“ที่นั่งพระกรุณา”
หีบพระบัญญัติ หีบแห่งพันธสัญญา
พันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ พระเจ้าทรงทำสัญญาด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พันธสัญญาต่างๆที่พระเจ้าทรงกระทำในสมัยพระคัมภีร์เดิมนั้น เป็นการเตรียมทางไว้สำหรับพันธสัญญาใหม่ที่เยเรมีย์พยากรณ์ไว้ใน (ยรม.31:31-41)
31 "พระเจ้าตรัสว่า ดูเถิด วันเวลาจะมาถึง ซึ่งเราจะทำพันธสัญญา ใหม่กับประชาอิสราเอลและประชายูดาห์
32 ไม่เหมือนกับพันธสัญญาซึ่งเราได้กระทำกับ บรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย เมื่อเราจูงมือเขาเพื่อนำเขาออกมาจากแผ่นดินอียิปต์ เป็นพันธสัญญาของเราซึ่งเขาผิด ถึงแม้ว่าเราได้เป็นสามีของเขา พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ
33 แต่นี่จะเป็นพันธสัญญาซึ่งเราจะกระทำกับ ประชาอิสราเอลภายหลังสมัยนั้น พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ เราจะบรรจุพระธรรมไว้ในเขาทั้งหลาย และเราจะจารึกมันไว้บนดวงใจของเขาทั้งหลาย และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นประชากรของเรา
34 และทุกคนจะไม่สอนเพื่อนบ้านของตน และพี่น้องของตนแต่ละคนอีกว่า 'จงรู้จักพระเจ้า' เพราะเขาทั้งหลายจะรู้จักเราหมดตั้งแต่คน เล็กน้อยที่สุดถึงคนใหญ่โตที่สุด พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ เพราะเราจะให้อภัยบาปชั่วของเขา และจะไม่จดจำบาปของเขา ทั้งหลายอีกต่อไป"
ซิ่งสำเร็จในองค์พระเยซูคริสต์ (มธ.26:28)
28 ด้วยว่านี่เป็นโลหิตของเรา อันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญา ซึ่งต้องหลั่งออกเพื่อยกบาปโทษคนเป็นอันมาก
และ(ฮบ.8:1-13)
8 ด้วยว่าพระเจ้าตรัสติเขาว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ดูเถิด วันหนึ่งข้างหน้าเราจะทำพันธสัญญาใหม่กับชนชาติอิสราเอล และชาติยูดาห์
9 เป็นพันธสัญญาที่ไม่เหมือนกับพันธสัญญา ซึ่งเราได้กระทำกับบรรพบุรุษของเขาทั้งหลายในเมื่อเราจูงมือเขา เพื่อพาเขาออกจากแผ่นดินอียิปต์ เขาเหล่านั้นไม่ได้มั่นอยู่ในพันธสัญญาของเราอีกต่อไปแล้ว เราจึงได้ละเขาไว้ องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสดังนี้แหละ
10 นี่คือพันธสัญญาซึ่งเราจะกระทำกับชนชาติอิสราเอล ภายหลังสมัยนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส เราจะบรรจุพระธรรมของเราไว้ในจิตใจของเขา และเราจะจารึกพระธรรมบัญญัตินั้นไว้ที่ในดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นชนชาติของเรา
11 และเขาจะไม่สอนเพื่อนบ้านและพี่น้องของตนแต่ละคนว่า 'จงรู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้า' เพราะเขาทุกคนจะรู้จักเรา ตั้งแต่คนต่ำต้อยที่สุดจนถึงคนใหญ่โตที่สุด
12 เพราะเราจะกรุณาต่อการอธรรมของเขา และจะไม่จดจำบาปของเขาไว้เลย"
13 เมื่อพระองค์ตรัสถึง พันธสัญญาใหม่ พระองค์ทรงถือว่าพันธสัญญาเดิมนั้นพ้นสมัยไปแล้ว สิ่งที่พ้นสมัยและเก่าไปแล้วนั้นก็จะเสื่อมสูญไป
คือมนุษย์จะได้รับการชำระบาปโดยพระโลหิตของพระองค์ เพื่อเขาจะเริ่มชีวิตใหม่ที่บริสุทธิ์ตามพันธสัญญา พันธสัญญาใหม่นี้เป็นพันธสัญญานิรันดร์ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ซึ่งพระเจ้าทรงสถาปนาขึ้นโดยทางพระเยซูผู้เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (ฮบ.9:15)
15 เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงเป็นผู้กลางแห่งพันธสัญญาใหม่ เพื่อให้คนทั้งหลายที่พระองค์ทรงเรียกมา ได้รับมรดกนิรันดร์ตามพระสัญญา เพราะการพลีชีวิตนั้นไถ่คนให้พ้นจากบาปอันเกิดใต้ พันธสัญญาเดิมแล้ว
หีบพันธสัญญาเป็นเครื่องหมายแห่ง ความรัก หรือ พระพร ของพระเจ้าที่มอบให้สำหรับประชากรของพระองค์
พระบัญญัติ(ในพระคัมภีร์เดิม) เป็นมาตรฐานทางศีลธรรมที่พระเจ้าทรงให้ชนชาติอิสราเอล แบ่งออกเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสังคมและกฎหมายเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา พระเจ้าประทานธรรมบัญญัตินี้เพื่อให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามมาตรฐานอันบริสุทธิ์ของพระเจ้า(อพย.19:4-6)
4 พวกเจ้าได้เห็นกิจการซึ่งเรากระทำกับชาวอียิปต์แล้ว และที่เราเทิดชูเจ้าขึ้น ดุจดังด้วยปีกนกอินทรี เพื่อนำเจ้ามาถึงเรา
5 เหตุฉะนี้ถ้าเจ้าฟังเสียงเรา และรักษาพันธสัญญาของเราไว้ เจ้าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเราที่เราเลือกสรรจากท่ามกลาง ชนชาติทั้งปวง เพราะแผ่นดินทั้งสิ้นเป็นของเรา
6 เจ้าทั้งหลายจะเป็นอาณาจักรปุโรหิต และเป็นชนชาติบริสุทธิ์สำหรับเรา นี่เป็นถ้อยคำที่เจ้าต้องบอกให้คนอิสราเอลฟัง"
"พระบัญญัติของพระเจ้า คือ ความรักของพระเจ้าที่มีต่อประชากรของพระองค์"
สำหรับชีวิตของผู้ที่ติดตามพระเยซูต้องถือบัญญัติของพระเจ้าเสมอ นั่นคือ ชีวิตคริสเตียนต้องยึดถือความรักของพระเจ้าที่ปรากฎอยู่ในพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าอยู่เสมอ
และพระบัญญัติข้อที่สำคัญที่สุดที่เป็นความรักของพระเจ้าที่ให้เรายึดถือนั้นมีเพียง 2 ข้อ ก็คือ 37 พระเยซูทรงตอบเขาว่า "จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า
38 นั่นแหละเป็นพระบัญญัติข้อใหญ่ และข้อต้น
39 ข้อที่สองก็เหมือนกัน คือ จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง
40 ธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะทั้งสิ้น ก็ขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้" มธ.22:37-40
และเหนือหีบพระบัญญัติต้องปกคลุมไว้ด้วย พระที่นั่งกรุณา
คงจะถึงเวลาที่จะต้องไตร่ตรองถึงพระกรุณาของพระเจ้าอย่างจริงจัง
กระโจมที่ประทับและเครื่องประดับ หีบพันธสัญญา (อพย 25:10-22)
10ท่านจะต้องสร้างหีบไม้กระถินเทศใบหนึ่ง ยาวสองศอกครึ่ง กว้างหนึ่งศอกครึ่ง และสูงหนึ่งศอกครึ่ง 11ท่านจะต้องบุภายในและหุ้มภายนอกด้วยทองคำบริสุทธิ์ และทำขอบทองคำไว้รอบหีบ 12ท่านจะต้องทำห่วงทองคำสี่ห่วงติดไว้ที่ขาหีบทั้งสี่ด้าน ด้านละสองห่วง 13ท่านจะต้องทำคานด้วยไม้กระถินเทศแล้วหุ้มทองคำ 14ท่านจะต้องสอดคานนี้ในห่วงที่อยู่ข้างหีบทั้งสองด้าน สำหรับหาม 15คานนั้นจะต้องทิ้งไว้ในห่วงของหีบ อย่าได้ถอดออกเลย 16ท่านจะต้องนำแผ่นศิลาจารึก สองแผ่นที่เราจะให้ท่านใส่ไว้ในหีบนั้น
17'ท่านจะต้องทำฝาหีบh (ที่นั่งพระกรุณา) ด้วยทองคำบริสุทธิ์ ยาวสองศอกครึ่ง กว้างหนึ่งศอกครึ่ง 18ท่านจะต้องใช้ฆ้อนเคาะทองคำให้เป็นรูปเครูบi สองตนตั้งไว้ที่ปลายฝาหีบทั้งสองด้าน 19ท่านจะต้องตีรูปเครูบตั้งไว้ที่ปลายสุดของหีบ ด้านละตน ให้ติดเป็นเนื้อเดียวกันกับฝาหีบทั้งสองด้าน 20เครูบนั้นจะกางปีกปกเหนือฝาหีบ และหันหน้าเข้าหากัน ต่างมองดูฝาหีบ 21ท่านจะต้องวางฝานี้ปิดหีบ ที่บรรจุแผ่นศิลาจารึกที่เราจะให้ท่าน 22เราจะมาพบท่านที่นั่น และจะพูดกับท่านจากฝาหีบที่บรรจุแผ่นศิลาจารึก ระหว่างเครูบทั้งสองตนที่อยู่บนหีบ เราจะให้คำสั่งแก่ท่านเพื่อประกาศให้ชาวอิสราเอลทราบ
ขอให้ดูตัวบทภาษาอังกฤษ ซึ่งตรงกับภาษาฮีบรูมากกว่า จะพบว่า คำว่า “ฝาหีบ” นี้ภาษาต้นฉบับใช้คำว่า “ที่นั่งพระกรุณา”
10 "They shall make an ark of acacia wood; two cubits and a half shall be its length, a cubit and a half its breadth, and a cubit and a half its height. 11 And you shall overlay it with pure gold, within and without shall you overlay it, and you shall make upon it a molding of gold round about. 12 And you shall cast four rings of gold for it and put them on its four feet, two rings on the one side of it, and two rings on the other side of it. 13 You shall make poles of acacia wood, and overlay them with gold. 14 And you shall put the poles into the rings on the sides of the ark, to carry the ark by them. 15 The poles shall remain in the rings of the ark; they shall not be taken from it. 16 And you shall put into the ark the testimony which I shall give you. 17 Then you shall make a mercy seat of pure gold; two cubits and a half shall be its length, and a cubit and a half its breadth. 18 And you shall make two cherubim of gold; of hammered work shall you make them, on the two ends of the mercy seat. 19 Make one cherub on the one end, and one cherub on the other end; of one piece with the mercy seat shall you make the cherubim on its two ends. 20 The cherubim shall spread out their wings above, overshadowing the mercy seat with their wings, their faces one to another; toward the mercy seat shall the faces of the cherubim be. 21 And you shall put the mercy seat on the top of the ark; and in the ark you shall put the testimony that I shall give you. 22 There I will meet with you, and from above the mercy seat, from between the two cherubim that are upon the ark of the testimony, I will speak with you of all that I will give you in commandment for the people of Israel.
สังเกต
ดูคำแปลฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อเทียบให้เห็นความหมายของที่นั่งพระกรุณา ซึ่งในตัวบทภาษาไทยคำแปลดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจน
คำว่า “the Mercy seat” ปรากฏ 7 ครั้งในตัวบทตั้งแต่ข้อที่ 17-22 เป็นที่น่าสังเกตว่าคำนี้คือแก่นของตัวบทในตอนนี้เมื่อกล่าวถึงพระกรุณาของพระเจ้า โดยเฉพาะต่อประชากรของพระองค์
ความหมายของคำว่า “ที่นั่งพระกรุณา” (ฝาหีบ) ในต้นฉบับภาษาฮีบรูมีความหมายสำคัญ หมายถึง การยกโทษ การให้อภัย
ประเด็นสำคัญ
ข้อ 10-15 สังเกตว่าไม้ที่ใช้ทำหีบพระบัญญัตินั้นเป็นชนิดเดียวกับไม้ที่ใช้ทำเต็นท์นัดพบและที่สำคัญคือต้องหุ้มด้วยทองคำ คำสั่งที่ละเอียดนี้เป็นการทำงานของผู้รับใช้ของพระเจ้า โดยให้ภาพที่บรรยายรายละเอียดตามแบบแผนการบันทึก
ทำไมคำสั่งของพระเจ้าเรื่องหีบพระบัญญัติจึงต้องให้รายละเอียด และต้องชัดเจนเช่นนี้?
เห็นได้ชัดเจนว่า สาระสำคัญทั้งหมดเน้นที่คำสั่งของพระยาห์เวห์ต่อประชากรของพระเจ้า เน้นที่ “การเชื่อฟัง” เป็นสำคัญ
หมายความว่า จำเป็นที่จะต้องทำตามที่พระเจ้า พระยาห์เวห์ทรงสั่งทุกประการ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของการรักษา “พระบัญญัติ” หรือ “หีบพระบัญญัติ หรือหีบพันธสัญญา” หรือจะเรียกว่า “คลังแห่งพระพร”
หีบพระบัญญัติ
หีบพันธสัญญา “the Ark of the Covenant”
หีบหรือคลังแห่งพระพร
ห่วงสี่ห่วงที่เป็นทองคำและคานหามไม้หุ้มทองเพื่อชี้ให้เห็นว่า การแบกหีบพระบัญญัตินี้ต้องไม่ถูกสัมผัสด้วยมือของมนุษย์ ความประเสริฐ ความล้ำค่าแห่งพระบัญญัติ หรือพันธสัญญา หรือ พระพรของพระเจ้า ไม้ชั้นดี “กระถินเทศ” ที่ทำนั้นต้อง “หุ้มด้วยทองคำ” โดยเน้นว่านี่คือ “การประทับอยู่ของพระยาห์เวห์ ความล้ำเลิศแห่งพระบัญญัติ พันธสัญญาหรือพระพร” ชี้ให้เห็นถึงเรื่อง “ควาศักดิ์สิทธิ์”
“คานหาม” ต้องไม่ถอดจากห่วงทองคำ เป็นเครื่องหมายชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องหามหีบนี้ตลอดเวลา หรือพร้อมเสมอที่จะต้องถือพระบัญญัติของพระเจ้าอย่างจริงจัง ในใจความที่ว่า “ไปไหนไปด้วย...”
ข้อสังเกตคือหลักการสำคัญที่ว่า พระบัญญัติของพระเจ้านั้น หมายถึง การประทับอยู่ของพระเจ้า และจำเป็นที่จะต้องเคียงคู่กับการเดินทางของประชากรเสมอ
กล่าวได้ว่า แม้อยู่ในเต็นท์นัดพบก็ตามคานหามนั้นต้องสอดอยู่เสมอ ต้องไม่เอาออก เพราะว่าจำเป็นที่จะต้องถือบัญญัติของพระเจ้าตลอดเวลา
พระบัญญัติและประชากรนั้น ขาดจากกันไม่ได้ กล่าวได้ว่า “ถ้าหากขาดพระบัญญัติ... ก็ขาดพันธสัญญา... ขาดพันสัญญา... ก็ขาดพระพรของพระเจ้า”
ข้อสังเกต “ความหมายของ ‘ความจำเป็น’ ที่จะต้องสอดคานหามนี้ไว้ตลอดเวลา”
ข้อ 17-22 เรื่องสำคัญมากคือ “ที่นั่งพระกรุณา” Seat of Mercy (ฝาหีบ) ฝาหีบมีขนาดตามคำสั่งเท่ากับตัวหีบพันธสัญญา พระเจ้าสั่งให้ทำฝาหีบหรือที่นั่งพระกรุณาอย่างชัดเจน โดยมีคความหมายสำคัญคือ ณ ฝาหีบนี้เป็นที่ประกาศถึงพระกรุณาของพระเจ้า โดยอาศัยรูปเครูบทั้งสองบางคำแปลใช้คำว่า “ฝาหีบ” แต่ถ้าพิจารณาจะพบว่าต้นฉบับนั้นเน้นว่าเป็น “ที่นั่งพระกรุณา” (the Mercy seat) และข้อสังเกตที่สำคัญที่สุดคือ คำนี้ปรากฏ 7 ครั้งในตัวบทตอนนี้ ทำให้เห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้งถึงเรื่อง“พระกรุณา” ของพระเจ้า
การมีหีบพระบัญญัติ การแบกพระบัญญัติ หรือการถือพันธสัญญา การเป็นคู่สัญญาของพระเจ้า ทั้งหมดนี้มีความหมายสำคัญที่สุด คือ
การถือไว้ตลอดเวลาซึ่ง “พระกรุณา” ของพระเจ้า
จะมีพระพรได้ จำเป็นต้องมีพันธสัญญา และพันธสัญญาจะครบครันได้ ต้องถือพันธสัญญา คือการถือพระบัญญัติ แต่เหนืออื่นใด คือ “พระกรุณาของพระเจ้า”
“เครูบ” ซึ่งเป็นเนื้อเดียวกับฝาหีบ เครูบนี้โดยปกติจะเกี่ยวข้องกับที่ประทับของพระยาห์เวห์ ในลักษณะที่เครูบเป็นผู้เฝ้ารักษาหรือผู้แบกรับพระบัลลังก์ของพระยาห์เวห์ เราจึงสังเกตเห็นว่า พระเจ้าตรัสกับโมเสสจากตรงกลางของเครูบทั้งสอง ประดุจตรัสจากพระที่นั่งของพระเจ้า
สังเกตว่าปีกของเครูบและดวงตาของเครูบนั้นอยู่ที่ใด?? “เครูบนั้นจะกางปีกปกเหนือฝาหีบ และหันหน้าเข้าหากัน ต่างมองดูฝาหีบ”
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเราเห็นว่า เครูบทั้งสองหันหน้าเข้าหากัน และที่สำคัญ ปีกของทั้งสองป้องหน้าของตนโดยที่ตาของทั้งสองต่างมองดูที่นั่งพระกรุณา หรือมองดูที่ฝาหีบนี้
การกางปีกเหนือที่นั่งพระกรุณานี้ ทำให้เห็นว่า ความสนใจมุ่งจับจ้องอยู่ที่ที่นั่งพระกรุณาเท่านั้น หรือ มุ่งพิศเพ่งเฉพาะแต่ที่พระกรุณาของพระเจ้า หรือที่พระบัญญัติของพระเจ้าเท่านั้น
“พระบัญญัติ คือเครื่องมือประกาศพันธสัญญา และพระกรุณา”
ข้อ 21 ท่านจะต้องวางฝานี้ปิดหีบ ที่บรรจุแผ่นศิลาจารึกที่เราจะให้ท่าน ที่นั่งพระกรุณานั้นอยู่เหนือพระบัญญัติสิบประการที่พระเจ้าประทานให้ที่ซีนัย แม้บัญญัติสำคัญที่สุด แต่เหนือพระบัญญัตินั้น ปกคลุมด้วยที่นั่งพระกรุณาของพระเจ้า
หมายความว่า พระบัญญัติของพระเจ้าคือสิ่งที่ต้องเก็บรักษาอย่างยิ่งยวด เป็นศูนย์กลางของการเพ่งมอง ซึ่งหมายถึงการเป็นศูนย์กลางของชีวิตของประชากรของพระเจ้า
ข้อ 22 พระเจ้าพบกับประชากรของพระองค์ โดยตรัสจากที่นั่งพระกรุณา ดูเหมือนว่า “พระกรุณาของพระเจ้า” คือศูนย์กลางแห่งการประทับอยู่ของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์
ดังนั้น ภาพของที่นั่งพระกรุณาและหีบพระบัญญัติคือ การประทับอยู่ของพระเจ้า
พระกรุณาของพระเจ้า
ที่พระเจ้าตรัสกับประชากรของพระองค์ หรือที่พระเจ้าจะประทานพระกรุณาต่อประชากรของพระองค์ จึงจำเป็นที่จะต้องเพ่งมองพระบัญญัติของพระเจ้าตลอดเวลา และหีบพระบัญญัตินี้คือเครื่องหมายแห่งการประทับและพระประสงค์ของพระเจ้า
สิ่งที่ต้องไตร่ตรอง คือ หีบพระบัญญัตินี้ ตั้งอยู่ที่ใจกลางของเต็นท์นัดพบ เราต้องไม่ลืมว่าในเต็นท์ที่พระเจ้าประทับในอดีตกาล หรือในหัวใจของพระวิหารของชาวอิสราเอล ณ วิสุทธิสถาน (Holy of Holies) ที่เขาเชื่อว่า เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็นที่ประทับอยู่ของ
พระเจ้า
ณ ที่นั่งพระกรุณา ระหว่างเครูบทั้งสอง ที่จ้องมองพระบัญญัตินั้น คือ ที่พิเศษแห่งการประทับอยู่ของพระเจ้า (par excellence of the Presence of Yahweh in the context of Israel’s worship) นี่คือ ศูนย์กลางแห่งการอธิษฐานและการถวายบูชาของอิสราเอล นี่คือศูนย์กลางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของอิสราเอล
การไตร่ตรอง
“พระบัญญัติ คือ เครื่องหมายแห่งการประทับอยู่ของพระเจ้าและพระพรของพระองค์ที่มีต่อประชากรเสมอ
พระกรุณา the Seat of Mercy”
ท่านกำลังฟื้นฟูจิตใจในวันนี้ ท่านคิดว่าความมั่นคงในกระแสเรียกของพระเจ้า และเราที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ความซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาใช่หรือไม่
เรื่องพระบัญญัติ เป็นอย่างไร?
พระบัญญัติของพระเจ้า ท่านนับถือ ใส่ใจ และรักษาไว้อย่างไร
เก็บไว้ด้วยความรักดุจพระบัญญัติอยู่ในกล่องไม้ล้ำค่า หุ้มด้วยทองคำบริสุทธ์ มีคานหามไว้พร้อมและเคลื่อนย้ายไปกับท่าน และผู้รับใช้พระเจ้าอยู่เสมอใช่ไหม?
คงเป็นเวลาดีที่เราจะทบทวนกันเรื่องความรักซื่อตรงต่อการถือวินัย ชีวิตคริสเตียน คำปฏิญาณของเรา เจตนารมณ์ของเรากับพระเจ้า
สังเกตว่า ประชากรของพระเจ้าเป็นประชากรศักดิ์สิทธิ์ได้ก็เพราะพระเจ้าพระผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดประทับท่ามกลางพวกเขาตลอดเวลา โดยมีเครื่องหมายสำคัญคือหีบพระบัญญัติ
การเคลื่อนที่ การอพยพเดินไปของประชากรของพระเจ้านั้นจะต้องมีพระบัญญัติของพระเจ้าอยู่ในใจกลางของชุมชนศักดิ์สิทธิ์เสมอ ดังนั้นสำหรับบรรดาผู้รับใช้พระเจ้า ท่านคิดว่าการเป็นประชากรของพระเจ้ามีความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตส่วนตัว และคริสตจักร พันธกิจ และทุกมิติชีวิต สามารถเป็นไปได้ในการเป็นประชากรศักดิ์สิทธิ์และเป็นคู่แห่งพันธสัญญาของพระเจ้าใช่หรือไม่?
พระพร พระพรที่ได้รับตลอดมานั้น เป็นพระคุณแห่งความซื่อสัตย์ของท่านต่อ
พระเจ้า หรือเป็นเพราะความสามารถของท่านเองแต่ละคน
เครูบสองตนมีสายตาจับจ้องอยู่ที่พระบัญญัติของพระเจ้า ท่านมีสายตาจดจ่อ มีสายใจยึดมั่นอยู่ที่พระบัญญัติของพระเจ้าเสมอใช่ไหม? (สดด 1 ผู้ชอบธรรมคือผู้ที่ใส่ใจในพระธรรมตลอดเวลา)
ท่านถือพระบัญญัติของพระเจ้า และพระบัญญัติของพระเจ้าในท่านเป็นเช่นใด? ( พระบัญญัติคือ บัญญัติแห่งความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อท่าน)
คานหามพระบัญญัติต้องสอดไว้ในห่วงตลอดเวลา เป็นเครื่องหมายว่า พระบัญญัตินั้นต้องแบกหรือ “ถือ” ไว้เสมอ ท่านต้องไตร่ตรองจริงๆ สักหน่อยว่าตลอดเวลาที่ผ่านมากนั้น พระบัญญัติพระเจ้า คือสิ่งที่ท่านถือกันตลอดมาใช่ไหม
ไม่มีหีบพระบัญญัติ ก็ไม่มีพันธสัญญา และเมื่อไม่มีพันธสัญญา ก็ไม่มีพระพรของพระยาห์เวห์
เราจะเป็นผู้รับใช้พระเจ้า โดยขาดพระพรไม่ได้ใช่ไหม
เราจะเป็นผู้รับใช้พระเจ้าโดยขาดพระกรุณาของพระเจ้าไม่ได้ใช่ไหม)
เรามีชีวิตใหม่โดยขาดพันธสัญญาไม่ได้ใช่ไหม
ดังนั้นเวลานี้ น่าจะเป็นเวลา รักพระบัญญัติ รักพันธสัญญา เพื่อจะกล่าวได้ว่า เรารักพระกรุณาของพระเจ้า เรารักและซื่อสัตย์ดังเช่นผู้อัครฑูตเปาโล
เคยสังเกตไหมว่า คำว่า “หีบพระบัญญัติ” นั้นต่อมาด้วยคำว่า “ประตูสวรรค์” ท่านคิดว่าท่านสามารถที่จะเป็น ดัง “ประตูสวรรค์” สำหรับทุกคนได้ทั้งนี้เพราะเหตุที่ท่านทุกคนเป็น “หีบพระบัญญัติ” ของพระเจ้า คือซื่อสัตย์ต่อพระบัญญัติ(ความรัก)ของพระเจ้าจะดีไหม
ในเวลานี้ขอให้ท่านนำ“พระบัญญัติ(ความรัก)” ใส่กล่องไม้สักชั้นดีที่สุด และหุ้มด้วยทองคำ มีคานหามตลอดเวลา ประดิษฐานไว้ ที่หัวใจของท่านจะดีไหม เพื่อเตือนใจว่า “จะไม่มีพระพร ถ้าไม่มีความสัตย์ซื่อต่อพระบัญญัติ(ความรัก) และต่อพันธสัญญา”
ประเด็นสำคัญที่สุด คือ อย่าลืมว่า เหนือหีบพระบัญญัตินั้น ต้องมี “ที่นั่งพระกรุณา” ของพระเจ้า เพราะพระองค์ประทับและสดับฟังจากหีบพระบัญญัตินั้นเอง
น่าจะมีการไตร่ตรองอย่างจริงจังเช่นกันใช่ไหมว่า “พระบัญญัติ” ข้อใด ที่ท่านสัตย์ซื่อที่สุด หรืออ่อนแอที่สุด
ทั้งนี้ เพื่อการฉลองและการกลับใจอย่างแท้จริง เพื่อพระพรจะไม่ขาดไปจากเยรูซาแล็ม คทาจะไม่ขาดไปจากดาวิด และเพื่อ “พระพร” จะไม่ขาดไปจากท่าน
h “ฝาหีบ” –รากคำภาษาฮีบรูแปลว่า “ปิด” หรือ “ปกคลุม” จึงมีความหมายถึงการลบล้างหรืออภัยโทษบาปในพิธีขออภัยโทษจากพระเจ้าด้วย เมื่อมหาปุโรหิตใช้เลือดสัตว์ประพรมฝาหีบนี้ ในพิธีกรรมสมัยหลังเนรเทศเมื่อไม่มีหีบพันธสัญญาแล้วชาวอิสราเอล ยังทำรูปจำลองของฝาหีบ เพื่อใช้ในพิธีขออภัยโทษจากพระเจ้าต่อไป (ลนต 16:15) และ 1 พศด 28:11 เรียกฝาหีบนี้ว่า “พระที่นั่งแห่งพระกรุณา” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในอภิสุทธิสถานของพระวิหาร พระยาห์เวห์ทรงสำแดงพระองค์และตรัสกับโมเสสจากฝาหีบนี้ (ข้อ 22; ลนต 16:2; กดว 7:89)
พระที่นั่งกรุณานี้เป็นสัญลักษณ์ของการสถิตอยู่ของพระเจ้า และพระกรุณาของพระเจ้าที่มีต่อประชากรของพระองค์คือ การใช้เลือดแกะในการลบมลทินบาปนั้นจะถูกมาประพรมที่พระที่นั่งปีละครั้งโดยมหาปุโรหิตในวันลบบาป (ลนต.16:1-5;ฮบ.9:5)ในสมัยพระคัมภีร์เดิม แต่ในพระคัมภีร์ใหม่นั้น พระเจ้าสำแดงพระกรุณาของพระองค์โดยการส่งพระบุตร (พระเยซูคริสต์) มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งแสดงถึงความรักเมตตาของพระองค์ที่ทรงอภัยโทษบาปให้มนุษย์ผ่านทางพระบุตรของพระองค์ โดยพระเยซูคริสต์เป็นพระบุตรของพระองค์สิ้นพระชนม์โดยการถูกตรึงกางเขนเพื่อพระโลหิตของพระองค์จะเป็นเครื่องบูชาลบมิลบาปของมนุษย์ ซึ่งพระโลหิตพระบุตรของพระเจ้าที่ไหลออกมาจากร่างกายของพระองค์นั้นก็คือ เลือดที่ใช้ลบบาปแทนเลือดของแกะ โดยพระโลหิตของพระองค์เองนั้นเป็นเครื่องบูชาลบบาปให้มนุษย์ แสดงให้เห็นว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมษโปดกของพระเจ้า ในพระคัมภีร์เดิมลูกแกะในหนังสือ(อิสยาห์ 53:7)
7 ท่านถูกบีบบังคับและท่านถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก เหมือนลูกแกะที่ถูกนำไปฆ่า และเหมือนแกะที่เป็นใบ้อยู่หน้าผู้ตัดขนของมันฉันใด ท่านก็ไม่ปริปากของท่านเลยฉันนั้น
ความหมายสำคัญของคำว่า "พระเมษโปดกของพระเจ้า" คือพระเยซูคริสต์เสด็จมาในโลกเพื่อรับโทษบาปแทนมนุษย์ทุกคน(ยน.1:29)
29 วันรุ่งขึ้นยอห์นเห็นพระเยซูกำลังเสด็จมาทางท่าน ท่านจึงกล่าวว่า "จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ทรงรับความผิดบาปของโลกไปเสีย ,(ยน.1:36)
36 และท่านมองดูพระเยซูขณะที่พระองค์ทรงดำเนินและกล่าวว่า "จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า"
เหมือนดังลูกแกะที่ถูกนำไปถวายเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปตามบทบัญญัติว่าด้วยการถวายบูชาของชาวยิว
พระเมษโปดกของพระเจ้า แปลว่า ลูกแกะของพระเจ้า (พระบุตรของพระเจ้านั่นเอง)พระเยซูคือเครื่องบูชาลบมลทินบาปแทนแกะในพระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม เพื่อนำเลือดมาประพรมพระที่นั่งเหนือหีบพันธสัญญา มหาปุโรหิตในพระคัมภีร์เดิมต้องนำเลือดแกะมาประพรมที่พระที่นั่งปีละครั้งเพื่อถวายเป็นเครื่องบูชาการลบมลทินบาปของมนุษย์ มหาปุโรหิต คือ คนกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ในพระคัมภีร์เดิม
แต่ในพันธสัญญาใหม่พระเยซูเป็นมหาปุโรหิตของพระเจ้าด้วย (ฮบ.7:17)
17 เพราะมีพยานกล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค
สดด.110:4)
4 พระเจ้าทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่เปลี่ยนพระทัยของพระองค์ "เจ้าเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามอย่างของเมลคีเซเดค"
(ฮบ.7:21-28)
21 บรรดาปุโรหิตเผ่าเลวีนั้นไม่มีการกล่าวปฏิญาณเมื่อเขาเข้ารับตำแหน่ง แต่ส่วนปุโรหิตใหม่นี้ มีคำกล่าวปฏิญาณว่า พระเจ้าทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่ทรงเปลี่ยนพระทัย ท่านเป็นปุโรหิตตลอดกาล
22 ข้อนี้กระทำให้พันธสัญญาที่พระเยซูทรงรับประกันนั้น ดีกว่าพันธสัญญาเก่าสักเพียงใด
23 ปุโรหิตเผ่าเลวีนั้นมีการสืบตำแหน่งกันหลายคน เพราะความตายขัดขวางไม่ให้เขาปฏิบัติงานได้ตลอดไป
24 แต่พระเยซูนี้ ทรงดำรงตำแหน่งปุโรหิตตลอดกาล เพราะพระองค์ทรงดำรงชีวิตอยู่เป็นนิตย์
25 ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงสามารถเป็นนิตย์ที่จะช่วยคนทั้งปวงที่ได้เข้ามาถึงพระเจ้าโดยทางพระองค์นั้นให้ได้รับความรอด เพราะว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่เป็นนิตย์ เพื่อช่วยทูลขอพระกรุณาให้คนเหล่านั้น
26 มหาปุโรหิตเช่นนี้แหละที่เหมาะสำหรับเรา คือเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากอุบายไร้มลทิน แยกจากคนบาปทั้งปวง ประทับอยู่สูงกว่าฟ้าสวรรค์
27 พระองค์ไม่ต้องทรงนำเครื่องบูชามาทุกวันๆ ดังเช่นมหาปุโรหิตอื่นๆ ผู้ซึ่งตอนแรกถวายสำหรับความผิดของตัวเอง แล้วจึงถวายสำหรับความผิดของประชาชน ส่วนพระเยซูได้ทรงถวายเครื่องบูชาเพียงครั้งเดียว คือเมื่อพระองค์ได้ทรงถวายพระองค์เองต่อพระเจ้า
28 แท้จริงมหาปุโรหิตที่ได้รับการแต่งตั้งตามธรรมบัญญัตินั้น ก็เป็นมนุษย์ที่อ่อนแอ แต่พระปฏิญาณของพระเจ้าซึ่งได้ตรัสภายหลังธรรมบัญญัตินั้น ได้ทรงแต่งตั้งพระบุตรขึ้น ผู้ซึ่งถึงความสำเร็จเป็นนิตย์
พระเจ้าสำแดงพระกรุณาต่อมนุษย์ด้วยความรักของพระองค์ โดยให้พระบุตรของพระองค์มาเป็นพระเมษโปดกโดยการถูกตรึงกางเขนให้สิ้นชนม์ แทนแกะที่ถูกฆ่าเพื่อนำเลือดมาเป็นเครื่องบูชาลบบาปของมนุษย์ และการเป็นมหาปุโรหิตของพระเจ้าคือการทำหน้าที่นำพระโลหิตของพระองค์เองเป็นเครื่องบูชาลบมลทินบาปของของมนุษย์
พระที่นั่งกรุณานี้ในพระคัมภีร์ใหม่ใช้คำนี้เปรียบถึงการที่คริสตชนมาเข้าเฝ้าพระเจ้าโดยผ่านทางพระเยซูคริสต์ (ฮบ.4:14-16)
14 เหตุฉะนั้น เมื่อเรามีมหาปุโรหิตผู้เป็นใหญ่ที่ผ่านฟ้าสวรรค์เข้าไปถึงพระเจ้าแล้ว คือพระเยซูพระบุตรของพระเจ้า ขอให้เราทั้งหลายมั่นคงในพระศาสนาของเรา
15 เพราะว่า เรามิได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ได้ทรงถูกทดลองใจเหมือนอย่างเราทุกประการ ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป
16 ฉะนั้นขอให้เราทั้งหลาย จงมีใจกล้าเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณ เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา และจะได้รับพระคุณที่จะช่วยเราในขณะที่ต้องการ
i เครูบ ตรงกับคำภาษาบาบิโลนว่า karibu หมายถึงจิตที่มีรูปร่างครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ที่เฝ้าประตูวิหารและราชวัง พระคัมภีร์และภาพวาดในตะวันออกกลางโบราณ แสดงลักษณะของ “เครูบ” ว่า มีหน้ามนุษย์ มีร่างสิงโต มีปีก “เครูบ” นี้ ไม่มีบทบาทใดในศาสนพิธีของชาวอิสราเอลในสมัยเดินทางในถิ่นทุรกันดาร และเมื่อเข้ายึดครองแผ่นดินคานาอัน จนถึงสมัยที่หีบพันธสัญญาประดิษฐานอยู่ที่ชิโลห์ เพราะที่นั่นพระยาห์เวห์ได้รับสมญานามว่า 'พระองค์ผู้ประทับเหนือเครูบ' (1 ซมอ 4:4; 2 ซมอ 6:2 ดู 2 พกษ 19:15; สดด 80:1; 99:1) และยังกล่าวถึงพระองค์ว่า 'ทรง(ขี่)เครูบ” (2ซมอ 22:11 ดู สดด 18:10) ในพระวิหารของกษัตริย์ซาโลมอน รูปเครูบเป็นกรอบของหีบพันธสัญญาและสูญหายไปพร้อมกับหีบ ในพระวิหารหลังยุคที่ตกเป็นเชลยชาวอิสราเอลทำรูปเครูบเล็กๆ สองตนติดไว้ที่พระที่นั่งแห่งพระกรุณา (ดูเชิงอรรถ h) ใน อสค 1 และ 10 “เครูบ” เป็นสัตว์เทียมราชรถของพระยาห์เวห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น