Custom Search By Google

Custom Search

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

พระเจ้าพระบิดา

พระเจ้าพระบิดา

พระเจ้า พระบิดาองค์นิรันดร์ทรงเป็นพระผู้สร้าง ทรงเป็นแหล่งที่มา ทรงเป็นผู้ค้ำจุนและทรงมีอำนาจเหนือสรรพสิ่งที่ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ทรงเมตตาและทรงพระคุณ ทรงช้าในความพิโรธ และอุดมด้วยความรักอันมั่นคง และความสัตย์ซื่อ พระลักษณะและฤทธานุภาพของพระองค์แสดงออกให้เห็นได้จากพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คือเปิดเผยให้เห็นถึงพระบิดา (ปฐมกาล 1:1; วิวรณ์ 4:11; 1 โครินธิ์ 15:28; ยอห์น 3:16; 1 ยอห์น 4:8; 1 ทิโมธี 1:17; อพยพ 34:6; ยอห์น 14:9)

บทที่ 3

วันแห่งการพิพากษาครั้งใหญ่เริ่มต้น พระที่นั่งที่มีเพลิงลุกเป็นวงล้อหมุนตั้งไว้ ผู้เจริญด้วยวัยวุฒิเสด็จมาประทับมีแสงรัศมีเจิดจ้าปรากฏไปทั่ว พระองค์ทรงประทับเป็นประธานบนพระที่นั่งเหนือสถานพิพากษา การประทับอยู่ของพระองค์น่าเกรงขามยิ่งกระจายไปทั่วบริเวณห้องพิพากษา บรรดาพยานนับจำนวนไม่ถ้วนยืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ การพิพากษาเริ่มต้นขึ้น หนังสือทั้งหลายถูกเปิดออกและการตรวจสอบบันทึกชีวิตของมนุษย์ก็เริ่มดำเนินการ (ดาเนียล 7:9, 10)
จักรวาลทั้งปวงได้เฝ้ารอเวลานี้มานานแล้ว พระเจ้าพระบิดาจะทรงตัดสินบรรดาความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งหมดด้วยความยุติธรรม มีคำประกาศว่า “การพิพากษาให้แก่วิสุทธิชนขององค์ผู้สูงสุด” (ดาเนียล 7:22) เสียงสรรเสริญด้วยความยินดีและโมทนาพระคุณดังกึกก้องไปทั่วฟ้าสวรรค์ พระลักษณะของพระเจ้าได้ฉายให้เห็นได้ทั่วจากพระสิริของพระองค์ และพระนามอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพระองค์ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นทั่วทั้งจักรวาล

ทรรศนะเกี่ยวกับพระบิดา
มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับพระเจ้าพระบิดาเสมอ คนจำนวนมากรับรู้พันธกิจของพระคริสต์เพื่อมนุษยชาติในโลกและบทบาทหน้าที่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ส่วนพระบิดาทรงมีบทบาทอะไรต่อชีวิตของเราทั้งหลายบ้าง พระองค์แตกต่างไปจากพระบุตรผู้ทรงพระคุณและพระวิญญาณบริสุทธิ์ ด้วยการออกไปจากโลกนี้ เป็นเหมือนเจ้าของที่ดินผู้หายไป ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์อันแก้ไขไม่ได้ครั้งแรกใช่หรือไม่
หรือว่าพระองค์เป็นไปอย่างที่มีบางคนคิดว่า “เป็นพระเจ้าแห่ง พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม” พระเจ้าผู้ทรงแก้แค้น ได้รับการกล่าวถึงพระ-ลักษณะว่า “ตาแทนตา ฟันแทนฟัน” (มัทธิว 5:38; อพยพ 21:24) พระเจ้าผู้ทรงกระทำอย่างตรงไปตรงมา กำหนดว่าทุกคนต้องประพฤติตนถูกต้องสมบูรณ์เท่านั้น เป็นพระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่แตกต่างไปจากพระเจ้าใน พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ซึ่งแสดงออกให้เห็นว่าทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรัก ผู้ทรงเน้นให้หันแก้มอีกข้างหนึ่งให้คนอื่นตบและเดินเลยไปสองกิโลเมตร (มัทธิว 5:39-41)

พระเจ้าพระบิดาในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม
เนื้อหาที่เป็นหนึ่งเดียวกันของพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่และแผนงานแห่งการไถ่ให้รอดที่เหมือนกัน เปิดเผยโดยข้อเท็จจริงให้เห็นว่ามาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน ผู้ทรงตรัสและมีบทบาทในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของพระคัมภีร์ทั้งสองภาค เพื่อความรอดแห่งประชากรของพระองค์ “ความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่หวังไว้ เป็นความแน่ใจในสิ่งที่มองไม่เห็น โดยความเชื่อนี้เองคนสมัยก่อนจึงได้รับการรับรองจากพระเจ้า“ (ฮีบรู 1:1,2) ถึงแม้ว่าในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงพระเจ้าทั้งสามพระภาค (ตรีเอกานุภาพ) ภาพที่เห็นแยกไม่ออกอย่างชัดเจนก็ตาม แต่พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่แสดงให้เห็นภาพของพระคริสต์ พระเจ้าผู้เป็น พระบุตร ผู้มีส่วนสำคัญในการเนรมิตสร้าง (ยอห์น 1:1-3,14; โคโลสี 1:16) และเป็นพระเจ้าผู้ทรงนำอิสราเอลออกมาจากประเทศอียิปต์ (1 โครินธ์ 10:1-4; อพยพ 3:14; ยอห์น 8:58) สิ่งที่พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่กล่าวถึงบทบาทของพระคริสต์ในการสร้างและในการทรงนำการอพยพ ชี้ให้เราเห็นว่าถึงแม้ในสมัยพันธสัญญาเดิม ก็ยังแสดงให้เราเห็นภาพของพระเจ้าพระบิดาโดยทางพระบุตรผู้แทนของพระองค์ “พระเจ้าทรงให้โลกนี้คืนดีกับพระองค์โดย พระคริสต์" (2 โครินธ์ 5:19) พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมบรรยายถึงพระบิดาดังต่อไปนี้

พระเจ้าแห่งพระคุณ ไม่มีมนุษย์คนบาปคนไหนเคยเห็นพระเจ้า (อพยพ 33:20) เราไม่มีรูปภาพว่าพระองค์ทรงมีรูปร่างเป็นอย่างไร พระเจ้าทรงเปิดเผยให้เห็นพระลักษณะอุปนิสัยของพระองค์โดยการกระทำอันเต็มไปด้วยพระคุณเมตตา และโดยอักษรภาพซึ่งพระองค์ทรงประทานต่อหน้าโมเสสว่า “พระยาห์เวห์เสด็จผ่านไปข้างหน้าท่าน ตรัสว่า "พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ เป็นพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยพระกรุณาและพระคุณ พระองค์กริ้วช้า ทรงบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคงและความสัตย์จริง ผู้ทรงสำแดงความรักมั่นคงจนถึงพันๆ ชั่วอายุคน ผู้ประ‍ทานอภัยการล่วงละเมิด การทรยศและบาป แต่จะไม่ทรงละเว้นการลงโทษอย่างแน่นอน และทรงให้โทษบิดาตกทอดไปถึงลูกหลานถึงสามชั่วสี่ชั่วอายุคน" (อพยพ 34:6, 7; ฮีบรู 10:26, 27) ถึงกระนั้นก็ตาม พระเมตตานี้ไม่ใช่การยกโทษโดยไม่ตรวจสอบอย่างรอบคอบ ทว่ากระทำโดยมีหลักการและความยุติธรรมเป็นสิ่งชี้นำ บรรดาผู้ปฏิเสธพระคุณนี้จะต้องได้รับการปรับโทษตามความผิดของเขา
พระเจ้าได้ทรงแสดงพระประสงค์ของพระองค์ว่าทรงต้องการเป็นมิตรกับคนอิสราเอล ประทับอยู่ท่ามกลางเขา พระองค์ทรงตรัสแก่โมเสสว่า “ให้พวกเขาสร้างสถานนมัส‍การสำหรับเรา เพื่อเราจะอยู่ท่ามกลางพวกเขา” (อพยพ 25:8) เพราะนี่คือสถานที่บนโลกที่พระเจ้าทรงประทับอยู่ สถานศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้กลายมาเป็นศูนย์รวมทางศาสนา

พระเจ้าแห่งพันธสัญญา พระเจ้าทรงมุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์อันยั่งยืน พระองค์ทรงทำสัญญาสำคัญกับคนอย่างโนอาห์ (ปฐมกาล 9:1-17) และ อับราฮัม (ปฐมกาล 12:1-3, 7;13:14-17;15:1, 5, 6; 17:1-8; 22:15-18; ดูบทที่ 7 ของหนังสือเล่มนี้) พันธสัญญาเหล่านี้เปิดเผยให้เห็นพระลักษณะของพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงรัก ผู้สนพระทัยในความเป็นไปที่เกิดแก่ประชากรของพระองค์ พระองค์ทรงให้หลักประกันแก่โนอาห์ว่าจะมีฤดูกาลตามปกติ (ปฐมกาล 8:22) และจะไม่มีน้ำท่วมโลกอีก (ปฐมกาล 9:11) ทรงให้พระสัญญาแก่อับราฮัมว่าเขาจะมีลูกหลานจำนวนนับไม่ถ้วน (ปฐมกาล 15:5-7) และจะได้แผ่นดินที่ลูกหลานจะได้พำนักอาศัย (ปฐมกาล 15:18; 17:8)

พระเจ้าผู้ทรงไถ่ ในฐานะพระเจ้าแห่งพระธรรมอพยพ พระองค์ทรงนำชนชาติหนึ่งออกจากการเป็นทาสไปสู่อิสรภาพอย่างอัศจรรย์ การไถ่ให้รอดอันยิ่งใหญ่นี้เป็นฉากหลังของเรื่องราวตลอดทั้งพันธสัญญาเดิมและเป็นตัวอย่างของพระประสงค์ที่จะมาเป็นพระผู้ไถ่ของเราทั้งหลาย พระเจ้าไม่ได้อยู่ห่าง
ไกล ปลีกตัวอย่างต่างหาก ไม่ใส่ใจ แต่ทรงเป็นพระองค์ผู้ทรงเข้ามามีส่วนในการสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราทั้งหลาย
พระธรรมสดุดีประพันธ์จากแรงบันดาลใจที่ได้รับจากการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เขียนด้วยความรักอันล้ำลึก “เมื่อข้าพระองค์มองดูฟ้าสวรรค์อันเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ดวงจันทร์และดวงดาวซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาไว้มนุษย์เป็นผู้ใดเล่าซึ่งพระองค์ทรงระลึกถึงเขา และบุตรของมนุษย์เป็นใครเล่า ซึ่งพระองค์ทรงเยี่ยมเขา” (สดุดี 8:3, 4) “ข้าแต่พระเจ้า พระกำลังของข้าพระองค์ ข้าพระองค์รักพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นพระศิลา ป้อมปราการ และผู้ช่วยกู้ของข้าพระองค์ เป็นพระเจ้าของข้าพระองค์ เป็นพระศิลาซึ่งข้าพระองค์เข้าลี้ภัยอยู่ในพระองค์ เป็นโล่ เป็นพลังแห่งความรอดของข้าพระองค์ เป็นที่กำบังเข้มแข็งของข้าพระองค์” (สดุดี 18:1, 2) "เพราะพระองค์มิได้ทรงดูถูกหรือสะอิดสะเอียน ต่อความทุกข์ยากของผู้ที่ทุกข์ใจ และพระองค์มิได้ทรงซ่อนพระพักตร์จากเขา เมื่อเขาร้องทูล พระองค์ทรงฟัง” (สดุดี 22:24)

พระเจ้าแห่งการลี้ภัย ดาวิดมองดูพระเจ้าว่าทรงเป็นพระองค์ที่เราทั้งหลายสามารถได้รับการลี้ภัย เหมือนกับเมืองลี้ภัยทั้งหกแห่งของประเทศอิสราเอล ซึ่งตั้งไว้เพื่อช่วยให้เหยื่อผู้ทำผิดโดยไม่เจตนาได้เข้าไปหลบภัย ผู้เขียน พระธรรมสดุดีได้นำเอาการ “ลี้ภัย” ที่เคยมีมาก่อนกลับมาให้เห็นอีกครั้ง แสดงถึงภาพของพระคริสต์และพระบิดา พระเจ้าสามพระภาคผู้ทรงเป็นที่ “ลี้ภัย” ของเรา “เพราะพระองค์จะทรงซ่อนข้าพเจ้า ในที่กำบังของพระองค์
ในยามยากลำบาก พระองค์จะปิดข้าพเจ้าไว้ภายใต้ร่มพลับพลาของพระองค์ พระองค์จะทรงตั้งข้าพเจ้าไว้สูงบนศิลา” (สดุดี 27:5) “พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยและเป็นกำลังของ ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นความช่วยเหลือที่พร้อมอยู่ในยามยากลำบาก” (สดุดี 46:1) "ภูเขาอยู่รอบเยรูซาเล็มฉันใด พระเจ้าทรงอยู่รอบประชากรของพระองค์ ตั้งแต่เวลานี้สืบต่อไปเป็นนิตย์ฉันนั้น” (สดุดี 125:2)
ผู้ประพันธ์พระธรรมสดุดีได้แสดงถึงการโหยหาเฝ้ารอพระเจ้าของเขา “กวางกระเสือกกระสนหาลำธาร ที่มีน้ำไหลฉันใด ข้าแต่พระเจ้า จิตวิญญาณของข้าพระองค์ ก็กระเสือกกระสนหาพระองค์ฉันนั้น จิตวิญญาณของข้าพระองค์กระหายหาพระเจ้า หาพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์” (สดุดี 42:1, 2) ดาวิดได้ยืนยันเป็นหลักฐานจากประสบการณ์ชีวิตของตนเองว่า “จงมอบภาระของท่านไว้กับพระเจ้า และพระองค์จะทรงค้ำจุนท่าน พระองค์จะไม่ทรงยอมให้ คนชอบธรรมคลอนแคลนเลย” (สดุดี 55:22) "ประชาชนเอ๋ย จงวางใจในพระองค์ตลอดเวลา จงระบายความในใจของท่านต่อพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของเรา” (สดุดี 62:8) "ทรงเป็นพระเจ้ากอปรด้วยพระกรุณา และพระเมตตา ทรงกริ้วช้า และอุดมด้วยความรักมั่นคงและความสัตย์สุจริต” (สดุดี 86:15)

พระเจ้าผู้ทรงให้อภัย หลังจากพระราชาดาวิดได้ทำบาปด้วยการล่วงประเวณีและฆ่าคน พระองค์ได้วิงวอนด้วยความจริงใจว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงแสดงพระกรุณาต่อข้าพระองค์ตามความรักมั่นคง ของพระองค์ "ขออย่าทรงเหวี่ยงข้าพระองค์ไปเสียจากเบื้อง พระพักตร์พระองค์ และขออย่าทรงนำวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ ไปจากข้าพระองค์" (สดุดี 51:1, 11) พระราชาดาวิดได้รับการปลอบโยนด้วยหลักประกันการอภัยอันน่าอัศจรรย์ของพระเจ้า “เพราะว่าฟ้าสวรรค์สูงเหนือแผ่นดินเท่าใด ความรักมั่นคงของพระองค์ที่มีต่อบรรดาคนที่ เกรงกลัวพระองค์ก็ใหญ่ยิ่งเท่านั้น ตะวันออกไกลจากตะวันตกเท่าใด พระองค์ทรงปลดการละเมิดของเราจากเราไปไกลเท่านั้น บิดาสงสารบุตรของตนฉันใด พระเจ้าทรงสงสารบรรดาคนที่ยำเกรงพระองค์ฉันนั้น เพราะพระองค์ทรงทราบโครงร่างของเรา พระองค์ทรงระลึกว่าเราเป็นแต่ผงคลี" (สดุดี 103:11-14)

พระเจ้าผู้ทรงมีคุณความดี พระเจ้าคือพระองค์ "ผู้ทรงประกอบความยุติธรรม ให้แก่คนที่ถูกบีบบังคับ ผู้ประทานอาหารแก่คนที่หิว พระเจ้าทรงปล่อยผู้ถูกคุมขังให้เป็นอิสระ พระเจ้าทรงเบิกตาของคนตาบอด พระเจ้าทรงยกคนที่ตกต่ำให้ลุกขึ้น พระเจ้าทรงรักคนชอบธรรม พระเจ้าทรงเฝ้าดูคนต่างด้าว พระองค์ทรงชูลูกกำพร้าพ่อและหญิงม่าย แต่พระองค์ทรงพลิกทางของคนอธรรม (สดุดี 146:7-9) ภาพของพระเจ้าที่ปรากฏอยู่ในพระธรรมสดุดีช่างยิ่งใหญ่จริงๆ

พระเจ้าผู้สัตย์จริง ถึงแม้ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแล้วก็ตาม คนอิสราเอลก็ยังหลงเจิ่นไปจากพระองค์เสียเป็นส่วนใหญ่ (เลวีนิติ 26, เฉลยธรรมบัญญัติ 28) ภาพของพระเจ้าที่แสดงออกในความรักต่ออิสราเอล เหมือนสามีรักภรรยาของเขา พระธรรมโฮเชยาบรรยายภาพให้เห็นได้อย่างแหลมคมมากถึงความสัตย์จริงของพระเจ้า เมื่อเผชิญกับความไม่สัตยซื่อและการถูกปฏิเสธที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด การให้อภัยอย่างต่อเนื่องของพระเจ้า เปิดเผยให้เห็นถึงพระอุปนิสัยความเป็นองค์ผู้ทรงรักโดยไม่มีเงื่อนไขของพระองค์

ถึงแม้ว่าพระเจ้าทรงยอมให้คนอิสราเอลได้รับหายนะภัยต่างๆ ที่เกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ของประชาชน เพื่อเป็นสิ่งตีสอนให้หันกลับมาเดินบนหนทางที่ถูกต้อง พระองค์ก็ยังทรงเปิดพระหัตถ์กว้างพร้อมโอบอุ้มพวกเขาด้วยพระเมตตาของพระองค์ พระเจ้าทรงให้หลักประกันว่า “เจ้าผู้ซึ่งเรายุดไว้จากที่สุดปลายแผ่นดินโลก และเรียกมาจากที่ไกลสุดของโลก กล่าวแก่เจ้าว่า “เจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา เราได้เลือกเจ้าและไม่เหวี่ยงเจ้าออกไป” อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับเจ้า อย่าขยาด เพราะเราเป็นพระเจ้าของเจ้า เราจะหนุนกำลังเจ้า เออ เราจะช่วยเจ้า เออ เราจะชูเจ้าด้วยมือขวาอันมีชัยของเรา (อิสยาห์ 41:9, 10) ถึงแม้คนเหล่านั้นไม่สัตย์ซื่อต่อพระเจ้า พระองค์ก็ยังทรงให้คำสัญญาด้วยความรักว่า "แต่ถ้าเขาทั้งหลายสาร‍ภาพความชั่วของเขา และความชั่วของบรรพ‍บุรุษ ซึ่งทำผิดต่อเราด้วยการทร‍ยศของเขาทั้งหลายนั้น และที่ได้ประ‍พฤติขัดแย้งเรา....ถ้าเมื่อนั้นจิตใจที่ดื้อรั้นของพวกเขาถ่อมลงและยอมรับเรื่องความชั่วของพวกเขาแล้ว เราจะระลึกถึงพันธ‍สัญญาของเราซึ่งมีต่อยา‍....ซึ่งมีต่ออิส‍อัค....ต่ออับ‍รา‍ฮัม " (เลวีนิติ 26:40-42 เยเรมีย์ 3:12)
พระเจ้าทรงย้ำเตือนประชากรของพระองค์ทัศนะที่ดีทีจะไถ่พวกเขาว่า “โอ ยาโคบเอ๋ย จงจำสิ่งเหล่านี้ อิสราเอลเอ๋ย เพราะเจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา เราได้ปั้นเจ้า เจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา โอ อิสราเอลเอ๋ย เราจะไม่ลืมเจ้า เราได้ลบล้างการทรยศของเจ้าเสียเหมือนเมฆและลบล้างบาปของเจ้าเหมือนหมอก จงกลับมาหาเรา เพราะเราได้ไถ่เจ้าแล้ว” (อิสยาห์ 44:21, 22) มิน่าเล่าพระองค์จึงสามารถตรัสว่า “มวลมนุษย์ทั่วแผ่นดินโลกเอ๋ย จงหันมาหาเราและรับการช่วยให้รอด เพราะเราเป็นพระเจ้า และไม่มีอื่นใดอีก"
(อิสยาห์ 45:22)

พระเจ้าแห่งความรอดและการตอบแทน พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมได้บรรยายพระลักษณะของพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งการตอบแทน เห็นได้จากผลการทำลายคนอธรรม ผู้เคยประสงค์ร้ายต่อประชากรของพระองค์ โดย “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” หัวข้อหลักที่บรรดาผู้เผยพระวจนะเปิดเผยให้เห็นพระราชกิจของพระเจ้าเพื่อตอบแทนให้แก่ประชากรของพระองค์ในวาระสุดท้าย วันนั้นจะเป็นวันแห่งความรอดแห่งประชากรของ พระเจ้า และเป็นวันแห่งการทำลายคนอธรรม “จงกล่าวกับคนที่มีใจคร้ามกลัวว่า “จงแข็งแรงเถอะ อย่ากลัว ดูเถิด พระเจ้าของท่านทั้งหลายจะเสด็จมาด้วยการแก้แค้นพระองค์จะเสด็จมาและช่วยท่านให้รอด" (Isa. 35:4).

พระเจ้าพระบิดา เมื่อโมเสสกล่าวแก่คนอิสราเอล ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่เขา ผู้เป็นเช่นพระบิดาของเขาทั้งหลาย “พระองค์ไม่ใช่พระบิดา ผู้ทรงสร้างท่าน ผู้ทรงสรรค์ท่าน และสถา‍ปนาท่านไว้หรือ?'" (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:6) พระเจ้าทรงรับเอาคนอิสราเอลเป็นบุตรของพระองค์โดยการไถ่พวกเขา อิสยาห์บันทึกไว้ว่า “ข้าแต่พระเจ้า แต่พระองค์ยังทรงเป็นพระบิดาของข้าพระองค์" (อิสยาห์ 64:8; 63:16) พระเจ้าทรงยืนยันโดยมาลาคีว่า “เราเป็นพระบิดา" (มาลาคี 1:6) ในส่วนอื่นของพระธรรม มาลาคีกล่าวถึงความเป็นพระบิดาจากบทบาทในฐานะพระผู้สร้าง “พระเจ้าองค์เดียวได้ทรงสร้างเรามิใช่หรือ” (มาลาคี 2:10) พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาของเราโดยผ่านการสร้างและการไถ่ นี่ช่างเป็นความจริงอันรุ่งโรจน์

พระเจ้าพระบิดาในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ พระเจ้าแห่งพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมไม่ได้แตกต่างไปจากพระเจ้าในพันธสัญญาใหม่แต่อย่างใด พระเจ้าพระบิดาทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะพระผู้ทรงริเริ่มสิ่งทั้งหลาย เป็นพระบิดาของผู้เชื่อแท้ทั้งหลาย และในลักษณะพิเศษ ทรงเป็นพระบิดาของพระเยซูคริสต์

พระบิดาผู้ทรงเนมิตสร้าง
เปาโลชี้ให้เห็นพระบิดาในพระคัมภีร์พันสัญญาใหม่อย่างชัดเจน พระเจ้า พระบิดาทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะผู้ทรงริเริ่มสร้างสรรพสิ่ง เป็นพระบิดาบรรดาผู้เชื่อแท้ทั้งปวง และอีกฐานะหนึ่งซึ่งพิเศษ ทรงเป็นพระบิดาของ พระเยซูคริสต์

พระบิดาแห่งสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง เปาโลทรงบ่งชี้ว่าพระเจ้าทรงเป็น พระบิดา ทรงแยกพระองค์ให้เห็นว่าทรงแตกต่างไปจากพระเยซูคริสต์ “มี พระเจ้าองค์เดียวคือพระบิดา ทุกสิ่งเกิดมาจากพระองค์......มีพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ทุกสิ่งเกิดมาโดยพระองค์และเราก็เป็นมาโดยพระองค์" (1 โครินธ์ 8:6 ฮีบรู 12:9 ยอห์น 1:17) เขาได้พิสูจน์ว่า “ข้าพเจ้าจึงคุกเข่าต่อพระบิดา (คำว่า บิดา ของทุกตระกูลในสวรรค์ก็ดี บนแผ่นดินโลกก็ดี มาจากคำว่า พระบิดา นี้)" (เอเฟซัส 3:14,15)

พระบิดาของบรรดาผู้เชื่อทั้งหลาย ในสมัยพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ความผูกพันระหว่างบิดาแห่งความเชื่อและบุตรนั้นเกิดขึ้นมิใช่ระหว่างพระบิดากับชนชาติอิสราเอล แต่เป็นความผูกพันระหว่างพระเจ้าและผู้เชื่อแต่ละคน พระเยซูทรงให้คำชี้แนะเพื่อการมีความสัมพันธ์นี้ (มัทธิว 5:45; 6:6-15) ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่บรรดาผู้เชื่อเหล่านั้นได้รับเอาพระเยซูคริสต์ (ยอห์น 1:12,13)
โดยการไถ่ให้รอดนี้ พระคริสต์ได้นำเอาบรรดาผู้เชื่อเข้าไปเป็นบุตรของ พระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นผู้อำนวยให้ความสัมพันธ์นี้ราบรื่น พระคริสต์เสด็จมาเพื่อ “เพื่อจะทรงไถ่คนเหล่านั้นที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อให้เราได้รับฐานะเป็นบุตรและเพราะท่านทั้งหลายเป็นบุตรแล้ว พระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเรา ร้องว่า “อับบา (พ่อ)" (กาลาเทีย 4:5, 6; โรม 8:15, 16)

พระเยซูทรงเปิดเผยพระบิดา พระเยซู พระบุตรของพระเจ้า ทรงให้เห็นภาพของพระเจ้าพระบิดาได้อย่างชัดเจน เมื่อพระองค์ในฐานะเปิดเผยให้เห็นพระเจ้าโดยตัวของพระองค์เอง เมื่อเสด็จมาเกิดมีเนื้อหนังเหมือนมนุษย์ (ยอห์น 1:1, 14) ยอห์นระบุว่า “ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย แต่พระบุตรองค์เดียวผู้สถิตในพระทรวงของพระบิดา ทรงสำแดงพระเจ้าแล้ว" (ยอห์น 1:18) พระเยซูทรงตรัสว่า "'เพราะว่าเราลงมาจากสวรรค์'" (ยอห์น 6:38) "' คนที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา'" (ยอห์น 14:9)การรู้จักพระเยซูก็เท่ากับรู้จัก พระบิดา
จดหมายฝากที่ส่งไปยังพี่น้องฮีบรูได้เน้นถึงความสำคัญของการเปิดเผยพระองค์เอง นานมาแล้วพระเจ้าตรัสกับบรรพบุรุษของเราหลายครั้ง และหลายวิธีทางพวกผู้เผยพระวจนะ แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ตรัสกับเราทางพระบุตร ผู้ที่พระองค์ทรงตั้งให้เป็นทายาทรับสิ่งทั้งปวง พระเจ้าทรงสร้างจักรวาลทางพระบุตร 3พระบุตรทรงเป็นแสงสว่างแห่งพระสิริของพระเจ้า ทรงมีแก่นแท้เดียวกับพระเจ้า" (ฮีบรู 1:1-3)

1. พระเจ้าผู้ทรงประทาน พระเยซูได้ทรงเปิดเผยให้เห็นพระบิดาของ
พระองค์ในฐานะพระเจ้าผู้ทรงประทาน เราทั้งหลายได้เห็นการประทานนั้น
จากการเนรมิตสร้าง ที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม และที่บนภูเขาคาลวารี
พระเจ้าและพระบุตรทรงทำหน้าที่ร่วมกัน พระเจ้าทรงประทานชีวิตถึงแม้ทรงทราบว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความตายของพระบุตรก็ตามที
ที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม การที่พระองค์ทรงประทานพระบุตรก็เท่ากับทรงมอบพระองค์เอง เมื่อพระบุตรของพระองค์เข้ามาในโลกที่สกปรกด้วยความบาปพระบิดาทรงเจ็บปวดอย่างไร ลองจินตนาการถึงความรู้สึกขณะที่ พระบิดาทอดพระเนตรพระบุตรทรงแลกเปลี่ยนความรักและการยกย่องสรรเสริญที่ทูตสวรรค์ถวายกับคนบาปที่เกลียดชังพระองค์ ทรงแลกพระสิริและความงดงามแห่งสวรรค์กับหนทางสู่ความมรณา
แต่ที่ภูเขาคาลวารีได้ให้เราทั้งหลายได้เห็นถึงพระบิดาอย่างชัดเจนที่สุด พระบิดาผู้เป็นพระเจ้าทรงทนทุกข์เจ็บปวดเมื่อถูกแยกออกจากพระบุตรของพระองค์ ทั้งในชีวิตและความตายอย่างแสนสาหัสยิ่งกว่ามนุษย์ผู้ใดเคยประสพ ที่นั่นพระบิดาทรงทนทุกข์อันสนสาหัสที่ไม่มีเคยประสพมาก่อนร่วมกับพระคริสต์ มีคำพยานใดอีกเกี่ยวกับพระบิดาที่ต้องแสดงอีก ไม้กางเขนได้เปิดเผยให้เห็นถึงความจริงเกี่ยวกับพระบิดา ไม่มีสิ่งใดสามารถทำได้อีกแล้ว

2 . พระเจ้าแห่งความรัก คำสอนหลักที่พระเยซูทรงชื่นชอบ คือความรักอันเต็มล้นด้วยพระเมตตาของพระเจ้า ทรงตรัสว่า “จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน เพื่อว่าพวกท่านจะเป็นบุตรของ พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ เพราะว่าพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่วเสมอกัน และให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม” (มัทธิว 5:44, 45) "'แล้วบำเหน็จของท่านทั้งหลายจะมีบริบูรณ์ แล้วท่านจะเป็นบุตรขององค์ผู้สูงสุด เพราะว่าพระองค์ทรงพระกรุณาทั้งต่อคนอกตัญญูและคนชั่ว พวกท่านจงมีใจเมตตากรุณาเหมือนอย่าง พระบิดาของท่านมีพระทัยเมตตากรุณา'" (ลูกา 6:35, 36)
เมื่อทรงคุกเข่าลงและล้างเท้าให้แก่ผู้ทรยศต่อพระองค์ (ยอห์น 13:5, 10-14) พระเยซูได้ทรงเปิดเผยให้เห็นความรักอันเป็นพระลักษณะของ พระบิดา เมื่อเราเห็นพระคริสต์ทรงเลี้ยงอาหารแก่ประชาชนที่หิวกระหาย (มาระโก 6:39-44; 8:1-9) รักษาคนหูหนวก (มาระโก 9:17-29) คนใบ้พูดได้ (มาระโก 7:32-37) เปิดตาแก่คนตาบอด (มาระโก 8:22-26) เรียกคนง่อยให้ลุกขึ้น (ลูกา 5:18-26) รักษาคนโรคเรื้อน (ลูกา 5:12, 13) เรียกคนตายให้ฟื้น (มาระโก 5:35-43; ยอห์น 11:1-45) ให้อภัยแก่คนบาป (ยอห์น 8:3-11) และขับผีออก (มัทธิว 15:22-28; 17:14-21) เราได้เห็นพระบิดาทรงคลุกคลีอยู่กับมนุษย์ นำเอาชีวิตของพระองค์มาสู่เขาเหล่านั้น ปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ ให้ความหวังและชี้เขาไปที่โลกใหม่ที่จะได้รับการสร้างขึ้นใหม่ซึ่งกำลังจะมาถึง พระคริสต์ทรงทราบดีว่าการเปิดเผยให้เห็นถึงความรักอันล้ำค่าของพระบิดา คือกุญแจที่จะนำคนทั้งหลายได้กลับใจเสียใหม่ (โรม 2:4)
คำอุปมาสามเรื่องของพระเยซูได้เปิดเผยให้เห็นถึงความรักห่วงใยของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ผู้หลงหาย (ลูกา 15) อุปมาเรื่องแกะหลงหายสอนให้เห็นถึงความรอดบาปที่ได้มาโดยการริเริ่มของพระเจ้า ไม่ใช่เพราะการที่เราทั้งหลายแสวงหาพระองค์ ในฐานะของผู้เลี้ยงแกะผู้รักลูกแกะของพระองค์ พร้อมเสี่ยงชีวิตเพื่อตัวที่หายไป ยิ่งไปกว่านั้นอีก พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยพระองค์ให้เห็นถึงความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่เกินจะวัดได้ให้คนที่หลงหายได้เห็น คำอุปมานี้ยังมีความสำคัญเกินประมาณ แกะที่หลงหายเปรียบได้กับโลก ซึ่งเป็นเสมือนอะตอมเล็กๆ ท่ามกลางจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ได้กบฏต่อพระองค์ การประทานพระบุตรของพระองค์เป็นของประทานอันล้ำค่า เพื่อนำเอาโลกนี้กลับคืนสู่คอก แสดงให้เห็นถึงโลกที่หลงไปในความบาปของเราว่ามีค่าสำหรับพระองค์ ยิ่งกว่าสิ่งทรงสร้างอื่นๆ ทั้งหมดเพียงใด
คำอุปมาของเหรียญที่หายเน้นให้เห็นว่าพระเจ้าได้ทรงนับสถานะคนบาปเช่นเราทั้งหลายอย่างเราว่ามีคุณค่าสูงส่งเพียงใด คำอุปมาเรื่องบุตรหลงหายแสดงให้เห็นความรักอันใหญ่หลวงของพระบิดา ผู้ทรงยินดีต้อนรับบุตรทั้งหลายที่กลับใจ ถ้าในสวรรค์ต่างชื่นชมยินดีเมื่อมีคนบาปคนหนึ่งกลับใจ (ลูกา 15:7) ลองจินตนาการถึงความชื่นชมยินดีที่จักรวาลจะได้รับเมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราเสด็จกลับมาครั้งที่สองว่าจะมีมากสักเพียงใด
ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงความรักของพระบิดาได้อย่างชัดเจน ในการเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสด็จกลับมาของพระบุตร ในวันที่พระองค์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง บรรดาคนอธรรมจะร้องต่อภูเขาและโขดหินทั้งหลายว่า “จงล้มทับเราเถิด จงซ่อนเราไว้ ให้พ้นจากพระพักตร์ของพระองค์ผู้ประทับอยู่บนพระที่นั่ง และจากพระพิโรธของพระเมษโปดก” (วิวรณ์ 6:16) พระเยซูทรงตรัสว่าว “เพราะว่าเมื่อบุตรมนุษย์จะเสด็จมาด้วยพระรัศมีของพระบิดา พร้อมด้วยบรรดาทูตสวรรค์ของพระองค์” (มัทธิว 16:27) และ "'พวกท่านจะเห็น บุตรมนุษย์ ประทับข้างขวาของผู้ทรงฤทธิ์เดช และเสด็จมาบนเมฆแห่งฟ้าสวรรค์” (มัทธิว 26:64)
พระบิดาทรงเฝ้ารอเพื่อจะมีส่วนร่วมในการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง เมื่อบรรดาคนที่รอดแล้วจะถูกรับไปยังบ้านนิรันดร์ของเขา เมื่อนั้นการที่พระองค์ได้ “ทรงใช้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์เข้ามาในโลก เพื่อเราจะได้ดำรงชีวิตโดยพระบุตร” (1 ยอห์น 4:9) จะได้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้เป็นการสูญเปล่าแต่อย่างใด ความรักที่ไม่อาจหยั่งได้ รักที่ไม่เห็นแก่ตัวเท่านั้นที่จะสามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใด แม้เราทั้งหลายเป็นศัตรูกับพระองค์ “เราได้กลับคืนดีกับพระองค์ โดยที่พระบุตรของพระองค์สิ้นพระชนม์ ยิ่งกว่านั้นอีกเมื่อกลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดโดยพระชนม์ชีพของพระองค์” (โรม 5:10) เช่นนี้แล้ว เราจะไม่ใยดีต่อความรักนี้และไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระบิดาของเราทั้งหลายได้อย่างไร?

ไม่มีความคิดเห็น: