และความสัตย์ซื่อ พระลักษณะและฤทธานุภาพของพระองค์แสดงออกให้เห็นได้จากพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คือเปิดเผยให้เห็นถึงพระบิดา (ปฐมกาล 1:1; วิวรณ์ 4:11; 1 โครินธิ์ 15:28; ยอห์น 3:16; 1 ยอห์น 4:8; 1 ทิโมธี 1:17; อพยพ 34:6; ยอห์น 14:9)

บทที่ 3

วันแห่งการพิพากษาครั้งใหญ่เริ่มต้น พระที่นั่งที่มีเพลิงลุกเป็นวงล้อหมุนตั้งไว้ ผู้เจริญด้วยวัยวุฒิเสด็จมาประทับมีแสงรัศมีเจิดจ้าปรากฏไปทั่ว พระองค์ทรงประทับเป็นประธานบนพระที่นั่งเหนือสถานพิพากษา การประทับอยู่ของพระองค์น่าเกรงขามยิ่งกระจายไปทั่วบริเวณห้องพิพากษา บรรดาพยานนับจำนวนไม่ถ้วนยืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ การพิพากษาเริ่มต้นขึ้น หนังสือทั้งหลายถูกเปิดออกและการตรวจสอบบันทึกชีวิตของมนุษย์ก็เริ่มดำเนินการ (ดาเนียล 7:9, 10)
จักรวาลทั้งปวงได้เฝ้ารอเวลานี้มานานแล้ว พระเจ้าพระบิดาจะทรงตัดสินบรรดาความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งหมดด้วยความยุติธรรม มีคำประกาศว่า “การพิพากษาให้แก่วิสุทธิชนขององค์ผู้สูงสุด” (ดาเนียล 7:22) เสียงสรรเสริญด้วยความยินดีและโมทนาพระคุณดังกึกก้องไปทั่วฟ้าสวรรค์ พระลักษณะของพระเจ้าได้ฉายให้เห็นได้ทั่วจากพระสิริของพระองค์ และพระนามอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพระองค์ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นทั่วทั้งจักรวาล

ทรรศนะเกี่ยวกับพระบิดา
มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับพระเจ้าพระบิดาเสมอ คนจำนวนมากรับรู้พันธกิจของพระคริสต์เพื่อมนุษยชาติในโลกและบทบาทหน้าที่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ส่วนพระบิดาทรงมีบทบาทอะไรต่อชีวิตของเราทั้งหลายบ้าง พระองค์แตกต่างไปจากพระบุตรผู้ทรงพระคุณและพระวิญญาณบริสุทธิ์ ด้วยการออกไปจากโลกนี้ เป็นเหมือนเจ้าของที่ดินผู้หายไป ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์อันแก้ไขไม่ได้ครั้งแรกใช่หรือไม่
หรือว่าพระองค์เป็นไปอย่างที่มีบางคนคิดว่า “เป็นพระเจ้าแห่ง พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม” พระเจ้าผู้ทรงแก้แค้น ได้รับการกล่าวถึงพระ-ลักษณะว่า “ตาแทนตา ฟันแทนฟัน” (มัทธิว 5:38; อพยพ 21:24) พระเจ้าผู้ทรงกระทำอย่างตรงไปตรงมา กำหนดว่าทุกคนต้องประพฤติตนถูกต้องสมบูรณ์เท่านั้น เป็นพระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่แตกต่างไปจากพระเจ้าใน พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ซึ่งแสดงออกให้เห็นว่าทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรัก ผู้ทรงเน้นให้หันแก้มอีกข้างหนึ่งให้คนอื่นตบและเดินเลยไปสองกิโลเมตร (มัทธิว 5:39-41)

พระเจ้าพระบิดาในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม
เนื้อหาที่เป็นหนึ่งเดียวกันของพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่และแผนงานแห่งการไถ่ให้รอดที่เหมือนกัน เปิดเผยโดยข้อเท็จจริงให้เห็นว่ามาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน ผู้ทรงตรัสและมีบทบาทในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของพระคัมภีร์ทั้งสองภาค เพื่อความรอดแห่งประชากรของพระองค์ “ความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่หวังไว้ เป็นความแน่ใจในสิ่งที่มองไม่เห็น โดยความเชื่อนี้เองคนสมัยก่อนจึงได้รับการรับรองจากพระเจ้า“ (ฮีบรู 1:1,2) ถึงแม้ว่าในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงพระเจ้าทั้งสามพระภาค (ตรีเอกานุภาพ) ภาพที่เห็นแยกไม่ออกอย่างชัดเจนก็ตาม แต่พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่แสดงให้เห็นภาพของพระคริสต์ พระเจ้าผู้เป็น พระบุตร ผู้มีส่วนสำคัญในการเนรมิตสร้าง (ยอห์น 1:1-3,14; โคโลสี 1:16) และเป็นพระเจ้าผู้ทรงนำอิสราเอลออกมาจากประเทศอียิปต์ (1 โครินธ์ 10:1-4; อพยพ 3:14; ยอห์น 8:58) สิ่งที่พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่กล่าวถึงบทบาทของพระคริสต์ในการสร้างและในการทรงนำการอพยพ ชี้ให้เราเห็นว่าถึงแม้ในสมัยพันธสัญญาเดิม ก็ยังแสดงให้เราเห็นภาพของพระเจ้าพระบิดาโดยทางพระบุตรผู้แทนของพระองค์ “พระเจ้าทรงให้โลกนี้คืนดีกับพระองค์โดย พระคริสต์" (2 โครินธ์ 5:19) พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมบรรยายถึงพระบิดาดังต่อไปนี้

พระเจ้าแห่งพระคุณ ไม่มีมนุษย์คนบาปคนไหนเคยเห็นพระเจ้า (อพยพ 33:20) เราไม่มีรูปภาพว่าพระองค์ทรงมีรูปร่างเป็นอย่างไร พระเจ้าทรงเปิดเผยให้เห็นพระลักษณะอุปนิสัยของพระองค์โดยการกระทำอันเต็มไปด้วยพระคุณเมตตา และโดยอักษรภาพซึ่งพระองค์ทรงประทานต่อหน้าโมเสสว่า “พระยาห์เวห์เสด็จผ่านไปข้างหน้าท่าน ตรัสว่า "พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ เป็นพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยพระกรุณาและพระคุณ พระองค์กริ้วช้า ทรงบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคงและความสัตย์จริง ผู้ทรงสำแดงความรักมั่นคงจนถึงพันๆ ชั่วอายุคน ผู้ประ‍ทานอภัยการล่วงละเมิด การทรยศและบาป แต่จะไม่ทรงละเว้นการลงโทษอย่างแน่นอน และทรงให้โทษบิดาตกทอดไปถึงลูกหลานถึงสามชั่วสี่ชั่วอายุคน" (อพยพ 34:6, 7; ฮีบรู 10:26, 27) ถึงกระนั้นก็ตาม พระเมตตานี้ไม่ใช่การยกโทษโดยไม่ตรวจสอบอย่างรอบคอบ ทว่ากระทำโดยมีหลักการและความยุติธรรมเป็นสิ่งชี้นำ บรรดาผู้ปฏิเสธพระคุณนี้จะต้องได้รับการปรับโทษตามความผิดของเขา
พระเจ้าได้ทรงแสดงพระประสงค์ของพระองค์ว่าทรงต้องการเป็นมิตรกับคนอิสราเอล ประทับอยู่ท่ามกลางเขา พระองค์ทรงตรัสแก่โมเสสว่า “ให้พวกเขาสร้างสถานนมัส‍การสำหรับเรา เพื่อเราจะอยู่ท่ามกลางพวกเขา” (อพยพ 25:8) เพราะนี่คือสถานที่บนโลกที่พระเจ้าทรงประทับอยู่ สถานศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้กลายมาเป็นศูนย์รวมทางศาสนา

พระเจ้าแห่งพันธสัญญา พระเจ้าทรงมุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์อันยั่งยืน พระองค์ทรงทำสัญญาสำคัญกับคนอย่างโนอาห์ (ปฐมกาล 9:1-17) และ อับราฮัม (ปฐมกาล 12:1-3, 7;13:14-17;15:1, 5, 6; 17:1-8; 22:15-18; ดูบทที่ 7 ของหนังสือเล่มนี้) พันธสัญญาเหล่านี้เปิดเผยให้เห็นพระลักษณะของพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงรัก ผู้สนพระทัยในความเป็นไปที่เกิดแก่ประชากรของพระองค์ พระองค์ทรงให้หลักประกันแก่โนอาห์ว่าจะมีฤดูกาลตามปกติ (ปฐมกาล 8:22) และจะไม่มีน้ำท่วมโลกอีก (ปฐมกาล 9:11) ทรงให้พระสัญญาแก่อับราฮัมว่าเขาจะมีลูกหลานจำนวนนับไม่ถ้วน (ปฐมกาล 15:5-7) และจะได้แผ่นดินที่ลูกหลานจะได้พำนักอาศัย (ปฐมกาล 15:18; 17:8)

พระเจ้าผู้ทรงไถ่ ในฐานะพระเจ้าแห่งพระธรรมอพยพ พระองค์ทรงนำชนชาติหนึ่งออกจากการเป็นทาสไปสู่อิสรภาพอย่างอัศจรรย์ การไถ่ให้รอดอันยิ่งใหญ่นี้เป็นฉากหลังของเรื่องราวตลอดทั้งพันธสัญญาเดิมและเป็นตัวอย่างของพระประสงค์ที่จะมาเป็นพระผู้ไถ่ของเราทั้งหลาย พระเจ้าไม่ได้อยู่ห่าง
ไกล ปลีกตัวอย่างต่างหาก ไม่ใส่ใจ แต่ทรงเป็นพระองค์ผู้ทรงเข้ามามีส่วนในการสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราทั้งหลาย
พระธรรมสดุดีประพันธ์จากแรงบันดาลใจที่ได้รับจากการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เขียนด้วยความรักอันล้ำลึก “เมื่อข้าพระองค์มองดูฟ้าสวรรค์อันเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ดวงจันทร์และดวงดาวซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาไว้มนุษย์เป็นผู้ใดเล่าซึ่งพระองค์ทรงระลึกถึงเขา และบุตรของมนุษย์เป็นใครเล่า ซึ่งพระองค์ทรงเยี่ยมเขา” (สดุดี 8:3, 4) “ข้าแต่พระเจ้า พระกำลังของข้าพระองค์ ข้าพระองค์รักพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นพระศิลา ป้อมปราการ และผู้ช่วยกู้ของข้าพระองค์ เป็นพระเจ้าของข้าพระองค์ เป็นพระศิลาซึ่งข้าพระองค์เข้าลี้ภัยอยู่ในพระองค์ เป็นโล่ เป็นพลังแห่งความรอดของข้าพระองค์ เป็นที่กำบังเข้มแข็งของข้าพระองค์” (สดุดี 18:1, 2) "เพราะพระองค์มิได้ทรงดูถูกหรือสะอิดสะเอียน ต่อความทุกข์ยากของผู้ที่ทุกข์ใจ และพระองค์มิได้ทรงซ่อนพระพักตร์จากเขา เมื่อเขาร้องทูล พระองค์ทรงฟัง” (สดุดี 22:24)

พระเจ้าแห่งการลี้ภัย ดาวิดมองดูพระเจ้าว่าทรงเป็นพระองค์ที่เราทั้งหลายสามารถได้รับการลี้ภัย เหมือนกับเมืองลี้ภัยทั้งหกแห่งของประเทศอิสราเอล ซึ่งตั้งไว้เพื่อช่วยให้เหยื่อผู้ทำผิดโดยไม่เจตนาได้เข้าไปหลบภัย ผู้เขียน พระธรรมสดุดีได้นำเอาการ “ลี้ภัย” ที่เคยมีมาก่อนกลับมาให้เห็นอีกครั้ง แสดงถึงภาพของพระคริสต์และพระบิดา พระเจ้าสามพระภาคผู้ทรงเป็นที่ “ลี้ภัย” ของเรา “เพราะพระองค์จะทรงซ่อนข้าพเจ้า ในที่กำบังของพระองค์
ในยามยากลำบาก พระองค์จะปิดข้าพเจ้าไว้ภายใต้ร่มพลับพลาของพระองค์ พระองค์จะทรงตั้งข้าพเจ้าไว้สูงบนศิลา” (สดุดี 27:5) “พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยและเป็นกำลังของ ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นความช่วยเหลือที่พร้อมอยู่ในยามยากลำบาก” (สดุดี 46:1) "ภูเขาอยู่รอบเยรูซาเล็มฉันใด พระเจ้าทรงอยู่รอบประชากรของพระองค์ ตั้งแต่เวลานี้สืบต่อไปเป็นนิตย์ฉันนั้น” (สดุดี 125:2)
ผู้ประพันธ์พระธรรมสดุดีได้แสดงถึงการโหยหาเฝ้ารอพระเจ้าของเขา “กวางกระเสือกกระสนหาลำธาร ที่มีน้ำไหลฉันใด ข้าแต่พระเจ้า จิตวิญญาณของข้าพระองค์ ก็กระเสือกกระสนหาพระองค์ฉันนั้น จิตวิญญาณของข้าพระองค์กระหายหาพระเจ้า หาพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์” (สดุดี 42:1, 2) ดาวิดได้ยืนยันเป็นหลักฐานจากประสบการณ์ชีวิตของตนเองว่า “จงมอบภาระของท่านไว้กับพระเจ้า และพระองค์จะทรงค้ำจุนท่าน พระองค์จะไม่ทรงยอมให้ คนชอบธรรมคลอนแคลนเลย” (สดุดี 55:22) "ประชาชนเอ๋ย จงวางใจในพระองค์ตลอดเวลา จงระบายความในใจของท่านต่อพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของเรา” (สดุดี 62:8) "ทรงเป็นพระเจ้ากอปรด้วยพระกรุณา และพระเมตตา ทรงกริ้วช้า และอุดมด้วยความรักมั่นคงและความสัตย์สุจริต” (สดุดี 86:15)

พระเจ้าผู้ทรงให้อภัย หลังจากพระราชาดาวิดได้ทำบาปด้วยการล่วงประเวณีและฆ่าคน พระองค์ได้วิงวอนด้วยความจริงใจว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงแสดงพระกรุณาต่อข้าพระองค์ตามความรักมั่นคง ของพระองค์ "ขออย่าทรงเหวี่ยงข้าพระองค์ไปเสียจากเบื้อง พระพักตร์พระองค์ และขออย่าทรงนำวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ ไปจากข้าพระองค์" (สดุดี 51:1, 11) พระราชาดาวิดได้รับการปลอบโยนด้วยหลักประกันการอภัยอันน่าอัศจรรย์ของพระเจ้า “เพราะว่าฟ้าสวรรค์สูงเหนือแผ่นดินเท่าใด ความรักมั่นคงของพระองค์ที่มีต่อบรรดาคนที่ เกรงกลัวพระองค์ก็ใหญ่ยิ่งเท่านั้น ตะวันออกไกลจากตะวันตกเท่าใด พระองค์ทรงปลดการละเมิดของเราจากเราไปไกลเท่านั้น บิดาสงสารบุตรของตนฉันใด พระเจ้าทรงสงสารบรรดาคนที่ยำเกรงพระองค์ฉันนั้น เพราะพระองค์ทรงทราบโครงร่างของเรา พระองค์ทรงระลึกว่าเราเป็นแต่ผงคลี" (สดุดี 103:11-14)

พระเจ้าผู้ทรงมีคุณความดี พระเจ้าคือพระองค์ "ผู้ทรงประกอบความยุติธรรม ให้แก่คนที่ถูกบีบบังคับ ผู้ประทานอาหารแก่คนที่หิว พระเจ้าทรงปล่อยผู้ถูกคุมขังให้เป็นอิสระ พระเจ้าทรงเบิกตาของคนตาบอด พระเจ้าทรงยกคนที่ตกต่ำให้ลุกขึ้น พระเจ้าทรงรักคนชอบธรรม พระเจ้าทรงเฝ้าดูคนต่างด้าว พระองค์ทรงชูลูกกำพร้าพ่อและหญิงม่าย แต่พระองค์ทรงพลิกทางของคนอธรรม (สดุดี 146:7-9) ภาพของพระเจ้าที่ปรากฏอยู่ในพระธรรมสดุดีช่างยิ่งใหญ่จริงๆ

พระเจ้าผู้สัตย์จริง ถึงแม้ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแล้วก็ตาม คนอิสราเอลก็ยังหลงเจิ่นไปจากพระองค์เสียเป็นส่วนใหญ่ (เลวีนิติ 26, เฉลยธรรมบัญญัติ 28) ภาพของพระเจ้าที่แสดงออกในความรักต่ออิสราเอล เหมือนสามีรักภรรยาของเขา พระธรรมโฮเชยาบรรยายภาพให้เห็นได้อย่างแหลมคมมากถึงความสัตย์จริงของพระเจ้า เมื่อเผชิญกับความไม่สัตยซื่อและการถูกปฏิเสธที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด การให้อภัยอย่างต่อเนื่องของพระเจ้า เปิดเผยให้เห็นถึงพระอุปนิสัยความเป็นองค์ผู้ทรงรักโดยไม่มีเงื่อนไขของพระองค์

ถึงแม้ว่าพระเจ้าทรงยอมให้คนอิสราเอลได้รับหายนะภัยต่างๆ ที่เกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ของประชาชน เพื่อเป็นสิ่งตีสอนให้หันกลับมาเดินบนหนทางที่ถูกต้อง พระองค์ก็ยังทรงเปิดพระหัตถ์กว้างพร้อมโอบอุ้มพวกเขาด้วยพระเมตตาของพระองค์ พระเจ้าทรงให้หลักประกันว่า “เจ้าผู้ซึ่งเรายุดไว้จากที่สุดปลายแผ่นดินโลก และเรียกมาจากที่ไกลสุดของโลก กล่าวแก่เจ้าว่า “เจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา เราได้เลือกเจ้าและไม่เหวี่ยงเจ้าออกไป” อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับเจ้า อย่าขยาด เพราะเราเป็นพระเจ้าของเจ้า เราจะหนุนกำลังเจ้า เออ เราจะช่วยเจ้า เออ เราจะชูเจ้าด้วยมือขวาอันมีชัยของเรา (อิสยาห์ 41:9, 10) ถึงแม้คนเหล่านั้นไม่สัตย์ซื่อต่อพระเจ้า พระองค์ก็ยังทรงให้คำสัญญาด้วยความรักว่า "แต่ถ้าเขาทั้งหลายสาร‍ภาพความชั่วของเขา และความชั่วของบรรพ‍บุรุษ ซึ่งทำผิดต่อเราด้วยการทร‍ยศของเขาทั้งหลายนั้น และที่ได้ประ‍พฤติขัดแย้งเรา....ถ้าเมื่อนั้นจิตใจที่ดื้อรั้นของพวกเขาถ่อมลงและยอมรับเรื่องความชั่วของพวกเขาแล้ว เราจะระลึกถึงพันธ‍สัญญาของเราซึ่งมีต่อยา‍....ซึ่งมีต่ออิส‍อัค....ต่ออับ‍รา‍ฮัม " (เลวีนิติ 26:40-42 เยเรมีย์ 3:12)
พระเจ้าทรงย้ำเตือนประชากรของพระองค์ทัศนะที่ดีทีจะไถ่พวกเขาว่า “โอ ยาโคบเอ๋ย จงจำสิ่งเหล่านี้ อิสราเอลเอ๋ย เพราะเจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา เราได้ปั้นเจ้า เจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา โอ อิสราเอลเอ๋ย เราจะไม่ลืมเจ้า เราได้ลบล้างการทรยศของเจ้าเสียเหมือนเมฆและลบล้างบาปของเจ้าเหมือนหมอก จงกลับมาหาเรา เพราะเราได้ไถ่เจ้าแล้ว” (อิสยาห์ 44:21, 22) มิน่าเล่าพระองค์จึงสามารถตรัสว่า “มวลมนุษย์ทั่วแผ่นดินโลกเอ๋ย จงหันมาหาเราและรับการช่วยให้รอด เพราะเราเป็นพระเจ้า และไม่มีอื่นใดอีก"
(อิสยาห์ 45:22)

พระเจ้าแห่งความรอดและการตอบแทน พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมได้บรรยายพระลักษณะของพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งการตอบแทน เห็นได้จากผลการทำลายคนอธรรม ผู้เคยประสงค์ร้ายต่อประชากรของพระองค์ โดย “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” หัวข้อหลักที่บรรดาผู้เผยพระวจนะเปิดเผยให้เห็นพระราชกิจของพระเจ้าเพื่อตอบแทนให้แก่ประชากรของพระองค์ในวาระสุดท้าย วันนั้นจะเป็นวันแห่งความรอดแห่งประชากรของ พระเจ้า และเป็นวันแห่งการทำลายคนอธรรม “จงกล่าวกับคนที่มีใจคร้ามกลัวว่า “จงแข็งแรงเถอะ อย่ากลัว ดูเถิด พระเจ้าของท่านทั้งหลายจะเสด็จมาด้วยการแก้แค้นพระองค์จะเสด็จมาและช่วยท่านให้รอด" (Isa. 35:4).

พระเจ้าพระบิดา เมื่อโมเสสกล่าวแก่คนอิสราเอล ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่เขา ผู้เป็นเช่นพระบิดาของเขาทั้งหลาย “พระองค์ไม่ใช่พระบิดา ผู้ทรงสร้างท่าน ผู้ทรงสรรค์ท่าน และสถา‍ปนาท่านไว้หรือ?'" (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:6) พระเจ้าทรงรับเอาคนอิสราเอลเป็นบุตรของพระองค์โดยการไถ่พวกเขา อิสยาห์บันทึกไว้ว่า “ข้าแต่พระเจ้า แต่พระองค์ยังทรงเป็นพระบิดาของข้าพระองค์" (อิสยาห์ 64:8; 63:16) พระเจ้าทรงยืนยันโดยมาลาคีว่า “เราเป็นพระบิดา" (มาลาคี 1:6) ในส่วนอื่นของพระธรรม มาลาคีกล่าวถึงความเป็นพระบิดาจากบทบาทในฐานะพระผู้สร้าง “พระเจ้าองค์เดียวได้ทรงสร้างเรามิใช่หรือ” (มาลาคี 2:10) พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาของเราโดยผ่านการสร้างและการไถ่ นี่ช่างเป็นความจริงอันรุ่งโรจน์

พระเจ้าพระบิดาในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ พระเจ้าแห่งพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมไม่ได้แตกต่างไปจากพระเจ้าในพันธสัญญาใหม่แต่อย่างใด พระเจ้าพระบิดาทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะพระผู้ทรงริเริ่มสิ่งทั้งหลาย เป็นพระบิดาของผู้เชื่อแท้ทั้งหลาย และในลักษณะพิเศษ ทรงเป็นพระบิดาของพระเยซูคริสต์

พระบิดาผู้ทรงเนมิตสร้าง
เปาโลชี้ให้เห็นพระบิดาในพระคัมภีร์พันสัญญาใหม่อย่างชัดเจน พระเจ้า พระบิดาทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะผู้ทรงริเริ่มสร้างสรรพสิ่ง เป็นพระบิดาบรรดาผู้เชื่อแท้ทั้งปวง และอีกฐานะหนึ่งซึ่งพิเศษ ทรงเป็นพระบิดาของ พระเยซูคริสต์

พระบิดาแห่งสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง เปาโลทรงบ่งชี้ว่าพระเจ้าทรงเป็น พระบิดา ทรงแยกพระองค์ให้เห็นว่าทรงแตกต่างไปจากพระเยซูคริสต์ “มี พระเจ้าองค์เดียวคือพระบิดา ทุกสิ่งเกิดมาจากพระองค์......มีพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ทุกสิ่งเกิดมาโดยพระองค์และเราก็เป็นมาโดยพระองค์" (1 โครินธ์ 8:6 ฮีบรู 12:9 ยอห์น 1:17) เขาได้พิสูจน์ว่า “ข้าพเจ้าจึงคุกเข่าต่อพระบิดา (คำว่า บิดา ของทุกตระกูลในสวรรค์ก็ดี บนแผ่นดินโลกก็ดี มาจากคำว่า พระบิดา นี้)" (เอเฟซัส 3:14,15)

พระบิดาของบรรดาผู้เชื่อทั้งหลาย ในสมัยพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ความผูกพันระหว่างบิดาแห่งความเชื่อและบุตรนั้นเกิดขึ้นมิใช่ระหว่างพระบิดากับชนชาติอิสราเอล แต่เป็นความผูกพันระหว่างพระเจ้าและผู้เชื่อแต่ละคน พระเยซูทรงให้คำชี้แนะเพื่อการมีความสัมพันธ์นี้ (มัทธิว 5:45; 6:6-15) ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่บรรดาผู้เชื่อเหล่านั้นได้รับเอาพระเยซูคริสต์ (ยอห์น 1:12,13)
โดยการไถ่ให้รอดนี้ พระคริสต์ได้นำเอาบรรดาผู้เชื่อเข้าไปเป็นบุตรของ พระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นผู้อำนวยให้ความสัมพันธ์นี้ราบรื่น พระคริสต์เสด็จมาเพื่อ “เพื่อจะทรงไถ่คนเหล่านั้นที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อให้เราได้รับฐานะเป็นบุตรและเพราะท่านทั้งหลายเป็นบุตรแล้ว พระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเรา ร้องว่า “อับบา (พ่อ)" (กาลาเทีย 4:5, 6; โรม 8:15, 16)

พระเยซูทรงเปิดเผยพระบิดา พระเยซู พระบุตรของพระเจ้า ทรงให้เห็นภาพของพระเจ้าพระบิดาได้อย่างชัดเจน เมื่อพระองค์ในฐานะเปิดเผยให้เห็นพระเจ้าโดยตัวของพระองค์เอง เมื่อเสด็จมาเกิดมีเนื้อหนังเหมือนมนุษย์ (ยอห์น 1:1, 14) ยอห์นระบุว่า “ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย แต่พระบุตรองค์เดียวผู้สถิตในพระทรวงของพระบิดา ทรงสำแดงพระเจ้าแล้ว" (ยอห์น 1:18) พระเยซูทรงตรัสว่า "'เพราะว่าเราลงมาจากสวรรค์'" (ยอห์น 6:38) "' คนที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา'" (ยอห์น 14:9)การรู้จักพระเยซูก็เท่ากับรู้จัก พระบิดา
จดหมายฝากที่ส่งไปยังพี่น้องฮีบรูได้เน้นถึงความสำคัญของการเปิดเผยพระองค์เอง นานมาแล้วพระเจ้าตรัสกับบรรพบุรุษของเราหลายครั้ง และหลายวิธีทางพวกผู้เผยพระวจนะ แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ตรัสกับเราทางพระบุตร ผู้ที่พระองค์ทรงตั้งให้เป็นทายาทรับสิ่งทั้งปวง พระเจ้าทรงสร้างจักรวาลทางพระบุตร 3พระบุตรทรงเป็นแสงสว่างแห่งพระสิริของพระเจ้า ทรงมีแก่นแท้เดียวกับพระเจ้า" (ฮีบรู 1:1-3)

1. พระเจ้าผู้ทรงประทาน พระเยซูได้ทรงเปิดเผยให้เห็นพระบิดาของ
พระองค์ในฐานะพระเจ้าผู้ทรงประทาน เราทั้งหลายได้เห็นการประทานนั้น
จากการเนรมิตสร้าง ที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม และที่บนภูเขาคาลวารี
พระเจ้าและพระบุตรทรงทำหน้าที่ร่วมกัน พระเจ้าทรงประทานชีวิตถึงแม้ทรงทราบว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความตายของพระบุตรก็ตามที
ที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม การที่พระองค์ทรงประทานพระบุตรก็เท่ากับทรงมอบพระองค์เอง เมื่อพระบุตรของพระองค์เข้ามาในโลกที่สกปรกด้วยความบาปพระบิดาทรงเจ็บปวดอย่างไร ลองจินตนาการถึงความรู้สึกขณะที่ พระบิดาทอดพระเนตรพระบุตรทรงแลกเปลี่ยนความรักและการยกย่องสรรเสริญที่ทูตสวรรค์ถวายกับคนบาปที่เกลียดชังพระองค์ ทรงแลกพระสิริและความงดงามแห่งสวรรค์กับหนทางสู่ความมรณา
แต่ที่ภูเขาคาลวารีได้ให้เราทั้งหลายได้เห็นถึงพระบิดาอย่างชัดเจนที่สุด พระบิดาผู้เป็นพระเจ้าทรงทนทุกข์เจ็บปวดเมื่อถูกแยกออกจากพระบุตรของพระองค์ ทั้งในชีวิตและความตายอย่างแสนสาหัสยิ่งกว่ามนุษย์ผู้ใดเคยประสพ ที่นั่นพระบิดาทรงทนทุกข์อันสนสาหัสที่ไม่มีเคยประสพมาก่อนร่วมกับพระคริสต์ มีคำพยานใดอีกเกี่ยวกับพระบิดาที่ต้องแสดงอีก ไม้กางเขนได้เปิดเผยให้เห็นถึงความจริงเกี่ยวกับพระบิดา ไม่มีสิ่งใดสามารถทำได้อีกแล้ว

2 . พระเจ้าแห่งความรัก คำสอนหลักที่พระเยซูทรงชื่นชอบ คือความรักอันเต็มล้นด้วยพระเมตตาของพระเจ้า ทรงตรัสว่า “จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน เพื่อว่าพวกท่านจะเป็นบุตรของ พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ เพราะว่าพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่วเสมอกัน และให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม” (มัทธิว 5:44, 45) "'แล้วบำเหน็จของท่านทั้งหลายจะมีบริบูรณ์ แล้วท่านจะเป็นบุตรขององค์ผู้สูงสุด เพราะว่าพระองค์ทรงพระกรุณาทั้งต่อคนอกตัญญูและคนชั่ว พวกท่านจงมีใจเมตตากรุณาเหมือนอย่าง พระบิดาของท่านมีพระทัยเมตตากรุณา'" (ลูกา 6:35, 36)
เมื่อทรงคุกเข่าลงและล้างเท้าให้แก่ผู้ทรยศต่อพระองค์ (ยอห์น 13:5, 10-14) พระเยซูได้ทรงเปิดเผยให้เห็นความรักอันเป็นพระลักษณะของ พระบิดา เมื่อเราเห็นพระคริสต์ทรงเลี้ยงอาหารแก่ประชาชนที่หิวกระหาย (มาระโก 6:39-44; 8:1-9) รักษาคนหูหนวก (มาระโก 9:17-29) คนใบ้พูดได้ (มาระโก 7:32-37) เปิดตาแก่คนตาบอด (มาระโก 8:22-26) เรียกคนง่อยให้ลุกขึ้น (ลูกา 5:18-26) รักษาคนโรคเรื้อน (ลูกา 5:12, 13) เรียกคนตายให้ฟื้น (มาระโก 5:35-43; ยอห์น 11:1-45) ให้อภัยแก่คนบาป (ยอห์น 8:3-11) และขับผีออก (มัทธิว 15:22-28; 17:14-21) เราได้เห็นพระบิดาทรงคลุกคลีอยู่กับมนุษย์ นำเอาชีวิตของพระองค์มาสู่เขาเหล่านั้น ปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ ให้ความหวังและชี้เขาไปที่โลกใหม่ที่จะได้รับการสร้างขึ้นใหม่ซึ่งกำลังจะมาถึง พระคริสต์ทรงทราบดีว่าการเปิดเผยให้เห็นถึงความรักอันล้ำค่าของพระบิดา คือกุญแจที่จะนำคนทั้งหลายได้กลับใจเสียใหม่ (โรม 2:4)
คำอุปมาสามเรื่องของพระเยซูได้เปิดเผยให้เห็นถึงความรักห่วงใยของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ผู้หลงหาย (ลูกา 15) อุปมาเรื่องแกะหลงหายสอนให้เห็นถึงความรอดบาปที่ได้มาโดยการริเริ่มของพระเจ้า ไม่ใช่เพราะการที่เราทั้งหลายแสวงหาพระองค์ ในฐานะของผู้เลี้ยงแกะผู้รักลูกแกะของพระองค์ พร้อมเสี่ยงชีวิตเพื่อตัวที่หายไป ยิ่งไปกว่านั้นอีก พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยพระองค์ให้เห็นถึงความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่เกินจะวัดได้ให้คนที่หลงหายได้เห็น คำอุปมานี้ยังมีความสำคัญเกินประมาณ แกะที่หลงหายเปรียบได้กับโลก ซึ่งเป็นเสมือนอะตอมเล็กๆ ท่ามกลางจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ได้กบฏต่อพระองค์ การประทานพระบุตรของพระองค์เป็นของประทานอันล้ำค่า เพื่อนำเอาโลกนี้กลับคืนสู่คอก แสดงให้เห็นถึงโลกที่หลงไปในความบาปของเราว่ามีค่าสำหรับพระองค์ ยิ่งกว่าสิ่งทรงสร้างอื่นๆ ทั้งหมดเพียงใด
คำอุปมาของเหรียญที่หายเน้นให้เห็นว่าพระเจ้าได้ทรงนับสถานะคนบาปเช่นเราทั้งหลายอย่างเราว่ามีคุณค่าสูงส่งเพียงใด คำอุปมาเรื่องบุตรหลงหายแสดงให้เห็นความรักอันใหญ่หลวงของพระบิดา ผู้ทรงยินดีต้อนรับบุตรทั้งหลายที่กลับใจ ถ้าในสวรรค์ต่างชื่นชมยินดีเมื่อมีคนบาปคนหนึ่งกลับใจ (ลูกา 15:7) ลองจินตนาการถึงความชื่นชมยินดีที่จักรวาลจะได้รับเมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราเสด็จกลับมาครั้งที่สองว่าจะมีมากสักเพียงใด
ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงความรักของพระบิดาได้อย่างชัดเจน ในการเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสด็จกลับมาของพระบุตร ในวันที่พระองค์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง บรรดาคนอธรรมจะร้องต่อภูเขาและโขดหินทั้งหลายว่า “จงล้มทับเราเถิด จงซ่อนเราไว้ ให้พ้นจากพระพักตร์ของพระองค์ผู้ประทับอยู่บนพระที่นั่ง และจากพระพิโรธของพระเมษโปดก” (วิวรณ์ 6:16) พระเยซูทรงตรัสว่าว “เพราะว่าเมื่อบุตรมนุษย์จะเสด็จมาด้วยพระรัศมีของพระบิดา พร้อมด้วยบรรดาทูตสวรรค์ของพระองค์” (มัทธิว 16:27) และ "'พวกท่านจะเห็น บุตรมนุษย์ ประทับข้างขวาของผู้ทรงฤทธิ์เดช และเสด็จมาบนเมฆแห่งฟ้าสวรรค์” (มัทธิว 26:64)
พระบิดาทรงเฝ้ารอเพื่อจะมีส่วนร่วมในการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง เมื่อบรรดาคนที่รอดแล้วจะถูกรับไปยังบ้านนิรันดร์ของเขา เมื่อนั้นการที่พระองค์ได้ “ทรงใช้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์เข้ามาในโลก เพื่อเราจะได้ดำรงชีวิตโดยพระบุตร” (1 ยอห์น 4:9) จะได้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้เป็นการสูญเปล่าแต่อย่างใด ความรักที่ไม่อาจหยั่งได้ รักที่ไม่เห็นแก่ตัวเท่านั้นที่จะสามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใด แม้เราทั้งหลายเป็นศัตรูกับพระองค์ “เราได้กลับคืนดีกับพระองค์ โดยที่พระบุตรของพระองค์สิ้นพระชนม์ ยิ่งกว่านั้นอีกเมื่อกลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดโดยพระชนม์ชีพของพระองค์” (โรม 5:10) เช่นนี้แล้ว เราจะไม่ใยดีต่อความรักนี้และไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระบิดาของเราทั้งหลายได้อย่างไร?

Vocabulary

Vocabulary คำอ่าน คำแปล
abandon อะแบน-ดัน ละทิ้ง,ปล่อย
absolute แอบ-โซลยูท สัมบูรณ์
adopted son อะดอพ-ทิด ซัน บุตรบุญธรรม
ancestor แอน-เซ็ซเทอะ บรรพบุรุษ
appearance แอ็พเพีย-แร็นซ ปรากฏขึ้น ประจักษ์
archangel อาค-เอน-เจ็ล หัวหน้าทูตสวรรค์
attend แอ็ทเทนด ติดตามรับใช้
authority ออธอ-ริทิ สิทธิอำนาจ
birthright เบิธ ไรท สิทธิบุตรหัวปี
Buddhism บูด-ดิส'ม ศาสนาพุทธ
central figure เซน-ทแร็ล ฟีก-เออะ บุคคลศูนย์กลาง
Christianity คริซชิแอน-อิทิ ศาสนาคริสต์
church เชิช โบสถ์
communism คอม-มิวนิส'ม ลัทธิคอมมิวนิสต์
complete ค็อมพลีท- บริบูรณ์
condition ค็อนดีฌ-อัน เงื่อนไข
connect ค็อนเนคท- เชื่อมต่อ
conscience คอน-เฌ็นซ มโนธรรม
creator คริเอ-เทอะ พระผู้สร้าง
daughter ดอ-เทอะ บุตรสาว
descendant ดิเซน-แด็นท ลูกหลาน
disobey ดิโซะเบ- ไม่เชื่อฟัง
Divine ดิไฝน- ของพระเจ้า, เกี่ยวกับพระเจ้า
dual Characteristics ดยู-แอ็ล แคแร็คเทอะรีซ-ทิค ลักษณะพิเศษที่เป็นคู่
enemy เอน-อิมิ ศัตรู
establish เอ็ซแทบ-ลิฌ ก่อ สร้าง สถาปนา
eternal อิเทอ-แน็ล นิรันดร์
evil mind อี-ฝ'ล ไมนด จิตใจที่ชั่วร้าย
faith เฟธ ความศรัทธา
fall ฟอล ตกสู่บาป
filial ฟีล เอียล ความกตัญญู
foundation เฟานเด-ฌัน พื้นฐาน
Four position foundation โฟ โพะสีฌ-อัน เฟานเด-ฌัน ฐานสี่ตำแหน่ง
Garden of Eden กา-ด'น อ็อฟ อี-ด'น สวนเอเดน
generation เจเนอะเร-ฌัน ชั่วอายุคน
Give and take action กิฝ แอ็นด เทค แอค-ฌัน การให้และการรับ
goal โกล เป้าหมาย
God's words ก็อด ส เวิด พระวจนะของพระเจ้า
growing period กโร-อิง เพีย-เรียด ช่วงระยะเวลาเติบโต
heaven เฮฝ-เอ็น สวรรค์
history ฮีซ-โทะริ ประวัติศาสตร์
holy โฮ-ลิ ศักดิ์สิทธิ์
Holy spirit โฮ-ลิ ซพี-ริท พระวิญญาณบริสุทธิ์
horizontal ฮอ-ริสอน-แท็ล แนวราบ
human being ฮยู-แม็น บีอิง มนุษย์
human fall ฮยู-แม็น ฟอล การตกสู่บาปของมนุษย์
humankind ฮยู-แม็น ไคนด มนุษยชาติ
ideal ไอดี-แอ็ล อุดมคติ
ideology ไอดิออล-โอะจิ อุดมการณ์
individual อินดิฝิจ-อวล ปัจเจกชน บุคคล
Inherit อินเฮ-ริท สืบทอด
judgment จัจ-เม็นท การพิพากษา
kingdom คีง-ดัม อาณาจักร
Korea โคะรี-อะ ประเทศเกาหลี
Last day ลาซท เด วาระสุดท้าย
lineage ลีน-อิอิจ สายเลือด
Lord ลอด พระผู้เป็นเจ้า
loyal ลอย-แอ็ล จงรักภักดี ซื่อสัตย์
mankind แมน-ไคนด มนุษยชาติ
master มาซ-เทอะ เจ้านาย
Messiah เม็ซไซ-อะ พระผู้มาโปรด
mission มีฌ-อัน พันธกิจ
nation เน-ฌัน ชาติ ประเทศ
obedience โอะบี-เดียนซ เชื่อฟัง
offering ออฟ-เฟอริง เครื่องบูชา
original mind โอะรีจ-อิแน็ล ไมนด จิตใจดั้งเดิม
phenomena ฟินอม-อินะ ปรากฏการณ์
position โพะสีฌ-อัน ตำแหน่ง
praise พเรส สรรเสริญ
Principle of Creation พรีน-ซิพ'ล อ็อฟ คริเอ-ฌัน หลักการแห่งการสร้างสรรค์
process พรอซ-เอ็ซ กระบวนการ
proclaim พโระคเลม- ประกาศ
protect พโระเทคท- ปกป้อง คุ้มครอง
purpose เพอ-พัซ ความมุ่งหมาย
religion ริลีจ-อัน ศาสนา
responsibility ริซพอนซิบีล-อิทิ ความรับผิดชอบ
restoration เรซโทะเร-ฌัน การแก้ไข
righteousness ไร-ชัซเน็ซ ความชอบธรรม
sacrifice แซค-ริไฟซ เสียสละ
scriptures ซครีพ-เชอะ คัมภีร์
second coming เซค-อันด คัม-อิง การเสด็จมาครั้งที่สอง
secret ซี-คเร็ท ความลับ
seek ซีค แสวงหา
separation เซพะเร-ฌัน การแยก
servant เซอ-แฝ็นท ผู้รับใช้
sin ซิน บาป
situation ซิชิวเอ-ฌัน สถานการณ์
spirit ซพี-ริท วิญญาณ
standard ซแทน-เอิด มาตรฐาน
substance ซับ-ซแท็นซ แก่นสาร
tempt เท็ม ล่อลวง
testament เทซ-ทะเม็นท พันธสัญญา
tradition ทระดีฌ-อัน ประเพณี
tribal ทไรบ-แอ็ล เผ่า
universe ยู-นิเฝิซ เอกภพ
Value แฝล-ยู คุณค่า
vertical เฝอ-ทิแค็ล แนวดิ่ง
victory ฝีค-โทะริ ชัยชนะ
viewpoint ฝยู พอยนท ทัศนะ
Will วิล น้ำพระทัย

posted by Zo-Zo @ 5:54 PM 0 comments

English Dictionary

Vocabulary Unification Church Christian Church
Aaron อาโรน (ผู้พูดแทนโมเสส)
Abel อาแบล
Abraham อับราฮัม
Absolute Being สิ่งดำรงอยู่ที่สัมบูรณ์
Absolute Love ความรักที่สมบูรณ์
Absolute Obidience การติดตามที่สมบูรณ์
Absoulte Faith ความเชื่อที่สมบูรณ์
Adam อาดัม
Alpha อัลฟ่า
Archangel หัวหน้าทูตสวรรค์
Atonement การล้างบาป
Attend ติดตามรับใช้
Be Stoned ถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย
Bible พระคัมภีร์
Birthright สิทธิบุตรหัวปี
Blessed Children ลูกจากการรับพร
Blessed Couple คู่ที่รับพร
Blessed Family ครอบครัวที่รับพร
Blessed Member สมาชิกที่รับพร
Blessing พรมงคลสมรส
Blessing Ceremony พิธีรับพรมงคลสมรส
Blessing Cloths ชุดที่ใส่เข้าพิธีรับพรมงคลสมรส
Blessing Ring แหวนพรมงคลสมรส
Brotherhoodism ความเป็นพี่น้องนิยม
Brotherly love ความรักแบบพี่น้อง
Brothers พี่น้องชาย
Burning Bush พุ่มไม้ที่มีไฟไหม้
Cain คาอิน
Call การทรงเรียก
Central figure บุคคลศูนย์กลาง
Church โบสถ์ คริสตจักร
Church Leader ผู้นำโบสถ์
City of God แผ่นดินของพระเจ้า
Collective sin บาปร่วม
Completed Testament Ages ยุคพันธสัญญาบริบูรณ์
Completion stage ขั้นบริบูรณ์
Confession การสารภาพบาป
Conjugal Love ความรักแบบสามีภรรยา
Convenant พันธสัญญา
Creation and Providence การทรงสร้างและการจัดหา
Customs ธรรมเนียมประเพณี
Day of atonement วันล้างบาป
Decons คณะกรรมการโบสถ์
Demilitarized Zone (DMZ) เขตปลอดทหาร
Depensation แผนการของพระเจ้า
Direct dominion การปกครองโดยตรง
Dispensational time-identity แผนการแห่งเอกลักษณ์ทางเวลา
Divine principle หลักการของพระเจ้า
Divine Son and Daughter บุตรชายและบุตรสาวที่ศักดิ์สิทธิ์
Divine spirit วิญญาณศักดิ์สิทธิ์
Dual characteristics ลักษณะพิเศษที่เป็นคู่
Eight Day Dedication Ceremony พิธีถวายเมื่ออายุครบแปดวัน
Elder บริกร
Election การเลือกสรร
End of the World จุดจบของโลก
Eve เอวา
Evil mind จิตใจที่ชั่วร้าย
External form รูปแบบภายนอก
Faith ความศรัทธา ความเชื่อ
Fall การตกสู่บาป การตกลงในความบาป
Fallen Nature ธรรมชาติแห่งการตกสู่บาป
Family Pledge คำปฏิญาณครอบครัว
Fasting การถืออด การอธิษฐานอดอาหาร
Fatherland ปิตุภูมิ
Filial Piety ความกตัญญูกตเวที
Force of give and take action พลังงานของปฏิกิริยาการให้การรับ
Form spirit ปฐมวิญญาณ
Formation stage ขั้นเกิด
Foundation for the messiah พื้นฐานสำหรับพระผู้มาโปรด
Foundation of faith พื้นฐานแห่งศรัทธา
Foundation of substantial พื้นฐานแห่งแก่นสาร
Four Great Realms of Heart สีห้วงหัวใจอันยิ่งใหญ่
Four position foundation ฐานสี่ตำแหน่ง
Free will เจตจำนงเสรี
Future destiny จุดจบในอนาคต
Garden of Eden สวนเอเดน
Give and take action ปฏิกิริยาการให้การรับ
God พระเจ้า
God’s Heart หัวใจของพระเจ้า
God’s Midnight Ceremony พิธีศูนย์นาฬิกาวันพระเจ้าที่แท้จริง
God’s Will เจตจำนงของพระเจ้า น้ำพระทัยพระเจ้า
God’s Words พระวจนะของพระเจ้า
Godism พระเจ้านิยม
Gospels พระกิตติคุณ
Grace พระคุณ
Growing Period ช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโต
Growth stage ขั้นเติบโต
Hell นรก
Hereditary sin บาปกรรมพันธุ์
High place ปูชนียสถานสูง
High priest มหาปุโรหิต
Holy Day วันนักขัตฤกษ์
Holy Ground ผืนดินศักดิ์สิทธิ์
Holy Handkerchief ผ้าเช็ดหน้าศักดิ์สิทธิ์
Holy of Holies อภิสุทธิสถาน
Holy Place วิสุทธิ์สถาน
Holy Robe ชุดพิธี
Holy Salt เกลือศักดิ์สิทธิ์
Holy Song เพลงศักดิ์สิทธิ์
Holy Spirit พระวิญญาณบริสุทธิ์
Holy Water น้ำศักดิ์สิทธิ์
Holy Wine ไวน์ศักดิ์สิทธิ์
Horizontal แนวราบ
Hyung Sang ฮยองซัง
Ideologies ลำดับพงษ์พันธุ์
Idolatry การไหว้รูปเคารพ
Incarnation การกลับชาติมาเกิด การรับสภาพมนุษย์(พระเจ้าลงมาเป็นมนุษย์)
Indemnity การชดใช้
Indemnity Fund กองทุนการชดใช้
Indirect dominion การปกครองโดยอ้อม
Individual Truth Body ตัวตนแห่งความจริงเฉพาะตัว
Inscription คำจารึก
Instructor of the World (IW) ที่ปรึกษานานาชาติ
Internal character ลักษณะภายใน
Internal guidance การชี้นำภายใน
Jesus christ พระเยซูคริสต์
Joy ความปีติ ความชื่นชมยินดี
Kingdom อาณาจักร
Kingship ความเป็นราชา
Last day ยุคสุดท้าย
Law กฏเกณฑ์ ธรรมบัญญัติ
Law codes กฎหมาย
Law of God บัญญัติของพระเจ้า
Liberation การปลดปล่อย
Life ชีวิต
Life Element สารแห่งชีวิต
Life of faith ชีวิตแห่งศรัทธา
Life Spirit วิญญาณแห่งชีวิต
Lord of the Second Advent พระผู้มาโปรดแห่งการเสด็จมาครั้งที่สอง
Love ความรัก
Magic and Witchcraft เวทมนต์และหมอผี
Manna มานา
Masters เจ้านาย นาย
Messiah พระผู้มาโปรด พระมาซีฮา
Microcosm เอกภพขนาดเล็ก
Minister ศิษยาภิบาล
Moses โมเสส
National Messiah พระผู้มาโปรดระดับชาติ
New Testament พันธสัญญาใหม่
Nomadic life ชีวิตเร่ร่อน
Object กรรม
Offering เครื่องบูชา
Offering Dish อาหารเครื่องบูชา
Old Testament พันธสัญญาเดิม
Omega โอเมก่า
Omniscience สัพพัญญู
One Interconnected Body ร่างที่เชื่อมต่อกันเข้าเป็นหนึ่ง
Original Homeland บ้านเกิดเริ่มแรก
Original Idea of Creation อุดมคติเริ่มแรกแห่งการสร้างสรรค์
Original Love ความรักเริ่มแรก
Original mind จิตใจเริ่มแรก
Original sin บาปเริ่มแรก
Origin-Division-Union action ปฏิกิริยาจุดเริ่มต้น-การแบ่ง-การรวม
Ownership ความเป็นเจ้าของ
Parental Love ความรักแบบพ่อแม่
Parents of Cosmos พ่อแม่แห่งเอกภพ
Parents of Heaven and Earth พ่อแม่แห่งสวรรค์และโลก
Parentship ความเป็นพ่อแม่
Passover ปัสกา
Paster ประธานโบสถ์
Patriot ผู้รักชาติ
Patriotism ความรักชาติ
Peace สันติภาพ สันติสุข
Pentecost
Personal Sin บาปส่วนตัว
Pharaoh ฟาโรห์
Phylactery กลักพระธรรม
Physical Body ร่างกายฝ่ายเนื้อหนัง
Physical Mind จิตใจฝ่ายเนื้อหนัง
Physical Self ตัวตนฝ่ายเนื้อหนัง
Physical World โลกฝ่ายเนื้อหนัง
Plate for True Parents สำรับของพ่อแม่ที่แท้จริง
Prayer การอธิษฐาน
Preaching การเทศนา
Predestination การกำหนดไว้ล่วงหน้า
Priests ปุโรหิต
Principles of Creation หลักการแห่งการสร้างสรรค์
Prolongation of Restoration การยืดออกไปของการแก้ไข
Prophets ผู้พยากรณ์
Providence แผนการของพระเจ้า
Purification การทำให้บริสุทธิ์
Quail นกคุ่ม
Rebirth การเกิดใหม่
Re-Blessing การรับพรมงคลสมรสซ้ำใหม่
Reciprocal base ฐานความสัมพันธ์ร่วม
Reconciliation การคืนดี
Recreation การสร้างสรรค์ใหม่
Redemption การไถ่ถอน การไถ่บาป
Regeneration การสร้างใหม่
Re-matching การแนะนำคู่ซ้ำใหม่
Repentance การสำนึกเสียใจ การกลับใจใหม่
Restoration การแก้ไข
Resurrections การฟื้นคืนชีพ การเป็นขึ้นมาจากความตาย
Return of Jesus Christ การกลับมาของพระเยซู
Revelation การเปิดเผย การทรงสำแดง
Reverend สาธุคุณ ศาสนาจารย์
Root of sin รากเหง้าแห่งบาป
Royal Family ครอบครัวแห่งสวรรค์
Sabbath สะบาโต
Sacrifice การถวายเครื่องบูชา
Sages นักปราชญ์
Saints นักบุญ
Salvation การช่วยให้รอด
Santification การชำระให้บริสุทธิ์
Satan ซาตาน
Savior พระผู้ช่วยให้รอด
Scribes ธรรมาจารย์
Scroll หนังสือม้วน
Sea Peoples ชาวทะเล
Second Advent การเสด็จมาครั้งที่สอง
Servants ผู้รับใช้
Servants of Servants ผู้รับใช้ของผู้รับใช้
Service ประชุมนมัสการ
Sin บาป
Sisters พี่น้องสาว
Spiritual Body ร่างกายฝ่ายวิญญาณ
Spiritual Children ลูกฝ่ายวิญญาณ
Spiritual Element สารแห่งวิญญาณ
Spiritual Gifts ของประทานพระวิญญาณ
Spiritual Mind จิตใจฝ่ายวิญญาณ
Spiritual Parents พ่อแม่ฝ่ายวิญญาณ
Spiritual Self ตัวตนฝ่ายวิญญาณ
Spiritual World โลกฝ่ายวิญญาณ
Subject ประธาน
Subjectivity ความเป็นประธาน
Suffering ความทุกข์ทรมาน การทนทุกข์
Sunday School รวีวารศึกษา
Sunday Service นมัสการวันอาทิตย์
Sung Sang ซองซัง
Synagogue ธรรมศาลา
Tabernacle พลับพลา
Temples พระวิหาร
Temptation การล่อลวง การทดลอง
Ten Commandments บัญญัติสิบประการ
The second coming การเสด็จมาครั้งที่สอง
Three Blessing พรสามประการ
Three Great Kingships สามความเป็นราชาอันยิ่งใหญ่
Three object purpose ความมุ่งหมายกรรมสามตำแหน่ง
Three stages of the growing period ช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตสามขั้น
Time and Space เวลาและมิติ
Titles สิบลด
Tradition ประเพณี
Transfiguration การจำแลงกาย
Tree of Life ต้นไม้แห่งชีวิต
Tree of the knowledge of good and evil ต้นไม้แห่งความสำนึกในความดีและความชั่ว
Trial เผ่า
Tribal Messiah พระผู้มาโปรดระดับเผ่า
Tribal Messiahship ความเป็นพระผู้มาโปรดระดับเผ่า
Trinity ตรีเอกานุภาพ
True Father คุณพ่อที่แท้จริง
True Kingship ความเป็นราชาที่แท้จริง
True Monther คุณแม่ที่แท้จริง
True Parentism พ่อแม่ที่แท้จริงนิยม
True Parents พ่อแม่ที่แท้จริง
Truth ความจริง
Twelve Apostles สาวกสิบสองคน
Unification Church โบสถ์แห่งความสามัคคี
Unity ความสามัคคี เอกภาพ
Universal prime energy พลังงานปฐมภูมิสากล
Vertical แนวดิ่ง
Vine ไวน์ องุ่น
Vineyard ไร่องุ่น สวนองุ่น
Visions วิสัยทัศน์ นิมิต
Vitality element สารชีวปัจจัย
Wilderness ถิ่นทุรกันดาร
Wisdom literature วรรณกรรมภูมิปัญญา
Women Evangelists สตรีผู้มีความร้อนรนในการประกาศ(คำสอน)
Worship การนมัสการ

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

ขอการทรงนำจากพระเจ้า

สงครามนี้เป็นของพระเจ้า
http://www.somprasong4.org/showarchives.asp?ID=48
สตีฟ ทร็อกเซล

ในสมัยกษัตริย์เยโฮชาฟัท (ราว 860 กคศ.) มีหลายกองทัพพยายามจะบุกแผ่นดินยูดาห์ ด้วยจำนวนข้าศึกมีมากมายมหาศาล เยโฮชาฟัทจึงได้ให้ประชาชนทั่วทั้งแผ่นดินอดอาหารอธิษฐานเพื่อทูลขอการทรงนำจากพระเจ้า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ พระองค์จะไม่ทรงกระทำการพิพากษาเหนือเขาหรือ เพราะว่าข้าพระองค์ทั้งหลายไม่มีฤทธิ์ที่จะต่อสู้คนหมู่มหึมานี้ ซึ่งกำลังมาต่อสู้กับข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบว่าจะกระทำประการใด แต่ดวงตาของข้าพระองค์ทั้งหลายเพ่งที่พระองค์” (2 พงศาวดาร 20:12)



กษัตริย์องค์นี้ต้องคิดยุทธวิธีการรบ เนื่องจากเป็นผู้นำประเทศความปลอดภัยของประชาชนจึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพระองค์ “ยุทธวิธี”ของกษัตริย์เยโฮชาฟัทคือมอบชีวิตของประชาชนทั้งแผ่นดินไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้า หลายคนมองว่าการกระทำเช่นนี้แสดงถึงความอ่อนแอ ความจริงการเห็นว่าตัวเองไร้ซึ่งกำลังนั้นต้องใช้ความเข้มแข็งอย่างยิ่ง – และการรู้ว่าควรจะหันหน้าไปทางไหน ควรจะพึ่งและไว้วางใจในใครนั้นก็ต้องใช้กำลังความเข้มแข็งมากยิ่งกว่า!



พระเจ้าทรงตอบคำร้องทูลของกษัตริย์เยโฮชาฟัทผ่านทางคนเลวีชื่อยาฮาซีเอล



2 พงศาวดาร 20:14-15

พระวิญญาณของพระเจ้าเสด็จมาสถิตกับยาฮาซีเอล... ยูดาห์ทั้งปวงและชาวเยรูซาเล็มทั้งหลายกับกษัตริย์เยโฮชาฟัท ขอจงฟัง พระเจ้าตรัสดังนี้แก่ท่านทั้งหลายว่า ‘อย่ากลัวเลย และอย่าท้อถอยด้วยคนหมู่มหึมานี้เลย เพราะว่าการสงครามนั้นไม่ใช่ของท่าน แต่เป็นของพระเจ้า’



นี่เป็นการปลอบประโลมที่เยี่ยมยอดที่สุดในเวลาที่เราต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากที่ดูเหมือนจะใหญ่โตเกินกำลังเราจะรับไหว แต่เราสามารถวางใจได้เมื่อรู้ว่าการต่อสู้นี้เป็นของพระเจ้า อย่างไรก็ตามเรื่องยังไม่จบแค่นี้ พระเจ้าไม่ได้บอกให้เยโฮชาฟัทนั่งเฉยรอชัยชนะอยู่ในเตนท์ พระเจ้าทรงบัญชาให้พระองค์ยืนหยัดเผชิญหน้าศัตรูด้วยใจมั่น



2 พงศาวดาร 20:16-17

“พรุ่งนี้เช้าจงลงไปต่อสู้กับเขา ดูเถิด เขาจะขึ้นมาทางขึ้นที่ตำบลศิส ท่านทั้งหลายจะพบเขาที่ปลายหุบเขาทางตะวันออกของถิ่นทุรกันดารเยรูเอล ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องสู้รบในสงครามครั้งนี้ โอ ยูดาห์ และเยรูซาเล็ม จงเข้าประจำที่ ยืนนิ่งอยู่และดูชัยชนะของพระเจ้าเพื่อท่าน อย่ากลัวเลย อย่าท้อถอย พรุ่งนี้จงออกไปสู้กับเขาและพระเจ้าทรงสถิตอยู่กับท่าน”



ชีวิตของเราจะต้องพบเจอกับศึกสงครามที่เลี่ยงไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง พวกเราหลายคนอาจกำลังเผชิญกับสงครามที่ประดังเข้ามาไม่รู้จบอยู่ในขณะนี้ แต่ไม่ว่าเราต้องพบเจอกับอะไรก็ตามในการดำเนินชีวิตคริสเตียน ให้เรารู้ไว้เสมอว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างมีวัตถุประสงค์ หลายครั้งวัตถุประสงค์ของสงครามเหล่านั้นก็เพื่อเราจะเข้าใจความจริงเบื้องต้นที่ว่า “ถ้าแยกจากเราแล้ว ท่านจะทำสิ่งใดไม่ได้เลย” (ยอห์น 15:5) สงครามที่แท้จริงคือการไปถึงจุดที่ได้เรียนรู้ว่ากำลังความสามารถของเราทำอะไรไม่ได้เลย – แล้วจงหันไปหาพระเจ้าและไว้วางใจพระองค์ในทุกย่างก้าวนั่นแหละคือชัยชนะที่แท้จริง!



เมื่อเราวางใจในพระองค์ด้วยสุดใจของเราและแสวงหาคำปรึกษาจากพระองค์ พระองค์ก็จะทรงชี้แนะให้ว่าควรไปทางไหนและควรยืนอยู่ตรงไหน ให้เรามีใจกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามพระองค์ในแต่ละวันและในทุกๆวันโดยปฏิเสธที่จะท้อใจ พระเจ้าทรงครอบครองและควบคุมทุกสิ่งอยู่อย่างแน่นอน...เพราะนี่คือสงครามของพระองค์!

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

"เนหะมีย์ :นักอธิษฐาน" บทที่ 1

"เนหะมีย์ :นักอธิษฐาน" บทที่ 1
http://www.sapanluang.org/church/index.php?option=com_content&task=view&id=1&Itemid=7

ความผูกพันธ์ระหว่าง เนหะมีย์ กับ ชนชาติของพระเจ้า

1. คุณค่าและความหมายของกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม (2:17)

2. สาเหตุที่เมืองเยรูซาเล็มถูกทำลาย (1:6-9)

3. ความทุกข์ใจ ที่เนหะมีย์มีต่อสภาพของชนชาติอิสราเอล ในขณะนั้น (1:4)

ท่าทีการอธิษฐานของเนหะมีย์ ( 1:1 ; 2:1 )

1. อธิษฐานด้วยความอดทน เป็นเวลา 4 เดือน (จากเดือนคิสลิฟ ถึง เดือนนิสาน)

2. อธิษฐานด้วยความกระตือรือร้น ทั้งกลางวันและกลางคืน

3. อธิษฐานด้วยความคร่ำครวญภาวนา และด้วยความทุกข์ใจ

4. อธิษฐานด้วยการอดอาหาร

5. อธิษฐานด้วยความเชื่อวางใจ ว่าพระเจ้าทรงฟังและทรงตอบอย่างแน่นอน

เนื้อหาคำอธิษฐานของเนหะมีย์ ( 1:5-11 )

1. เนหะมีย์สรรเสริญยกย่องพระเจ้า (1:5)

พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์
พระเจ้ายิ่งใหญ่
พระเจ้าน่าเกรงกลัว
พระเจ้ารักษาพันธสัญญา
พระเจ้าดำรงไว้ซึ่งความรักมั่นคง
พระเจ้าผู้ทรงฟังคำอธิษฐาน
พระเจ้าผู้ทรงทอดพระเนตรมองดูมนุษย์

2. เนหะมีย์สารภาพความผิดบาปของตน และของประชาชน (1:6-7)

การทำบาปใด ๆ ต่อมนุษย์คือการทำบาปต่อพระเจ้า
บาปที่ประชาชนก่อ จะส่งผลกระทบมาถึงเราด้วย
บาปที่เราก่อ จะส่งกระทบไปถึงประชาชนด้วย
เป็นการดีที่จะสารภาพบาปผิดทุก ๆ วัน ไม่ว่า
บาปเล็ก
บาปใหญ่
บาปเจตนา
บาปไม่เจตนา
บาปในที่ลับ
บาปในที่แจ้ง

3. เนหะมีย์ทูลขอพระเจ้าอย่างเจาะจง

ทวงคำสัญญาจากพระเจ้าว่า พระองค์ทรงสัญญาว่า ถ้ารักษาบัญญัติ ประพฤติตามกฎเกณ์ของพระองค์แล้ว ไม่ว่าพวกเขาจะกระจัดกระจายไปที่ไหน พระองค์จะทรงรวบรวมให้กลับมายังสถานที่ของพระองค์ (1:9) ฉะนั้น เนหะมีย์จึงขอให้พระเจ้า ทรงโปรดให้เขาเป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์ อารทาเซอร์ซีส เพื่อจะให้กษัตริย์อนุญาตให้เขา กลับไปซ่อมแซมกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม (1:11)

4. เนหะมีย์ขอบพระคุณพระเจ้า

เพราะมั่นใจว่าพระเจ้าทรงฟังคำอธิษฐาน พระองค์จะทรงตอบคำอธิษฐาน และจะนำความสำเร็จมาให้เขา (1:11)

รูปแบบคำอธิษฐานของเนหะมีย์ทั้งเล่ม

เนหะมีย์อธิษฐานทั้งหมด 9 ครั้ง ในพระธรรมเนหะมีย์

ครั้งที่ 1 บทที่ 1:5-11
ครั้งที่ 2 บทที่ 4:4-5
ครั้งที่ 3 บทที่ 5:19
ครั้งที่ 4 บทที่ 6:9
ครั้งที่ 5 บทที่ 6:14
ครั้งที่ 6 บทที่ 13:14
ครั้งที่ 7 บทที่ 13:22
ครั้งที่ 8 บทที่ 13:29
ครั้งที่ 9 บทที่ 13:31 บทที่ 9:5-31 น่าจะเป็นคำอธิษฐานของเอสรา


รูปแบบคำอธิษฐานของเนหะมีย์

1. เป็นคำอธิษฐานที่สั้น

2. เป็นคำอธิษฐานที่เจาะจง

3. เป็นคำอธิษฐานที่ฉับพลัน

4. เป็นคำอธิษฐานที่ตรงประเด็น

5. เป็นคำอธิษฐานที่จริงใจ

6. เป็นคำอธิษฐาน ที่แสดงออกถึงความเชื่อวางใจในพระเจ้า

7. เป็นคำอธิษฐาน ที่ไม่ใช่เพื่อตนเองเท่านั้น แต่เพื่อผู้อื่น เพื่อประชากร และเพื่อพันธกิจของพระเจ้า


บ ท ส รุ ป

พระเจ้าทรงพอพระทัยให้ผู้นำคริสเตียน เป็นนักอธิษฐานเหมือนอย่างเนหะมีย์

การอธิษฐาน แสดงว่าผู้นำคริสเตียน มีความผูกพัน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อพระเจ้า แสดงถึงความไว้วางใจในพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ที่สามารถมอบภาระปัญหาให้พระองค์ ทรงแก้ไข อีกทั้งเป็นการแสดงความรักความห่วงใยของเรา ต่อคนรอบข้าง ต่อพันธกิจ ต่อพระประสงค์ของพระองค์ ปรารถนาให้สิ่งเหล่านี้ สำเร็จโดยการทรงนำของพระเจ้า

สุ ว ร ร ณ พ จ น์

" ขออย่าให้มีวี่แววที่ข้าพเจ้าจะกระทำบาปต่อพระเจ้า ด้วยการหยุดอธิษฐานเพื่อท่านทั้งหลาย แต่ข้าพเจ้าจะแนะนำทางที่ดีให้และที่ถูกใจท่าน จงยำเกรงพระเจ้า ปรนนิบัติพระองค์ ด้วยใจซื่อสัตย์สุจริตและด้วยสิ้นสุดใจของท่าน "

1 ซามูเอล 12:23-24

อาหารในถิ่นทุรกันดาร

อพยพ 16:4-12
หัวข้อ : “ท่าทีที่ถูต้องต่อการอ่านพระคัมภีร์”

http://www.redfamily.co.cc/index.php?option=com_content&task=view&id=26&Itemid=30

โบสถ์แห่งหนึ่งเมื่อศิษยาภิบาลเทศนาอย่างตื่นเต้นเร้าใจจนยืดยาวเลยเวลาเที่ยง วันสมาชิกหลายคนเริ่มระสับกระส่าย บ้างก็เหลือบมองนาฬิกาที่แขวนผนังโบสถ์ บ้างก็ก้มดูนาฬากาข้อมือ ท่านศิษยาภิบาลก็เลยรีบขมวดคำเทศนาว่า “อาหารกับมนุษย์เป็นของคู่กัน อาหารโปรดของแต่ละคนก็ต่างกันออกไป บางคนก็ชอบอาหารรสจัด บางคนก็ชอบอาหารรสจืด บ้างคนก็ชอบอาหารฝรั่ง บ้างก็ชอบอาหารจีน บ้างก็ชอบอาหารป่า พระคัมภีร์วันนี้บอกกับเราว่า อาหารของพระเยซูก็คืออาหารของเราด้วยนั่นคือการทำตามพระทัยของพระเจ้า...” แล้วท่านก็จบคำเทศนา บางทีเราเป็นเหมือนที่อาจารย์คนนั้นเทศน์ เราต่างชอบอาหารที่ต่างกันออกไป และเราก็มีบุคลิกอย่างนี้สำหรับฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายความเชื่อด้วย บ้างก็ชอบชอบการเทศนาที่เร้าใจแรงๆ ชอบพระคัมภีร์ข้อนี้ตอนนี้ตอนนั้น บ้างก็ชอบพระคัมภีร์และการเทศนาที่นุ่มๆ เน้นเรื่องพระคุณ ไม่ต้องเรียกร้องอะไรจากฉันมากนอกจากเงินถวาย แต่ลืมสิ่งสำคัญของการอ่านพระคัมภีร์หรือฟังพระวจนะของพระเจ้าไป คือเพื่อจะทำตามพระทัยของพระเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ที่อ่านไปนั้น


อพยพ บทที่ 16 ได้บันทึกการเดินทางออกจากดินแดนทาสของคนอิสราเอล เพียงเดือนครึ่งเท่านนั้นพวกเขา บ่นเอาเป็นเอาตายเพราะอยากจะทำตามใจที่เขาต้องการ แทนการทำตามพระทัยของพระเจ้า พระเจ้าจึงสัญญาว่า
“ดูเถิด เราจะให้อาหารตกลงมาจาก ท้องฟ้าดุจฝน สำหรับพวกเจ้า ให้ประชาชนออกไปเก็บทุกวัน พอกินเฉพาะวันหนึ่งๆ เพื่อเราจะได้ลองใจว่า เขาจะปฏิบัติตามโอวาท ของเราหรือไม่ 5ในวันที่หก เมื่อเขาเตรียมของที่เก็บมาอาหารนั้นก็จะเพิ่มเป็นสองเท่าของที่เขาเก็บทุกวัน”

เมื่อ 45 วันหลังจากที่พวกเขาออกจากอียิปต์ พวกเขาได้รับพระสัญญาและวิธีสำหรับการรับพระพรบททดสอบสำคัญตั้งแต่นี้ต่อไปคือการเชื่อฟังพระดำรัสสั่ง ประมาณ 3,300 ปี ผ่านมาแล้วยุคนั้นไม่มีพระคัมภีร์เป็นเล่ม ๆ ให้อ่านเฉกเช่นปัจจุบัน ที่เรามีพระคัมภีร์ทั้งเป็นหนังสือ เป็นระบบอีเลคทรอนิคส์ สามารถเก็บใส่ชิปเล็ก ๆ พกพาไปไหนๆ ได้สะดวก ไม่ต้องแบกให้หนัก คนอิสราเอลเรียนรู้น้ำพระทัยของพระเจ้าจากการตรัสผ่านผู้นำ ดังนั้นเขาจึงต้องเชื่อฟังผู้นำให้มากที่สุด บุคลิกอย่างหนึ่งของคนอิสราเอลคือสู้ชีวิตไม่ยอมอะไรง่ายๆ บ่อยครั้งเราเรียกว่าดื้อแต่พระเจ้ายังทรงเป็นพระเจ้าองค์สัตย์ซื่อไม่เปลี่ยนแปลง พระองค์ยังทรงเที่ยงตรงอยู่เสมอ
เมื่อเผชิญอันตรายการขาดแคลน ความไม่สะดวกสบาย คนอิสราเอลมับ่นต่อว่าด้วยความขมขื่น เมื่อเขาบ่นอยากรับประทานเนื้อ(ข้อ 2) พระเจ้าก็ประทานให้ โดยให้ยกคุ่มบินมาเต็มค่ายในเวลาเย็น(13) และเวลาเช้าก็มีมานาให้เก็บ(14) พระเจ้าส่งฝูงนกคุ่มบินมาเลี้ยงคนเป็นล้านได้อย่างไร นี่มิใช่การลดความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์หรือลดสิทธิอำนาจเรื่องการอัศจรรย์ของพระเจ้า ในการศึกษาทางประวัติศาสตร์พบว่าโดยปรกตินกคุ่มจะบินเรี่ยไปกับพื้นดินและบินทนมาก ในฤดูหนาวมันจะบินไปยังแอฟริกา และในฤดูใบไม้ผลิก็จะบินกลับมาทางอียิตป์ตอนบนและปาเลสไตน์ ซึ่งจะผ่านถิ่นทุรกันดารที่คนอิสราเอลเดินทาง นกคุ่มคงจะเหน็ดเหนื่อยจากการบินในเวลากลางวัน เมื่อหยุดพักในตอนเย็น และในกลางคืนจะเกาะบนคอน พุ่มไม้เตี้ย ๆจึงถูกจับได้ง่ายดาย นี่เป็นวิธีที่พระเจ้าประทานเนื้อให้แก่ประชากรของพระองค์

บางทีเราอาจจะสงสัยว่าทำไมเขาไม่ฆ่าแกะเป็นอาหารล่ะเพราะเลี้ยงเยอะแยะ น้อยครั้งมากที่คนเลี้ยงแกะ แพะ จะฆ่าสัตว์ที่เลี้ยงของตนมาเป็นอาหาร เพราะว่าสัตว์เหล่านั้นให้น้ำนมและเนยแข็งซึ่งเป็นอาหารหลัก แต่ละวันอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทุบหม้อข้าวหม้อแกงของตนเอง ซึ่งจริงๆ แล้วพวกเขาก็ไม่ได้รับประทานเนื้อในอียิปต์บ่อยนัก ยิ่งคนที่เป็นทาสยิ่งจะไม่มีโอกาสเลย แต่ในถิ่นทุรกันดารนี้ เขาก็บ่นที่อยากกินเนื้ออยู่ร่ำไปนอกจากเนื้อในเวลาเย็นและกลางคืนแล้วพระเจ้ายังประทานมานาในเวลาเช้า
“เมื่อน้ำค้างระเหยไปแล้วก็เห็นสิ่งหนึ่งเหมือนเกล็ดเล็กๆเท่าเม็ดน้ำค้างแข็งอยู่ที่พื้นดินในถิ่นทุรกันดารนั้น เมื่อชนชาติอิสราเอลเห็นจึงพูดกันว่า “นี่อะไรหนอ” เพราะเขาไม่ทราบว่าเป็นสิ่งใด โมเสสจึงบอกเขาว่า “นี่แหละเป็นอาหารที่พระเจ้าประทานให้พวก ท่านรับประทาน” (ข้อ 14-15)“เหล่าวงศ์วานของอิสราเอล เรียกชื่ออาหารนั้นว่ามานา เป็นเม็ดขาวเหมือนเมล็ดผักชี มีรสเหมือนขนมแผ่นประสมน้ำผึ้ง” (ข้อ31)

พระเจ้าทรงประทานมานาด้วยวิธีง่าย ๆ เช่นกัน ในแถบคาบสมุทรซีนายจะมีต้นทามาริสก์ มีเมล็ดสีขาวเกือบเทาคล้ายเมล็ดผักชี แมลงที่มากินบนต้นทามาริสก์ จะสร้างสารตกผลึกเป็นเกล็ดขาวมีรสหวานปานน้ำผึ้ง วงต้นฤดูร้อนจะพบเกล็ดเหล่านี้บนพื้นดินในตอนเช้าๆ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ชาวอาหรับเรียกสิ่งนี้ว่า “มานน์” อาหารนี้จะมาพร้อมกับน้ำค้างในตอนเช้า เมื่อเวลาสายแสงแดดจ้ามันก็ละลายไป ประชาชนต้องออกไปเก็บทุกเช้าให้พอดีกินสำหรับทุกคนในครอบครัว และในวันที่หกพระเจ้าได้สั่งให้เก็บเป็นสองเท่า เพื่อวันสะบาโต ซึ่งเป็นวันบริสุทธิ์ของพระเจ้า เขาจะได้หยุดพักการงานทุกอย่าง มันเป็นการอัศจรรย์อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่ให้มีมานาถึง 40 ปีตลอดการเดินทางสู่คานาอัน มีผู้คำนวนปริมาณของมานาไว้อย่างนี้
1 โอเมอร์เท่ากับประมาณ 1.88 ลิตร มีประชาชนประมาณ 2 ล้านคนในค่าย นับทั้งชาย หญิง และเด็ก (ชาย 600,000 คน) มีมานาตกลงมาวันละประมาณ 4,500 ตัน ซึ่งเต็มรถไฟ 10 ขบวน ๆ ละ 30 ตู้ ๆ ละ 15 ตัน ตลอด 40 ปี พระเจ้าประทานอาหารเช่นนี้ลงมาทุกๆ เช้าเป็นอาหารที่มีปริมาณมหาศาล เป็นงานเมกะโปรเจคที่พระเจ้ากระทำกับประชาชน สิ่งที่พระองค์ได้รับคือ คนจำนวนไม่น้อยไม่ได้วางใจในพระองค์ มิได้เชื่อฟังในสิ่งที่พระตรัสสั่ง

การเชื่อฟังพระโอวาทของพระเจ้า เป็นบทพิสูจน์ความรักที่เรามีต่อพระองค์ พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ตามคำสัญญา พระเจ้าทรงสัตย์ซื่อต่อผู้ที่รักษาพระบัญญัติของพระองค์ การอัศจรรย์ข้ามทะเลแดง การแก้น้ำขมที่มาราห์ ประทานมานาทุกเช้า ประทานเนื้อทุกๆ เย็น เป็นพระคุณของพระเจ้า แต่คนอิสราเอล กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้องแท้ๆ ยังไม่รู้จักพอใจ บางคนก็เก็บมานามาเกินตนเองกิน มานาจึงบูดเน่าและมีหนอน (ข้อ 18-20,)
“ชนชาติอิสราเอลก็กระทำตาม บางคนเก็บมาก บางคนเก็บน้อย แต่เมื่อเขาใช้โอเมอร์ตวง คนที่เก็บได้มากก็ไม่มีเหลือ และคนที่เก็บได้น้อยก็หาขาดไม่ ทุกคนเก็บได้เท่าที่คนหนึ่งรับประทานพอดี โมเสสจึงสั่งว่า “อย่าให้ผู้ใดเก็บเหลือไว้จนรุ่งเช้า” แต่เขามิได้เชื่อฟังโมเสส บางคนเก็บส่วนหนึ่งไว้จนรุ่งเช้าอาหารนั้นก็เน่าเป็นหนอนและบูดเหม็นโมเสสจึงโกรธคเหล่านั้น”

มีบางคนที่เชื่อฟังและบางคนยังดื้อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชน ในวันสะบาโตก็เช่นกันพระเจ้าสั่งให้เขาเก็บเป็นสองเท่าในวันที่หก เมื่อเขาเชื่อฟังมานาก็มิได้บูดเน่า เขามีอาหารรับประทานในเช้าวันที่เจ็ด มีบางคนที่ไม่เชื่อฟัง เหมือนจะลองดี จึงออกไปดูที่ทุ่งนา แต่ก็ไม่พบมานาแม้แต่เม็ดเดียว
พระเจ้าประทานมานาให้คนอิสราเอล ทุกๆ เช้าให้เป็นอาหารฝ่ายร่างกาย ส่วนจิตวิญญาณของเขาก็ต้องเชื่อฟังพระองค์ สำหรับพี่น้องและผมเราก็ควรรับประทานมานาจากพระเจ้าทุกวัน นั่นคือรับพระวจนะของพระเจ้าทุกวันเพื่อหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ ความเชื่อ ความประพฤติของเราให้เติบโตแข็งแรง ถ้าเราอ่าน ศึกษาพระคัมภีร์ทุกๆวัน เราจะเข้าใจพระทัยของพระเจ้า มากกว่านาน ๆ อ่านที หรือมาอ่านเฉพาะที่โบสถ์ ถ้าสมมติว่าผู้ชายคนหนึ่งมีแฟนสาว แต่เขาโทรศัพท์หาเธอ คุยกับกับเธอนานๆ โทรที นานๆ คุยด้วยครั้ง ไม่นัดเจอทำความรู้จักกันบ่อยๆ รับรองได้เลย ชาตินี้อย่าหวังได้แต่งงานกับเธอ ทำนองเดียวกัน ถ้าเรานานๆ อ่านพระคัมภีร์สักครั้ง นานๆ อธิษฐานครั้ง นานๆ มาโบสถ์สักที ไม่มีทางที่เราจะเข้าใจพระทัยของพระเจ้าได้ ไม่สามารถทำตามพระทัยพระองค์ได้อย่างถูกต้อง แล้วพระพรที่เราควรจะได้รับก็คงจะได้รับแบบนานๆ ที เช่นกัน

พระเยซูคริสต์สอนเราให้ทูลขออาหารประจำวันฝ่ายกายจากพระเจ้าและอาหารที่จำเป็นกว่านั้นคือพระวจนะของพระเจ้า พระเยซูเป็นอาหารแท้ที่มาจากสวรรค์ เพราะว่าอาหารของพระเจ้านั้น คือการประทานชีวิตให้แก่โลก พระเยซูตรัสว่า “เราเป็นอาหารแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิวและผู้ที่วางใจในเราจะไม่กระหายอีกเลย” (ยอห์น 6:35) พระประสงค์ของพระบิดาผู้ทรงใช้พระองค์มานั้น ก็คือให้รักษาบรรดาผู้ที่พระเจ้าได้ทรงมอบไว้กับพระบุตร มิให้หายไปสักคนเดียว แต่ให้ฟื้นขึ้นมาในวันที่สุด เพราะนี่แหละเป็นพระประสงค์ของพระบิดา...ที่จะให้ทุกคนที่เห็นพระบุตร และวางใจในพระบุตรได้มีชีวิตนิรันดร์ (ยอห์น6:40)
พระเจ้าประทานอาหารประจำวันแก่เรา ประทานชัยชนะเหนืออุปสรรคปัญหา เพราะพระองค์ทรงสัย์ซื่อต่อผู้ที่รักพระองค์ ผู้ที่ทำตามพระทัยของพระองค์ การอ่านพระคัมภีร์เป็นการกินอาหารฝ่ายวิญญาณ เป็นการฟังพระสุรเสียงของพระเจ้าที่กำลังตรัสกับเรา ไม่ใช่ในธรรมชาติ ไม่ใช่ในการอัศจรรย์ แต่ในพระคัมภีร์ต่างหากที่พระเจ้าได้ตรัสกับเราอย่างสมบูรณ์ เราควรแสวงหาการอ่านพระคัมภีร์อย่างทารกที่ไขว่คว้าหานมแม่เพื่อจะดื่มกับอาหารที่จำเป็นต่อชีวิต
1 เปโตร 2:2-3 กล่าวว่า “เช่นเดียวกับทารกแรกเกิด จงปรารถนาน้ำนมฝ่ายวิญญาณอันบริสุทธิ์ เพื่อโดยน้ำนมนั้นจะทำให้ท่านทั้งหลายเจริญขึ้นสู่ความรอดเพราะท่านได้ลิ้มรสพระกรุณาคุณขององค์พระผู้เป็นเจ้า”
เมื่อเราเสาะหาพระวจนะของพระเจ้าแล้วทำตามอย่างซื่อสัตย์ พระเจ้าจะเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดอยู่แก่ท่าน เหมือนคนอิสราเอลที่เก็บมานาน้อย แต่พอนำมาตวงก็ได้เต็มโอเมอร์คนที่ทำตามไม่ขาดสิ่งดีอันใดเลย มัทธิว 6:33 กล่าวว่า
“แต่ท่านทั้งหลายจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อนแล้วพระองค์จะทรงเพิ่มเติมสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ให้”
และถ้าหากใครจะเติมจะเพิ่มอะไรลงไปในพระคำของพระเจ้าก็ไม่ได้เพราะพระองค์ก็จะทรงเพิ่มภัยพิบัติแก่ผู้นั้น และถ้าผู้ใดตัดข้อความออก พระเจ้าก็จะทรงเอาส่วนแบ่งของผู้นั้นไปเสีย (วิวรณ์ 22.18-19)

ข้าพเจ้าประทับใจประวัติที่มาของคู่มือเฝ้าเดี่ยวเล่มหนึ่งคือมานาประจำวัน ได้เขียนที่มาไว้อย่างน่าประทับใจว่า
1.ในอดีตพระเจ้าทรงเลี้ยงดูชนชาติอิสราเอลในถิ่นทุรกันดารด้วย "มานา"ฉันใดเราทั้งหลายผู้อาศัยในโลกปัจจุบันนี้ก็ดำรงชีวิตด้วยพระวจนะของพระเจ้าฉันนั้น ดังที่องค์พระเยซูตรัสว่า "มนุษย์จะบำรุงชีวิตด้วยอาหารสิ่งเดียวหามิได้แต่บำรุงด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า" ( มัทธิว 4:4 )
2.ในอดีตเมื่อพระเจ้าเลี้ยงดูชนชาติอิสราเอลด้วยมานาในถิ่นทุรกันดารนั้นมีกฏอยู่ว่าชนชาติอิสราเอลจะต้องออกไปเก็บมานาทุกวันในจำนวนที่พอกันในแต่ละวันเท่านั้นเช่นเดียวกันกับการอ่านพระวจนะคำของพระเจ้าคริสเตียนต้องอ่านทุกๆวันเพื่อให้มีกำลังและสติปัญญาจากพระเจ้าในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน
เช้าวันนี้เราได้เรียนรู้การเชื่อฟังพระวจนะของพระเจ้าจากประสบการณ์ของคนอิสราเอลแล้ว เมื่อเขาเชื่อฟัง เขาก็ไม่ได้ขาดสิ่งที่จำเป็นต่อการดำงรงชีวิตประการใด แต่หากเขามิได้เชื่อฟังพระพรก็ขาดๆ หายๆ ไปและภัยพิบัติก็เพิ่มขึ้น

ดังนั้น ในการอ่านพระคัมภีร์ของพี่น้องและผม ในแต่ละวัน เราควรมีท่าทีในการอ่านพระคัมภีร์เพื่อจะได้ทำตามพระทัยของพระเจ้าคือ
1. อ่านด้วยความความเชื่อศรัทธา ด้วยใจเลื่อมใสรับพระวจนะของพระเจ้า และค้นดูพระคัมภีร์ทุกวัน หวังจะรู้ว่าข้อความเหล่านั้น รู้ความจริงของพระเจ้าแล้ว ท่านจะได้มั่นคงในความเชื่อ พร้อมกับสมาชิกในครอบครัวของท่าน ทั้งชาย หญิง เด็กและคนสูงวัย (กิจการ 17:11-12)
2.อ่านด้วยใจถ่อมเป็นท่าทีแห่งการพัฒนาตนเองเพราะผู้ที่ถ่อมใจลงต่อพระเจ้าพระองค์จะทรงยกเขาขึ้นในเวลาอันสมควร (1 เปโตร 5:6) เราทุกคนยังมีความบกพร่องเราต้องถ่อมใจลงให้พระวจนะของพระเจ้าขัดเกลาชีวิตของเรา และ
3.อ่านด้วยการทำตามพระบัญชาของพระเจ้าอย่างเคร่งครัด พระเจ้าสัญญาให้พระพรแก่ผู้ที่รักษาพระบัญญัติของพระองค์ ทั้งตัวท่านเองและลูกหลานของท่านจะจำเริญเป็นนิตย์ เมื่อท่านกระทำสิ่งที่ดีและถูกต้องในสายพระเนตรของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน (เฉลยธรรมบัญญัติ 12:28) อาเมน.

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

โยชูวา

ข้าพเจ้าและครอบครัวอยู่ฝ่ายพระเจ้า

“...แต่ส่วนข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้า เราจะปรนนิบัติพระเจ้า” (โยชูวา 24:15)

ขณะนี้ชาวไทยเราอยู่ในยุคที่ผู้นำประเทศท้าทายให้ประชาชนเลือกข้าง ในแวดวงเพื่อนฝูงฉันก็ถูกถามว่า เธอจะอยู่ฝ่ายไหน เมื่อถูกถามให้เลือกข้างฉันกลับคิดถึงพระคัมภีร์เก่าที่เพิ่งอ่านคือเรื่องของโยชูวา เมื่อใกล้ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตท่านเองก็ท้าทายให้คนอิสราเอลเลือกข้างเหมือนกัน ซึ่งตัวโยชูวาเองได้เลือกข้างไว้แล้ว ดังที่ท่านประกาศอย่างมั่นคงว่า ตัวท่านและครอบครัวเลือกฝ่ายพระเจ้า

โยชูวา โยชัว เยชูวา ยะโฮชูอะ เยซู ต่างมีความหมายเดียวกันคือพระเยโฮวาห์ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอด โยชูวาเป็นบุตรนูน เกิดในตระกูลเอฟราอิม ในสมัยที่อิสราเอลตกเป็นทาสในอียิปต์ มีชีวิต 110 ปี (ยชว.24:29) โยชูวามีประสบการณ์ชีวิตในหลายๆ ด้านดังนี้

1. ด้านการก่อสร้าง : ในช่วงที่เป็นทาสในอียิปต์ เขาต้องทำงานหนักเหมือนชายฉกรรจ์ชาวยิวอื่นๆ ในการทำอิฐ ทำปูนเพื่อการก่อสร้าง

2. ด้านการทหาร :ในช่วงที่โมเสสพาชนชาติอิสราเอลออกจากอียิปต์ อยู่ในถิ่นทุรกันดาร อิสราเอลทำสงครามกับอามาเลข โยชูวาถูกส่งให้เป็นผู้นำเหล่าทัพออกไปสู้รบจนได้ชัยชนะ (อพยพ17:9-16) ต่อมาเขาเป็น 1 ใน 12 คนที่โมเสสส่งไปสอดดินแดนคานาอัน (กดว.13:1-16)

3. ด้านความเชื่อ : ได้เห็นการอัศจรรย์ของพระเจ้าทรงทำงานผ่านโมเสส ได้รับการสอนเรื่องการรักษาพระบัญญัติกฎเกณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่เยาว์วัย เขามีความเชื่อมั่นว่าพระเจ้าทรงประทานแผ่นดินคานาอันซึ่งเป็นแผ่นดินแห่งพระสัญญาสำหรับอิสราเอล

4. ด้านการรับใช้ : เป็นผู้รับใช้ของโมเสสตั้งแต่หนุ่มๆ (กดว.11:28) มักอยู่เคียงข้างโมเสสตลอดเวลา ไม่ว่าโมเสสจะไปไหน ข้างหนึ่งคืออาโรน และอีกข้างหนึ่งคือโยชูวา

5. ด้านการเป็นผู้นำ : ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำอิสราเอลต่อจากโมเสส เพราะเป็นผู้มีความสามารถ มีความสัตย์ซื่อ ประกอบด้วยพระจิตเจ้า (กดว.27:16-23,ฉธบ.1:34-40,3:23-27)

โยชูวา คือผู้นำอิสราเอลคนใหม่ เมื่อพระเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้โมเสสเข้าไปในแผ่นดินแห่งพระสัญญา เพราะท่านไม่เชื่อฟังพระเจ้า และไม่ให้เกียรติแก่พระองค์ (กดว.20:1-20) รวมทั้งชาวอิสราเอลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป กลุ่มชนที่ออกจากอียิปต์ที่มีชีวิตในถิ่นทุรกันดาร พวกหัวดื้อและขี้บ่นก็ไม่สามารถเข้าในแผ่นดิน ยกเว้นโยชูวา คาเลบ และชนรุ่นใหม่ที่เกิดในถิ่นทุรกันดารที่มีอายุ 20 ปีลงมาจึงได้เข้าแผ่นดินนั้น (กดว.14:26-35)

หลังจากโมเสสเสียชีวิต โยชูวาต้องทำหน้าที่นำชนชาติอิสราเอลออกจากถิ่นทุรกันดาร บุกเข้ายึดครองคานาอันดินแดนแห่งพระสัญญา โยชูวามีความวิตกกังวล มีความกลัว และขาดความมั่นใจเพราะ คนอิสราเอล มีนิสัยทั้งดื้อด้านและขี้บ่น ด้านจำนวนประชากรมีมาก ส่วนในแผ่นดินคานาอันประกอบด้วยชนชาติเดิม 7 ชนชาติ คนพวกนี้เป็นคนตัวใหญ่แข็งแกร่ง มีกำลังมากและกราบไหว้รูปเคารพ ดูน่ากลัวจริงๆที่จะเข้าไปยึดครอง บทเรียนที่เราได้รับจากชีวิตของโยชูวา ดังนี้



1. ก้าวออกจากถิ่นทุรกันดาร…ด้วยความวางใจในพระเจ้า (ยชว.1:3-9)

พระเจ้าทรงให้โยชูวามองเห็นปัจจุบัน แม้ว่าท่านยังอยู่ท่ามกลางปัญหา ท่านต้องเคลื่อนพลออกจากที่ราบโมอับ ข้ามแม่น้ำจอร์แดนมุ่งสู่คานาอัน แต่พระเจ้าทรงสัญญากับโยชูวา ว่า “เราอยู่กับโมเสสมาแล้วฉันใด เราจะอยู่กับเจ้าฉันนั้น เราจะไม่ละเลยหรือละทิ้งเจ้าเสีย จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด อย่าตกใจหรือคร้ามกลัวเลย เพราะเจ้าไปถิ่นฐานใด พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าสถิตกับเจ้า” จากพระสัญญาของพระเจ้าทำให้โยชูวาเพิ่มความมั่นใจและมีความกล้าหาญพร้อมทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของโมเสส สืบสานน้ำพระทัยของพระเจ้าให้สำเร็จ

ความเชื่อคือความแน่ใจในที่สิ่งที่เราหวังไว้ เป็นความรู้สึกมั่นใจว่าสิ่งที่ยังไม่ได้เห็นนั้นมีจริง ชีวิตคริสตชนต้องเริ่มต้นด้วยความเชื่อด้วยความไว้วางใจในพระเจ้า และสิ้นสุดลงด้วยความเชื่อและความวางใจในพระเจ้าเช่นกัน เรามั่นใจได้ว่าพระเจ้าทรงสัตย์ซื่อในการรักษาคำมั่นสัญญา ทรงเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาความเอ็นดูที่มีต่อบุตรของพระองค์ ทรงฤทธานุภาพที่เราสามารถวางใจและมอบทั้งชีวิตให้กับพระองค์
พระเจ้าทรงให้โยชูวามองไปข้างหน้า มองดูอนาคตคือที่ แผ่นดินคานาอัน ซึ่งเป็นแผ่นดินแห่งพันธสัญญา ที่อุดมไปด้วยน้ำผึ้งและน้ำนม แม้โยชูวาจะยังไม่ได้ยึดครอง แต่มีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า เป็นแผนการของพระองค์ที่ทรงเตรียมไว้ก่อนแล้ว เป็นพันธสัญญาที่พระองค์ทรงกระทำต่ออับราฮัมว่าอิสราเอลจะเป็นชนชาติใหญ่ จะเป็นชนชาติที่มีชื่อเสียง อิสราเอลจะเป็นชนชาติพระพร ที่นำพระพรของพระเจ้าไปสู่ชาวโลก ดังนั้นโยชูวามีหน้าที่ทำตามพระบัญชาของพระเจ้า เพราะความสำเร็จก็วางอยู่ข้างหน้าแล้ว


“ พระเจ้ามิได้ทรงประทานจิตที่ขลาดกลัวให้เรา”


2. ก้าวสู่แผ่นดินพันธสัญญา…ด้วยการเชื่อฟังพระวจนะ (ยชว.1:7-8)

พระเจ้าทรงรู้ดีว่าดินแดนคานาอันมีชนชาติที่กราบไหว้รูปเคารพ คนอิสราเอลได้รับอิทธิพลเรื่องนี้ตั้งแต่อยู่ในอียิปต์และในถิ่นทุรกันดาร ด้วยว่าชนชาติอื่นๆนั้นกราบไหว้รูปเคารพมากมาย ด้วยเหตุนี้พระเจ้าทรงกำชับให้พวกเขายึดพระคำของพระเจ้าเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต พวกเขาต้องไตร่ตรอง รำพึงภาวนาพระคำทั้งกลางวันและกลางคืน

บ่อยครั้งที่เราคริสตชนมักเข้าใจผิดว่าการเตรียมตัวสำหรับอนาคต เป็นการเตรียมเรื่องเงินทอง เรื่องวัตถุ เรื่องฐานะการงาน เรื่องเกียรติยศชื่อเสียง แต่พระเจ้าทรงให้เราเตรียมชีวิต(อนาคต)ให้อุดมด้วยพระวาจาของพระเจ้า เราจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ถ้าเรามองไม่เห็นทางสว่างของเบื้องหน้า พระวจนะของพระเจ้าจะเป็นโคมส่องเท้านำวิถีชีวิตของเรา (สดด.119:105) หรือ“บุคคลใดที่ติดสนิทกับพระเจ้าด้วยการยึดพระธรรม วิถีชีวิตของเขาจะเหมือนแสงอรุณซึ่งฉายสุกใส่ยิ่งๆ ขึ้น” (สภษ.4:18) พระเยซูเจ้าทรงมีชัยชนะต่อการทดลองของมารซาตานด้วยการใช้พระวจนะ (มธ.4:1-11) ซึ่งเสมือนดาบที่คมกริบ ใช้ในการต่อสู้มารร้าย

ก่อนที่โมเสสจะนำชนชาติอิสราเอลออกจากอียิปต์ ในค่ำคืนนั้นพระเจ้าตรัสสั่งให้อิสราเอลทำพิธีปัสกา เอาเลือดแกะทาวงกบประตูบ้าน กินเนื้อแกะปิ้ง กินขนมปังไร้เชื้อ และเตรียมพร้อมสำหรับการออกเดินทาง สิ่งที่ไม่ลืมคือการเตรียมก้อนแป้งดิบที่ไม่ใส่เชื้อห่อใส่บ่าเอาไปด้วย เพื่อเป็นเสบียงอาหารระหว่างทางในช่วงแรก (อพย.12:1-3,12:34) โยชูวาก็กระทำเช่นเดียวกัน เขาสั่งให้ประชาชนเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอสำหรับในครอบครัว ฝูงสัตว์และพลทหาร ใช้กินระหว่างการเดินทางจากที่ราบโมอับข้ามแม่น้ำจอร์แดนสู่เมืองเยรีโค ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 3 วัน นี่เป็นวิธีการของผู้นำที่ชาญฉลาดที่มีการวางแผนงาน มนุษย์ต้องบำรุงชีวิตด้วยอาหารทั้งฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณ “มนุษย์จะบำรุงชีวิตด้วยอาหารสิ่งเดียวหามิได้ แต่บำรุงด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า” (มธ.4:4) ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมเสบียงที่พรักพร้อมทั้งฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณ เพื่อชีวิตที่แข็งแรงสมบูรณ์และสมดุล



3. ก้าวสู่แผ่นดินพันธสัญญา…ด้วยชีวิตที่บริสุทธิ์ (ยชว.3:1-6)

ดินแดนคานาอันเต็มไปด้วยชนพื้นเมืองเดิม 7 ชนชาติที่กราบไหว้นับถือรูปเคารพ บูชาเทพเจ้า ล่วงประเวณี ผิดศีลธรรม มีชีวิตที่ไม่บริสุทธิ์ พระเจ้าทรงเลือกสรรชนชาติอิสราเอลให้เป็นประชาชาติที่ทรงเรียกไว้โดยเฉพาะ เป็นชนชาติที่บริสุทธิ์ เป็นประชากรของพระเจ้า ชีวิตของอิสราเอลจึงต้องมีความแตกต่างจากชนชาติอื่นๆ คือชีวิตที่บริสุทธิ์เหมือนดังพระเจ้าที่ทรงบริสุทธิ์

โยชูวาสั่งให้ประชาชนชำระตนให้บริสุทธิ์เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้า และเตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนพลข้ามแม่น้ำจอร์แดน เมื่อเราอ่านในคัมภีร์เก่า ทุกครั้งที่ประชาชนเข้าเฝ้าพระเจ้า พวกเขาต้องชำระให้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งเสื้อผ้าและจิตใจ แม้กระทั่งปุโรหิตที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าในพลับพลา ในอภิสุทธิสถานจะต้องนำเครื่องบูชามาถวายสำหรับความผิดของตนก่อนแล้วจึงถวายสำหรับความผิดของประชาชน (ฮบ.7:27) นี่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระเจ้าทรงประสงค์ให้ชีวิตของผู้ที่เข้าเฝ้าพระองค์มีความบริสุทธิ์ ต้องการให้ลูกของพระองค์ดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ (1 ปต.1:15-16) หลังจากที่ประชาชนได้ชำระตัวให้บริสุทธิ์พร้อมที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าแล้ว พวกเขาก็ได้เห็นฤทธานุภาพความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า

อัครทูตเปาโลได้วิงวอนให้คริสตชนทั้งหลายถวายชีวิตเป็นเครื่องบูชาที่บริสุทธิ์และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า (รม.12:1-2) ผู้ที่ถวายตัวเช่นนี้ต้องถวายทั้งร่างกายจิตใจความคิดและความปรารถนาของตนมอบแด่พระเจ้า และจำนนต่อพระองค์ เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากพระเจ้าแล้วเราจะเข้าใจน้ำพระทัยของพระเจ้าว่าทรงดียอดเยี่ยมเพียงไร

พระเจ้าไม่ทรงประสงค์ให้ชาวอิสราเอลก้าวออกจากถิ่นทุรกันดารโดยไม่มีเป้าหมายและไร้ทิศทาง ในทำนองเดียวกัน พระเจ้าทรงนำเราทั้งหลายก้าวออกจากความแห้งผากของชีวิต ความร้อนระอุของชีวิต ความสับสนของชีวิต เพื่อเราจะเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตและสัมผัสถึงการทรงอยู่ของพระองค์ตลอดเวลา รวมถึงการทรงนำเราทั้งหลายก้าวสู่แผ่นดินที่อุดมด้วยน้ำผึ้งและน้ำนม และเรากำลังอยู่บนเส้นทางนั้น




4. ก้าวไปกับพระเจ้าทุกเวลา…ด้วยชีวิตที่สัตย์ซื่อ (ยชว.19:49-51)

โยชูวาแบ่งดินแดนให้แก่ เผ่าต่างๆ ด้วยความเป็นธรรม มิได้ใช้อำนาจหน้าที่หรือตำแหน่งของการเป็นผู้นำเลือกเอาดินแดนที่ใหญ่โตที่สุดสำหรับตน แต่แบ่งโดยการจับฉลากตามความเหมาะสม ตระกูลใดมีคนมากก็ได้ดินแดนผืนใหญ่ไปปกครอง โยชูวาสัตย์ซื่อต่อคำมั่นสัญญาที่โมเสสได้ให้กับคาเลบว่าจะยกดินแดนส่วนหนึ่งให้แก่คาเลบ และโยชูวาก็กระทำตามนั้นอย่างชาญฉลาด (ยชว.14:6-15) ส่วนดินแดนสำหรับตน โยชูวามิได้ใช้อำนาจได้มา ท่านอยู่ในเผ่าเอฟราอิม เผ่าเอฟราอิมเมื่อได้ดินแดนแล้วก็แบ่งให้คนในตระกูลรวมถึงโยชูวาด้วยผู้นำที่ดีไม่ใช่เก่งแค่พูดแต่ต้องเก่งในการปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นคนพูดเก่งแต่ต้องรักษาคำพูด ไม่ใช่เป็นคนทำงานเก่งแต่ต้องทำงานอย่างสัตย์ซื่อด้วย พระองค์ทรงสัตย์ซื่อไม่ผันแปรเปลี่ยนไป (2 ทธ.2:13) ดังนั้นเราจึงต้องสัตย์ซื่อต่อการปฏิบัติตามพระคำของพระเจ้า สัตย์ซื่อในทางวาจา เงินทอง เรื่องเพศ และสัตย์ซื่อในทุกเรื่อง “คนที่สัตย์ซื่อในของเล็กน้อยที่จะซื่อสัตย์ในของมากด้วยและคนที่อสัตย์ในของเล็กน้อย ก็จะอสัตย์ในของมากเช่นกัน” (ลก.16:10)


5. ก้าวไปกับพระเจ้า…จนวาระสุดท้ายของชีวิต (โยชูวา บทที่ 23-24 )

คำกำชับสุดท้ายของโยชูวา: ท่านโยชูวาได้กำชับประชาชนในโยชูวาบทที่ 23-24 ซึ่งเป็นคำอำลาของโยชูวา ซึ่งท่านได้ปฏิบัติหน้าที่สำเร็จแล้ว ในการนำชนชาติอิสราเอลออกจากถิ่นทุรกันดารเข้าสู่ดินแดนแห่งพระสัญญา ได้แบ่งดินแดนให้เผ่าทั้ง 12 ตระกูล มีการทำพิธีสุหนัต พิธีปัสกาและการนมัสการพระเจ้า ท่านกำชับประชาชนว่า “มาถึงทุกวันนี้ ทุกสิ่งที่เรามองเห็นและจับต้องทุกสิ่งที่เราผ่านมาในอดีตและสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงที่จะมีมาในอนาคต ล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงตระเตรียมไว้ให้แก่เรา ขอให้พวกท่านตัดสินใจเอาว่าจะนมัสการผู้ใด…แต่สำหรับข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้ารวมถึงลูกหลานเหลนทุกชั่วอายุสืบไป เราจะปรนนิบัติพระเยโฮวาห์ไปตลอดชีวิตของเรา” ประชาชนพร้อมใจกันตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายจะละทิ้งพระเจ้า ไปปรนนิบัติพระอื่นนั้น ขอให้ห่างไกลจากข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด” โยชูวาจึงได้ทำพันธสัญญากับประชาชนและจารึกถ้อยคำเหล่านี้ไว้ในหนังสือธรรมบัญญัติของพระเจ้า เอาก้อนหินใหญ่ตั้งไว้ที่ต้นก่อหลวงในสถานนมัสการแห่งที่เชเคม ตลอดระยะเวลาที่โยชูวาอยู่กับชนชาติอิสราเอลจนกระทั่งสิ้นชีวิตและตลอดสมัยของผู้ใหญ่ที่มีอายุยืนนานกว่าโยชูวา พวกเขาก็รักษาพันธสัญญาของพระเจ้าและตระหนักซาบซึ้งในพระราชกิจที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่ออิสราเอล (โยชูวา 24:31)

ผู้อ่านที่รักคะ ท่านกล้ายืนอย่างท่านโยชูวาไหม โดยเลือกฝ่ายพระเจ้า กล้าที่จะเปล่งวาจาว่า “แต่ส่วนข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้า เราจะปรนนิบัติพระเจ้าตลอดชีวิต” …อาแมน


โปรดปราน (พีพี )

Jesus-พระเยซู

คอลัมน์พลังชีวิต
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2436 ประจำวัน พุธ ที่ 10 ธันวาคม 2008
โดย อ.ธงชัย ประดับชนานุรัตน์


Jesus-พระเยซู

คำนี้เป็นชื่อเรียก “พระเยซู” ตรงกับคำภาษาละตินว่า “Jesus” มาจากคำภาษากรีกว่า “jesous” (จี’ซัส) ซึ่งมาจากภาษาฮิบรูว่า “yeshua” (Yahoshua) แปลว่า “ผู้ช่วยให้รอด”

แท้จริงชื่อภาษากรีกนี้ถือเป็นชื่อที่คนนิยมมากในสมัยของพระเยซูเอง จึงมีหลายคนที่ใช้ชื่อนี้เช่น เยซู บารับบัส, เยซู ยุสทัส (โคโลสี 4 :11) และเยซู ผู้เป็นบรรพบุรุษของโยเซฟ (ลูกา 3:29) แต่ถ้าเป็นชื่อ
ภาษาฮิบรูก็จะออกเสียงว่า “โยชูวา (Joshua)” (กิจการ 7:45 ; ฮีบรู 4:8)

ความหมายตาม Dictionary ของคำว่า Jesus คือ “ศาสดาผู้ก่อตั้งคริสตศาสนา, เป็นผู้ที่ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้าและเป็นพระเมสิยาห์ (ผู้ซึ่งได้รับการเจิมตั้งให้มาช่วยมนุษย์ให้รอด)” (The founder of Christianity, regarded by Christians as the son of God and the Messiah.)

จะเห็นได้ว่า แม้คนทั่วๆไปจะถือว่าพระเยซูเป็นศาสดาของคริสตศาสนา แต่ชาวคริสต์ส่วนใหญ่กลับไม่คิดอย่างนั้น! เพราะชาวคริสต์แท้จะเชื่อว่า พระเยซูคริสต์ (Jesus Christ, เยซูเป็นชื่อ, คริสต์เป็นตำแหน่ง แปลว่า “ผู้ที่พระเจ้าทรงเจิมแต่งตั้ง) เป็นพระบุตรของพระเจ้า ซึ่งเป็น 1 ใน 3 พระภาคของพระเป็นเจ้าที่เรียกว่า ตรีเอกานุภาพ (3 เป็น 1)!

ชาวคริสต์ถือว่า พระเป็นเจ้าเป็นพระเจ้าองค์เดียว แต่มี 3 พระภาคคือ พระบิดา, พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ (ทางคาทอลิก จะเรียกพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่า “พระจิต”)

พระเยซูคริสต์ทรงเสด็จเข้ามารับสภาพของมนุษย์ในโลกเพื่อจะช่วยมนุษย์ให้รอดจาก 3 “P” ที่เกี่ยวกับบาป นั่นคือโทษของบาป (penalty of sin) ในอดีต, อำนาจของบาป (power of sin) ในปัจจุบัน และการปรากฏอยู่ของบาป (presence of sin) ในอนาคต!

ตามความเชื่อของชาวคริสต์ พระเยซูคริสต์ถูกตรึงสิ้นพระชนม์ในวันศุกร์ ที่เรียกว่า Good Friday และเป็นขึ้นมาจากอุโมงค์ฝังศพในวันอาทิตย์ที่เรียกว่า Easter และหลังจากนั้นอีก 40 วัน ก็เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่เรียกว่า “Ascension” จากนั้นพระองค์จะกลับมาอีกครั้งตามพระสัญญา เพื่อรับคนที่เชื่อไปอยู่กับพระองค์ในสวรรค์ เราเรียกวันนั้นว่า “The Second Coming of Christ” (การเสด็จกลับมาครั้งที่ 2 ของพระเยซูคริสต์)! ซึ่งคนในปัจจุบันจะนำไปผูกกับเรื่องวาระสุดท้ายของโลก!

ในขณะที่ดำเนินอยู่ในโลก พระเยซูคริสต์ทรงกระทำความดี ด้วยการเทศนา (Preaching), สั่งสอน (Teaching) และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ (Healing) ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน แต่เป้าหมายที่แท้จริงของพระองค์ก็คือ การถูกตรึงตายไถ่บาปของมวลมนุษย์โลกนั่นเอง!

พระเยซูคริสต์ (Jesus) ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์ในการสอน (The Master Teacher) เพราะทรงมีกลวิธีในการสอนที่เยี่ยมยุทธ์เกินผู้ใดเทียบเทียมได้ แต่กระนั้นชาวคริสต์ก็ยังไม่ชื่นชมกับการยกย่องนั้น เพราะเห็นว่าสถานภาพนั้นเมื่อเทียบกับฐานศักดิ์ที่แท้จริงของพระองค์ แล้วยังต่ำกว่าความเป็นจริงมากนักเพราะชาวคริสต์เชื่ออย่างสุดหัวใจว่า พระองค์ทรงเป็น “พระเจ้า” แห่งฟ้าสวรรค์

ชาวคริสต์ยังเชื่ออีกว่า…พระเยซูคริสต์ทรงตั้งคริสตจักรขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระองค์ในการนำมวลมนุษย์ทั้งหลายให้มารับความรอด (พ้นจากโทษบาป)! เพราะพระองค์ได้ทรงชำระหนี้บาปแทนมนุษย์ทุกคนแล้วด้วยการจ่ายค่าไถ่ราคาสูงที่สุดในจักรวาล นั่นคือ ด้วยชีวิตของพระองค์เอง!

พระเยซูคริสต์ทรงเปรียบพระองค์เองเป็นประดุจผู้เลี้ยงแกะที่ดี (The Good Shepherd) ที่ห่วงใยในฝูงแกะ และยินยอมสละชีวิตปกป้องฝูงแกะของพระองค์ พระองค์ยังทรงเปรียบพระองค์เป็นเถาองุ่นแท้ (The true Vine) ที่มีพระเจ้าพระบิดาเป็นเจ้าของสวน และบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์เป็นเสมือนแขนง(กิ่งก้าน)!

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเปรียบเทียบต่อไปว่า พระองค์นั้นเป็นความสว่าง ของโลก (The Light of the World), เป็นอาหารแห่งชีวิต (The Bread of life), เป็นทาง, ความจริง และชีวิต (The Way, The Truth, The Life) เป็นประตู (The Gate), และเป็นเหตุให้คนเป็นขึ้น และมีชีวิต! (The Resurrection and the Life) ฯลฯ

พระเยซูทรงเจริญพระชนม์ขึ้นในเมืองเล็กๆ ชื่อเมืองนาซาเร็ธ ซึ่งอยู่ทางเหนือของอิสราเอล ผู้คนจึงรู้จักพระองค์ในพระนาม “เยซูชาวนาซาเร็ธ” (Jesus of Nazareth) และมีภาพยนตร์คลาสสิกที่นำแสดงโดยดาราชื่อดัง โอลีเวีย ฮัสซีย์ มีชื่อว่า “Jesus of Nazareth” ที่ทุกคนน่าจะได้ชมดูสักครั้ง!

นโปเลียน มหาราช ผู้ยิ่งใหญ่ ตรัสว่า “ข้าพเจ้าเอาชนะโลกนี้ด้วยกำลังทหาร แต่พระเยซูคริสต์ทรงชนะโลกด้วยความรัก…ถ้าโสคราติส (ปรัชญาเมธี ชื่อดังของโลก) เดินเข้ามาในห้องนี้ เราควรลุกขึ้นให้เกียรติแก่ท่าน แต่ถ้าพระเยซูคริสต์ (Jesus Christ) ทรงเสด็จเข้ามา เราควรจะคุกเข่าลงกราบนมัสการพระองค์!”

หวังว่า วันนี้เราจะรู้จัก “Jesus” ผู้นี้ได้ดีขึ้น!