นี่คือแคชของ Google สำหรับ http://www.bible.org/foreign/thai/jonas/Jonas-01.htm ซึ่งเป็นภาพรวมของหน้าเว็บที่แสดงเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2008 10:24:22 GMT หน้าเว็บปัจจุบัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างนั้น เรียนรู้เพิ่มเติม
รุ่นที่แสดงข้อความเท่านั้นคำค้นหาเหล่านี้ถูกเน้น: สำนึก บาป กลับ ใจ กับ พระเจ้า
โยนาห์, ผู้เผยพระวจนะที่ไม่มีใครเหมือน
บทที่1:
ภาพพจน์ที่พังทลาย
(โยนาห์ 1)
บทนำ
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา, ผมและภรรยาได้มีโอกาสที่คงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก คือได้รับเชิญ ไปที่บ้านของผู้นำคริสเตียนที่เราให้ความเคารพนับถือและชื่นชมมากทั้งสามีและภรรยา. เรารู้สึกปลาบปลื้มที่จะได้รู้จักบุคคลทั้งสอง รวมทั้งจะได้รู้ว่า พวกเขาตัวตนจริงๆแล้ว เป็นอย่างไร. ผมนึกวาดภาพด้วยซ้ำว่าผู้เป็นภรรยาควรมีท่าทีอย่างไร. ผมมองเห็นภาพ เธอว่าคงเป็นสุภาพสตรีืี่ที่สงบเรียบร้อย, มีท่าทีถ่อมใจ, เป็นผู้ที่ยกย่อง และประทับใจ ในความรู้ความสามารถของสามี รวมทั้งเป็นแบบฉบับที่ดีในการดำเนินชีวิตคริสเตียน.
หัวข้อที่เราคุยกันไม่มีเรื่องฝ่ายจิตวิญญาณเลย—เรากำลังคุยกันเกี่ยวกับหนังทีวีเรื่อง "เจ้าพ่อดัลลัส" —แต่นั่นก็ยังไม่ทำให้ผมประหลาดใจเท่าไร. จนกระทั่งสามีออก ความเห็นเรื่องคาวบอย, ซึ่งผมก็คิดว่าภรรยาคงจะเห็นด้วย, หรืออย่างน้อยพยักหน้า คล้อยตาม. แต่เธอกลับพูดโพล่งออกมาว่า, "นี่เดี๋ยวก่อน พ่อเจ้าประคุณ.…" ผมแทบตก จากเก้าอี้. ภาพพจน์ของภรรยาผู้นำคริสเตียนพังทลายป่นปี้ภายในพริบตา!!
เรามักจินตนาการวาดภาพต่างๆไว้ในใจ, และหลายครั้งภาพเหล่านี้ก็พังทลายลงมาได้ เหมือนกัน. โยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะที่ไม่เหมือนกับที่เราวาดภาพไว้ว่าผู้เผยพระวจนะ ทั้งหลายของพระเจ้าควรเป็น เขาแตกต่างจากผู้เผยพระวจนะคนอื่นๆในพระคัมภีร์1 อย่าง สิ้นเชิง พระธรรมโยนาห์เขียนขึ้นมาเพื่อลบภาพพจน์ของบรรดาผู้เผยพระวจนะท่านอื่นๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเป็นผู้เผยพระวจนะแบบโยนาห์ซะด้วย.
โยนาห์นั้นโดดเด่นในหลายๆทาง. แรกสุด, โยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะเพราะตัวตน ของท่านเอง มากกว่าสิ่งที่ท่านพูด. ถ้าเรานำเนื้อหาในพระธรรมโยนาห์ตามที่บันทึก ไว้ในพระคัมภีร์, เราแทบจะมองหาย่อหน้าในคำพยากรณ์ของท่านไม่เจอ. (จะค่อนข้าง หนักไปในเชิงประท้วงมากกว่าเป็นคำพยากรณ์ทั่วไป ดูแล้วหดหู่มากกว่าจะเป็นคำทำ นาย) โยนาห์เป็นคนที่พูดน้อยมาก, แต่ผลงาน การกระทำ และคำพยากรณ์นั้นมีค่า เป็นอย่างยิ่ง.
พระธรรมโฮเชยาห์ใช้นางโกเมอร์แทนภาพอิสราเอล, และโฮเชยาห์ สามี เป็นเหมือน ภาพสะท้อนของพระเจ้า. โยเอลใช้ฝูงตั๊กแตนเพื่อทำนายถึงกองทัพศัตรูของอิสราเอล ที่กำลังมาโจมตี เข้ามากลืนกินอิสราเอลเช่นเดียวกับการการพิพากษา ดังนั้น ทำนอง เดียวกัน โยนาห์ก็เปรียบเป็นภาพเหมือนของอิสราเอล. เมื่อโยนาห์ได้รับคำสั่งที่ ชัดเจนจากพระเจ้า ท่านไม่ทำตาม เหมือนเช่นคนอิสราเอลคือ มีนิสัยและลักษณะ ของความดื้อดึง กบฎ และไม่เชื่อฟังคำสั่งที่พระเจ้าที่ตรัสสั่งมาทางโมเสส.
โดยทั่วไปคำพยากรณ์นั้นเป็นมากกว่าการไปประกาศตามธรรมดา; เป็นเรื่องของความ อัศจรรย์ พระธรรมโยนาห์เป็นเรื่องที่แสดงถึงสภาพจิตวิญญาณอันน่าเศร้าของชนชาติ อิสราเอล เป็น สถานะการณ์ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพของการไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือการ เรียกร้องทวงเอาจากพระเจ้าที่ชัดเจน, เป็นสถานะการณ์ซึ่งสมควรได้รับการตีสอน เป็นอย่างยิ่ง.
อย่างที่สอง, โยนาห์ เป็นผู้เผยพระวจนะคนเดียวที่ถูกบันทึกว่า "วิ่งหนีพระเจ้า". ท่านไม่ได้เป็นที่รู้จักเพราะเคร่งศาสนา, แต่รู้จักเพราะความไม่เอาไหน. โยนาห์, เป็นคน หัวรั้น และไม่เชื่อฟัง, ความแข็งกระด้างภายในใจของท่าน เป็นเสมือนภาพการกบฎของ ชนชาติอิสราเอล. พระเจ้าเคยตรัสกับโมเสสเมื่อหลายร้อยปีก่อนว่า, "เราเห็นประชากร นี้แล้ว นี่แหละเขาเป็นชนชาติหัวแข็ง" (อพยพ. 32:9).
อย่างที่สาม, โยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะที่ไม่เหมือนใคร เป็นคนที่เอาแต่ใจ ตัวเองฝ่ายเดียว ตามที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ เราไม่เคยเห็นมีการการกลับใจ ของท่าน หรือเป็นท่านผู้ที่ "ชื่นชมยินดีในความรอด" เราเคยเห็นความล้มเหลว ของผู้คนมากมายในพระคัมภีร์เดิม แต่ในที่สุดบุคคลเหล่านี้ก็ มาถึงจุดที่เขากลับใจ และ คืนดีกับองค์พระผู้เป็นเจ้า กษัตริย์ดาวิดทำบาปที่ใหญ่หลวง แต่แล้วท่านก็ได้กลับใจ อับราฮัม ยาโคบ และเอลียาห์เคยผ่านความล้มเหลวมาแล้วทั้งนั้น แต่พวกเขาก็เติบโต เข้มแข็งขึ้นในความเชื่อ และการเชื่อฟัง สิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับโยนาห์ ถ้าไม่ใช่โยนาห์ เป็นผู้เขียนพระธรรมเล่มนี้เอง เราอาจพบหลักฐานอื่นๆ สักเล็กน้อยว่าท่านได้กลับใจ
ถึงตอนนี้ ผมยังคงต้องพูดว่าไม่เห็นการกลับใจของโยนาห์ในหนังสือเล่มสั้นๆเล่ม นี้เลย. ตามปกติิคนเราชอบมีความคิดโน้มนำไปว่าธรรมิกชนในพระคัมภีร์เดิมนั้น ต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง มีสาเหตุที่ถูกต้อง— นับเป็นการเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงที่เรา เห็นได้จากพระธรรมโยนาห์ บรรดาผู้ที่ค้นคว้าเรื่องราวของ โยนาห์มักคาดหวังที่จะ เห็นถึงเรื่องการกลับใจปรากฎอยู่ที่หนึ่งที่ใดในหนังสือ บางคน คาดว่าจะพบตั้งแต่ บทแรกเลยทีเดียว ขอพูดอย่างตรงไปตรงมา ผมเองยังไม่เห็นว่ามีการกลับใจตรงไหน และนี่เป็นเหตุให้พระธรรมเล่มนี้โดดเด่นออกมา . ถ้าเราไม่มัวแต่หาข้อแก้ตัวให้กับ โยนาห์ เราก็จะเห็นว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มุ่งหวังให้ผู้อ่านรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนต่างชาติ (เช่นคนเดินเรือในบทที่ 1, ชาวนีนะเวห์ในบทที่ 3 และ 4) มากกว่า เห็นใจผู้เผย พระวจนะหัวรั้นผู้นี้.
ผมคิดว่าโยนาห์, ในทุกๆบทของหนังสือเล่มนี้, คือตัวแทนของจิตใจที่แข็งกระด้าง จิต วิญญาณที่ไม่ยอมกลับใจของคนอิสราเอล. เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้ทำให้เรา รู้สึกอบอุ่น รู้สึกชื่นชม แต่จะค่อนข้างรู้สึกอึดอัดใจ พระธรรมโยนาห์จบลงอย่างไม่มี คำตอบใดๆสำหรับความบาปของโยนาห์ เช่นเดียวกับที่พระคัมภีร์เดิมจบลงอย่างไม่มี คำตอบสำหรับความบาปของคนอิสราเอล มีเพียงความหวังในการรอคอยการเสด็จมา ของพระเยซูคริสต์เท่านั้นที่สามารถให้ความหวัง ปลอบประโลม รู้สึกได้รับการปลด ปล่อยและหมดห่วง ที่พระเจ้าต้องการให้เราสัมผัสได้ถึงประสพการณ์หลังจากการกลับ ใจและมีการคืนดี
เกี่ยวกับผู้เผยพระวจนะโยนาห์
นอกจากพระธรรมโยนาห์แล้วมีการกล่าวถึงโยนาห์น้อยมากในพระธรรมเล่มอื่นๆ. ใน 2 พงษ์กษัตริย์ 14:25, มีการพูดถึงคำทำนายของโยนาห์ว่า จะมีการขยายเขตแดนทาง ตอนใต้ของอิสราเอลในช่วงการปกครองของกษัตริย์เยโรโบอัมผู้ชั่วร้าย. เราน่าจะสรุป ได้ว่าโยนาห์ผู้นี้น่าจะเป็นโยนาห์เดียวกับพระธรรมโยนาห์ เพราะมีการพูดถึงคนทั้ง สองว่า "ผู้เป็นบุตรอามิททัย"2 (2 พงษ์กษัตริย์ 14:25; โยนาห์ 1:1). คำพยากรณ์ที่โยนาห์บอกกับเยโรโบอัม มีข้อมูลสำคัญบางประการที่ทำให้เราได้รู้ พื้นฐานประกอบความเข้าใจในพระธรรมเล่มนี้ เพราะมีกล่าวไว้ว่า :
ในปีที่สิบห้าแห่งรัชกาลอามาซิยาห์โอรสของโยอาช พระราชาแห่ง ยูดาห์, เยโรโบอัมโอรสของเยโฮอาชแห่งอิสราเอลได้เริ่มครอบครอง ในสะมา เรีย และทรงครอบครองอยู่สี่สิบเอ็ดปี. และพระองค์ทรงกระ ทำสิ่งที่ชั่วร้ายในสายพระเนตรพระเจ้า; พระองค์มิได้ทรงพรากจากบาป ทั้งสิ้นของเยโรโบอัมบุตรเนบัท, ซึ่งพระองค์ทรงกระทำให้อิสราเอล กระทำ ด้วย. พระองค์ทรงตีเอาดินแดนอิสราเอลคืนมาตั้งแต่ทาง เข้าเมืองฮามัทใกลไปจนถึงทะเลแห่งอาราบาห์ตามพระวจนะ ของพระ เยโฮวาห์, พระเจ้าแห่งอิสราเอล, ซึ่งพระองค์ตรัสโดยผู้ รับใช้ของพระองค์ คือโยนาห์ผู้เป็นบุตรอามิททัยผู้เผยพระวจนะ ผู้มาจากกัทเฮเฟอร์. เพราะพระเจ้าทอดพระเนตรเห็นว่าความทุกข์ ใจของอิสราเอลนั้นขมขื่นนัก; เพราะไม่มีผู้ใดเหลือไม่ว่าทาสหรือไท, และไม่มีผู้ใดช่วยอิสราเอล. พระเจ้ามิได้ตรัสว่าจะทรงลบนามอิสราเอล เสียจากใต้ฟ้าสวรรค์, แต่พระองค์ทรงช่วยเขาโดยพระหัตถ์ของเยโร โบอัมโอรสของเยโฮอาช (2 พงษ์กษัตริย์ 14:23-27).
ดังนั้นเราจึงรู้ว่าโยนาห์เป็นผู้เผยพระวจนะของอาณาจักรฝ่ายเหนือ-อิสราเอล สมัยหลังเอลียาห์ และเอลีชา มีโฮเชยาและอาโมสร่วมสมัย ตอนนั้น นีนะเวห์ เมืองหลวงของอัสซีเรียได้เริ่มขยายอำนาจออกมาทางด้านตะวันออก แต่เป็นได้ไม่ นานอำนาจก็เสื่อมถอย ปล่อยให้อิสราเอล ภายใต้การปกครองของ เยโรโบอัม, ได้โอกาสขยายดินแดนออกไปแทน พระวจนะคำด้านบนกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ความรุ่งเรืองของอิสราเอลในช่วงเวลานี้เป็นเพราะพระเมตตาของพระเจ้า และ ความรักที่มีต่อประชากรของพระองค์ ผู้ซึ่งถึงแม้ชอบกบฎอย่างใหญ่หลวง. ไม่ใช่เพราะคุณความดีของชนชาตินี้, หรือความสามารถของผู้นำ, ซึ่งมองดูเหมือน พระเจ้าทรงอวยพระพร. ทำนองเดียวกันงานประกาศของโยนาห์ในนีนะเวห์เป็นดัง พระคุณที่พระเจ้าเทให้ เหมือนที่พระเจ้าประทานให้กับอิสราเอล - ที่แตกต่างคือ, อิสราเอลไม่ได้กลับใจจากความชั่วร้าย แต่ก็ยังได้รับพระพรจากพระเจ้า ในขนะที่ชาว นีนะเวห์กลับใจอย่างแท้จริงจากความบาป ยิ่งทำให้เห็นพระคุณอันท่วมท้นที่มีต่อชาว อิสราเอลมากมายกว่าชาวนีนะเวห์ตามที่พระเจ้าให้สัญญากับคนบาปที่กลับใจ (เยเรมีห์. 18:7-8).
ความมั่งคั่งของอิสราเอลอยู่ได้ไม่นาน. อาโมส, ผู้เผยพระวจนะในสมัยเดียวกัน, กล่าว เตือนถึงวันที่พระเจ้าจะทรงพิพากษาอิสราเอล. เขากล่าวโทษอิสราเอลถึงความชั่วร้าย การข่มเหงผู้ยากไร้ และการละเมิดต่อความยุติธรรม (5:11-13). แต่ตลอดเวลาคน อิสราเอลก็ยังดำเนินอยู่ในความบาปแห่งการกราบไหว้รูปเคารพ, และพระเจ้าตรัสว่า,
"เราเกลียดชัง, เราดูหมิ่นบรรดาวันเทศกาลของเจ้า, และไม่ชอบในการ ประชุมตามเทศกาลของเจ้าเลย. แม้ว่าเจ้าถวายเครื่องเผาบูชาและ ธัญญบูชาแก่เรา, เราก็ไม่ยอมรับสิ่งเหล่านั้น; และศานติบูชาด้วยสัตว์ อ้วนพีของเจ้านั้นเราจะไม่มองดู. จงนำเสียงเพลงของเจ้าไปเสียจาก เรา; เราจะไม่ฟังเสียงพิณใหญ่ของเจ้า. แต่จงให้ความยุติธรรมหลั่ง ไหลลงอย่างน้ำ และให้ความชอบธรรมเป็นอย่างลำธารที่ไหลอยู่เป็น นิตย์" (อาโมส 5:21-24).
เพราะความบาปของอิสราเอล, พระเจ้าสัญญาว่าจะมีการพิพากษา:
"เพราะฉะนั้น, เราจะนำเจ้าให้ไปเป็นเชลย ณ ที่เลยเมืองดามัสกัสไป," พระเยโฮวาห์, ซึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าจอมโยธาตรัสดังนี้แหละ (อาโมส 5:27).
ในขนะที่คำเตือนของอาโมสนั้นสมเหตุสมผล, เพียงแต่กล่าวถึงอนาคตของอิสราเอล ที่จะถูกเนรเทศ, โฮเชยาเจาะจงพูดว่าอัสซีเรียจะเป็นผู้เข้ามายึดเอาอิสราเอล:
เขาจะไม่กลับไปยังแผ่นดินอียิปต์หรือ; และอัสซีเรียจะเป็นกษัตริย์ของ เขา, เพราะเขาปฎิเสธไม่ยอมกลับไปหาเรา. ดาบจะรุกรานบรรดาหัว เมืองของเขา, ทำลายดาลประตูของเขาเสีย และผลาญเขาเสียเพราะ แผนการของเขา (โฮเชยา 11:5-6).
นักวิชาการบางคนรู้สึกทำใจลำบากที่จะ "ยอมรับ" เรื่องอันแสนมหัศจรรย์ของหนังสือ เล่มสั้นๆนื้พอๆกับเรื่องที่ผู้เผยพระวจนะถูกปลากินเข้าไปได้ ตัวผมเองจะไม่ใช้เวลา มากในการพยายามพิสูจน์เรื่องอัศจรรย์นี้ เนื่องด้วยเป็นเรื่องของความเชื่อล้วนๆ เพราะว่าพระเจ้าผู้สร้างจักรวาล คงไม่มีปัญหาใดในการทำอัศจรรย์ตามที่บันทึกอยู่ใน หนังสือ. แต่จากที่ได้ศึกษามา เราเห็นชัดเจนว่าอัศจรรย์ที่ยากที่สุดคือ การเปลี่ยน ใจที่แข็งกระด้างของผู้เผยพระวจนะผู้นี้ให้อ่อนลง แต่สิ่งที่เราควรรู้คือ องค์พระผู้เป็น เจ้าทรงเข้าใจเนื้อหาของเรื่องเป็นอย่างดี (มัทธิว 12:39-41), สิ่งที่เราต้องทำคือ เดินตามพระองค์ด้วยการเชื่อฟัง
ภาพรวมของพระธรรมโยนาห์
พระธรรมโยนาห์แบ่งออกเป็นสี่บทเมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษ. แต่ละบทประกอบ ด้วยเนื้อหาดังนี้:
บทที่ 1 โยนาห์หลบหนีพระเจ้า
บทที่ 2 โยนาห์อธิษฐานโมทนาพระคุณ
บทที่ 3 นีนะเวห์กลับใจ
บทที่ 4 โยนาห์ไม่พอใจ
โยนาห์หลบหนีพระเจ้า
(1:1-3)
1 พระวจนะของพระเจ้ามาถึงโยนาห์ บุตรอามิททัยว่า, 2 "จงลุกขึ้นไป ยังนีนะเวห์นครใหญ่ และร้องกล่าวโทษชาวเมืองนั้น เหตุความชั่วของ เขาทั้งหลายได้ขึ้นมาถึงเราแล้ว." 3 แต่โยนาห์ได้ลุกขึ้นหนีไปยังเมือง ทารชิชจากพระพักตร์พระเจ้า. ท่านได้ลงไปยังเมืองยัฟฟา, และพบ กำปั่นลำหนึ่งกำลังไปเมืองทารชิช, ดังนั้นท่านจึงชำระค่าโดยสาร และ ขึ้นเรือเดินทางร่วมกับเขาทั้งหลายไปยังเมืองทารชิช ให้พ้นจากพระ พักตร์พระเจ้า.
โยนาห์, ผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า, ได้รับเลือกให้ทำงานสำคัญถวาย: "จงลุกขึ้นไป ยังนีนะเวห์ นครใหญ่, และร้องกล่าวโทษเมืองนั้น, เหตุความชั่วของเขาทั้งหลายได้ขึ้น มาถึงเราแล้ว." คำสั่งของพระเจ้านั้นชัดเจนยิ่ง. โยนาห์ต้องไปนีนะเวห์, เมืองที่นิมโรด เป็นผู้สร้างขึ้น (ปฐมกาล 10:11). ที่นีนะเวห์ถูกเรียกว่า"นครใหญ่" นั้นไม่ต้องสงสัยเลย ว่าขนาดและอิทธิพลของเมืองจะใหญ่ปานใด. พวกเราที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆอย่าง ดัลลัส, มลรัฐเท็กซัสคงนึกภาพ "เมืองใหญ่"ออก. และความบาปที่นั่นก็ "ใหญ่," ตาม ไปด้วย.3 โยนาห์ได้รับคำสั่งให้ไปประนามความบาปของเมืองนี้, เพราะใหญ่หลวงนัก จน"ขึ้นไปถึง" พระเจ้า, และเวลาแห่งการพิพากษากำลังใกล้เข้ามา.
แต่, โยนาห์กลับหลบหนีไป, ลงเรือมุ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม:
"3 แต่โยนาห์ได้ลุกขึ้นหนีไปยังเมือง ทารชิชจากพระพักตร์พระเจ้า. ท่านได้ลงไปยังเมืองยัฟฟา, และพบกำปั่นลำหนึ่งกำลังไปเมืองทารชิช, ดังนั้นท่านจึงชำระค่าโดยสาร และขึ้นเรือเดินทางร่วมกับเขา ทั้งหลายไปยังเมีองทารชิช ให้พ้นจากพระพักตร์พระเจ้า". (ข้อ 3)
เมืองนีนะเวห์ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทกริส, ประมาณ 500 ไมล์ใกลจากทางตะวันออกเฉียง เหนือของอิสราเอล, แต่โยนาห์ไปทางทิศตะวันตก. จุดหมายปลายทางคือทารชิช, ซึ่ง ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศสเปน.4 ข้อความที่บันทึกว่าโยนาห์หนี "ให้พ้น พระพักตร์พระเจ้า", เป็นข้อความที่พูดซ้ำกันถึงสองครั้งในข้อ 3 . ผมไม่เข้าใจว่าเขา คิดว่าเขาจะหนีพระเจ้าพ้น, หรือเป็นเพียงคำพูดที่ตอกย้ำให้แน่ใจว่าโยนาห์.5 ต้องการ "ละทิ้ง" หน้าที่ในฐานะผู้เผยพระวจนะ. เขากำลังสละตำแหน่ง, จะไม่มีคำพยากรณ์ จากพระเจ้าผ่านเขาต่อไป ในขนะที่พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพกำลังเสด็จไปที่นีนะเวห์, โยนาห์กลับไม่ไป, ซึ่งหมายความว่าเขาไม่มีโอกาสที่จะทำงานครั้งนี้ถวายพระองค์.
เรือ, ชาวเรือ, พายุ, และคนบาป
(1:4-9)
4 แต่พระเจ้าทรงขับกระแสลมใหญ่ขึ้นเหนือทะเล จึงเกิดพายุใหญ่ใน ทะเลนั้น จนน่ากลัวกำปั่นจะอัปปาง. 5 แล้วบรรดาลูกเรือก็กลัว, ต่างก็ ร้องขอต่อพระของตน, และเขาโยนสินค้าในกำปั่นลงในทะเล เพื่อให้ กำปั่นเบาขึ้น แต่โยนาห์เข้าไปข้างในเรือ นอนลงและหลับสนิท. 6 นาย เรือจึงมาหาท่านและกล่าวแก่ท่านว่า, "เจ้าคนขี้เซาเอ๋ยอย่างไรกันนี่ ลุกขึ้นซิ จงร้องขอต่อพระเจ้าของเจ้า ชะรอยพระเจ้านั้นจะทรงระลึก ถึงพวกเราบ้างจะได้ไม่พินาศ." 7 เขาทั้งหลายก็ชักชวนกันว่า, "มา เถอะให้เราจับฉลากกัน เพื่อเราจะทราบว่า ใครเป็นต้นเหตุแห่งภัยซึ่ง เกิดขึ้นแก่เรานี้." ดังนั้นเขาก็จับฉลาก ฉลากนั้นก็ตกแก่โยนาห์. 8 เขาจึงพูดกับโยนาห์ว่า, "จงบอกเรามาเถิดว่า! ภัยซึ่งเกิดขึ้นแก่เรานี้ใคร เป็นต้นเหตุ ? เจ้าหากินทางใหน? และเจ้ามาจากใหน ประเทศของเจ้า ชื่ออะไร ? เจ้าเป็นคนชาติใหน?" 9 และท่านจึงตอบเขาว่า, "ข้าพเจ้า เป็นคนฮีบรู, และข้าพเจ้ายำเกรงพระเยโฮวาห์ พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ ผู้ทรงสร้างทะเลและแผ่นดินแห้ง."
พระเจ้าทรงขับกระแสลมใหญ่ในเส้นทางที่โยนาห์ไป, กระแสลมรุนแรงชนิดที่ทำ ให้ชาวเรือผู้ช่ำชองเกิดความกลัว เมื่อเรือใกล้จะอัปปางลง. ลูกเรือเริ่มโยนสินค้า ลงทะเล, เพื่อพยายามช่วยทั้งชีวิตตนเองและเรือไม่ให้ล่ม. ในขณะเดียวกันชาวเรือ แต่ละคนก็สวดอ้อนวอนขอพระของตนให้ช่วย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกชาวเรือนี้ต้อง นมัสการพระต่างๆที่พวกเขาคิดว่ามีอิทธิพลเหนือน่านน้ำที่เขากำลังล่องเรืออยู่
อันที่จริง "สินค้า" ที่พวกเขาควรจะต้องโยนทิ้้งเพื่อช่วยไม่ให้เรือจมนั้นอยู่ที่ใต้ท้องเรือ ! ในขณะที่ชาวเรือใกล้เสียสติ พยายามช่วยกันประคับประคองเรือและสวดอ้อนวอน แต่ โยนาห์กลับนอนหลับสนิทอยู่ใต้ท้องเรือ.6 กัปตันของเรือต่างชาติลำนี้รู้สึกโมโหที่เห็น โยนาห์นอนหลับ ในขณะที่ลูกเรือคนอื่นๆพยายามสวดอ้อนวอนกันอย่างสุดกำลัง. ถึงแม้ โยนาห์ไม่ต้องช่วยโยนสินค้าทิ้ง แต่เขาถูกขอร้องให้ช่วยสวดวิงวอน .7 ท่านคงพอนึก ภาพออกว่า กัปตันคงกำลังอารมณ์พลุ่งสุดขีด ขณะที่ออกคำสั่งให้ผู้เผยพระวจนะของ องค์พระเจ้าเที่ยงแท้พระองค์เดียวช่วยวิงวอน. ลองสังเกตุดูจะเห็นว่าไม่มีการบันทึกว่า โยนาห์ได้อธิษฐานวิงวอน. ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ถ้าคุณคือโยนาห์ผู้ดื้อรั้นเป็นที่สุด และไม่ยอมกลับใจ, คุณจะไปพูดวิงวอนกับพระเจ้าว่าอย่างไรดี ?
ชาวเรือเห็นเรื่องพายุนี้เป็นเรื่องไม่ปกติธรรมดา. เขาวิงวอนพระของเขาให้ช่วย และเมื่อไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น, พวกเขาเริ่มหาพระอื่นมาทดแทน, แต่เมื่อคำวิงวอน ไม่ได้ผล พวกเขาก็เริ่มสรุปสาเหตุว่า ที่คำวิงวอนที่ไม่ได้รับคำตอบนั้น น่าจะมาจาก ความบาปบางประการที่เป็นสาเหตุทำให้พวกพระองค์ใดองค์หนึ่งไม่พอใจ, : "และเขาทั้งหลายก็ชักชวนกันว่า, ‘มาเถอะให้เราจับฉลากกัน เพื่อเราจะทราบว่า ใครเป็นต้นเหตุแห่งภัยซึ่งเกิดขึ้นแก่เรานี้.’ ดังนั้นเขาก็จับฉลาก ฉลากนั้นก็ตก แก่โยนาห์ " (ข้อ 7).
เรื่องที่น่าอัศจรรย์คือพวกชาวเรือไม้ได้จับโยนาห์ลงทะเลทันทีที่ฉลากตกกับท่าน . เรากำลังพูดกันถึงว่าเรือใกล้จะอัปปาง และลมพายุก็รุนแรงขึ้นทุกที. ถึงแม้ภัยอันตราย ใกล้เข้ามาทุกที ชาวเรือก็ยังอุตส่าห์ใช้เวลาสอบสวนโยนาห์ . เขาจึงพูดกับโยนาห์ว่า, "จงบอกเรามาเถิดว่า! ภัยซึ่งเกิดขึ้นแก่เรานี้ใคร เป็นต้นเหตุ ? เจ้าหากินทางใหน? และเจ้ามาจากใหน ประเทศของเจ้าชื่ออะไร ? เจ้าเป็นคนชาติใหน?" (ข้อ. 8).
ผมอดวาดภาพไม่ได้ว่าพวกชาวเรือกำลังยืนล้อมโยนาห์ และแต่ละคนยิงคำถาม เหล่านี้ขึ้นมาพร้อมๆกัน. หูของโนาห์คงอื้ออึงไปด้วยคำถาม. ลองมาดูเรื่องที่เล่า ในบทที่ 1 พวกชาวเรือนั้นเป็นฝ่ายพูด ในขณะที่โยนาห์แทบไม่ได้ พูดเลย ท่านตอบ คำถามนิดเดียว ท่านปิดปากแน่น. เป็นเหมือนเด็กๆที่ถูกพ่อแม่จับได้คาหนังคาเขา ขณะกำลังทำผิด และตอบคำถามแบบเหมือนจะเป็นคนใบ้ บางคนเวลาทำผิดแล้วถูก จับได้ ก็จะพูดอ้างอิงมากจนเวียนหัว แต่มีหลายคนเป็นเหมือนโยนาห์ คือพูดให้น้อย ที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะพวกที่ตั้งใจว่าจะหาทางทำผิดต่อ.
คำตอบห้วนๆของโยนาห์ (ตามที่มีการบันทึกไว้) คือ, "ข้าพเจ้าเป็นคน ฮีบรู8และข้าพเจ้ายำเกรงพระเยโฮวาห์ พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ 9 ผู้ทรง สร้างทะเลและแผ่นดินแห้ง." (โยนาห์ 1:9).
พอได้ยินประโยคนี้ ทุกอย่างแจ่มชัดขึ้นมาในมโนภาพของชาวเรือ : โยนาห์เป็นผู้เผย พระวจนะชาวฮีบรู ผู้กำลังวิ่งหนีพระเจ้า. ต้องเป็นโยนาห์แน่นอนที่เป็นสาเหตุแห่งลม พายุ. ความบาปของโยนาห์เกือบทำให้คนทั้งลำเรือต้องจบชีวิตลง.
โยนาห์ถูกโยนลงทะเล
(1:10-15)
10 คนทั้งปวงก็กลัวยิ่งนัก จึงถามเขาว่า, "ท่านกระทำอะไรเช่นนี้หนอ?" เพราะคนเหล่านั้นทราบแล้วว่า ท่านหลบหนีจากพระพักตร์พระเจ้า เพราะท่านบอกกับเขาเช่นนั้น. 11 เขาทั้งหลายจึงกล่าวแก่ท่านว่า, "เราควรจะทำอย่างไรแก่ท่าน? เพื่อทะเลจะได้สงบลงเพื่อเรา"— เพราะทะเลยิ่งกำเริบมากขึ้นทุกที. 12 ท่านจึงตอบเขาทั้งหลายว่า "จงจับตัวข้าพเจ้าโยนลงไปในทะเลก็แล้วกัน. ทะเลก็จะสงบลงเพื่อ ท่าน, เพราะ ข้าพเจ้าทราบอยู่ว่าที่พายุใหญ่เกิดขึ้นแก่ท่านเช่นนี้ ก็ เนื่องจากตัวข้าพเจ้าเอง" 13 ถึงกระนั้นก็ดีพวกลูกเรือก็ช่วยกันตีกรร เชียงอย่างแข็งแรงเพื่อจะนำเรือกลับเข้าฝั่ง แต่ไม่ได้ เพราะทะเลยิ่ง กำเริบมากขึ้นต้านเขาไว้. 14 เพราะฉะนั้น เขาจึงร้องทูลต่อพระเจ้าว่า, "ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายขอวิงวอนต่อพระองค์ ขออย่าให้ พวกข้าพระองค์พินาศ เพราะชีวิตของชายผู้นี้เลย ขออย่าให้โทษของ การทำให้โลหิตที่ไร้ความผิดตกมาเหนือข้าพระองค์์ ข้าแต่พระเจ้า เพราะว่าพระองค์ได้ทรงกระทำสิ่งที่พระองค์พอพระทัย ." 15 เขาจึงจับ โยนาห์ทิ้งลงไปในทะเล, ความปั่นป่วนในทะเลก็สงบลง.
ปฎิกิริยาของชาวเรือนั้นเหลือเชื่อจริงๆ. พวกเขานึกไม่ถึงว่าโยนาห์จะดื้อดึงหัวแข็งต่อ พระเจ้าได้ขนาดนี้ . เมื่อเขาถามว่า "ท่านกระทำอะไรเช่นนี้หนอ?" นั้นทำให้นึกถึงเมื่อ อาบีเมเลคกล่าวตำหนิอับราฮัม เมื่อท่านบอกกับใครๆว่านางซาราห์เป็นน้องสาว (ปฐก. 20:9). และนี่เป็นผู้เผยพระวจนะที่มีความตั้งใจแัน่วแน่ จนขนาดทำให้ชาวเรือถึงกับช็อค (1 โครินท์. 5:1). คงจะมีเรื่องมากกว่าที่บันทึกไว้ในพระธรรมโยนาห์แน่ๆ,10 แต่เท่า ที่พวกชาวเรือได้ยินก็แทบทำให้พวกเขาตัวแข็งเป็นหินได้. คงยังจำได้ว่าลมพายุก็ยัง พัดกระหน่ำรุนแรง และเรือก็กำลังจะแตกเป็นเสี่ยง (cf. ข้อ. 4).
ทะเลเริ่มบ้าคลั่งขึ้นทุกที เวลาก็เหลือน้อยนิด. เช่นเดียวกับที่อาบีเมเลคต้องการคำ อธิษฐานจากอับราฮัมผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า (ปฐก. 20:7), พวกชาวเรือเพียงขอ ร้องให้โยนาห์ทูลขอพระเจ้าให้ทรงละพระอาชญาเสีย. เพราะอย่างน้อย เขาก็เป็น ถึงผู้เผยพระวจนะ . "เขาทั้งหลายจึงกล่าวแก่ท่านว่า, "เราควรจะทำอย่างไรแก่ท่าน? เพื่อทะเลจะได้สงบลงเพื่อเรา ?’" (โยนาห์ 1:11).
โยนาห์บอกกับพวกชาวเรือให้จับตัวเขาโยนลงทะเล, และทะเลจะสงบลง (ข้อ 12) แล้วทำไมโยนาห์ถึงไม่กระโดดลงไปในทะเลเองเล่า ? ดูเหมือนว่าพวกชาวเรือกำลัง ทำตามคำสั่งของพระเจ้าโดยผ่านทางผู้เผยพระวจนะโยนาห์. การจับโยนาห์โยนลง ทะเลก็เท่ากับส่งท่านไปสู่ความตาย เหมือนกับความบาปที่อิสราเอลมีต่อพระเจ้าก็ กำลังมุ่งไปสู่ความตาย (เลวีนิติ. 24:10-16), ดังนั้นพวกชาวเรือจึงต้องลงมือ จับโยนาห์ และโยนท่านลงทะเล ด้วยวิธีนี้พวกเขาจึงไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในบาป และการกบฎ ของโยนาห์
นักวิจารณ์บางคนพยายามตั้งข้อสังเกตุให้เห็นว่ามีการกลับใจในตอนนี้ อย่างที่เราอ่านพบเช่น :
ในที่สุดท่านก็ตอบคำถามของชาวเรือ, และยอมรับว่าท่านเป็นต้น เหตุของลมพายุนี้ ท่าทางเอาจริงของชาวเรือทำให้ลบล้างท่าที เมินเฉยไม่แยแสของท่าน และก่อให้เกิดความสำนึกผิด. และตอนนี้ ท่านเริ่มตระหนักแล้วว่าความบาปของท่านเป็นตัวการก่อให้เกิดพายุ ใหญ่ครั้งนี้. หนทางเดียวที่จะล้มเลิกพระพิโรธของพระเจ้าได้ คือยอม สละตนเองเพื่อรับโทษบาปนั้น. การที่ท่านยอมตายนั้นชี้ให้เห็นว่าท่าน รู้สึกสำนึกบาปที่มีต่อพระเจ้า.
โยนาห์แสดงให้เห็นว่าเขากลับใจจริง. ชายผู้นี้ไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะ การไม่เชื่อฟังอีกต่อไป เพราะเขาเสียสละตนเองเพื่อเป็นเหมือนเครื่อง บูชาเพื่อผู้อื่นจะไม่ตาย (ข้อ 12).
และเขาไม่ต้องวิ่งหนีพระเจ้าอีกต่อไป! เขายอมจำนนทั้งกาย, วิญญาณ และความต้องการให้กับพระเจ้า . เขาได้แสดงความเชื่ออันกล้าหาญ เขายังเป็นบุตรที่พึ่งพิงของพระเจ้า, ถึงแม้ได้ทำบาปที่ใหญ่หลวงมา 11 ก็ตาม
สำหรับผมไม่เห็นเลยว่ามีการกลับใจในตอนนี้.12 และไม่เห็นว่ามีการกลับใจที่ใหนใน หนังสือทั้งเล่ม, และที่แน่ๆไม่มีในบทที่่ 2. ทั้งหมดนี้เราก็รู้อยู่แล้วว่าโยนาห์อยากตาย ทำไมอยู่ดีๆเราถึงต้องมาเห็นว่าเป็นการกลับใจ. ถ้าเขาทำให้พระจ้าเคืองพระทัย โดยการหลบหนีคำสั่ง แน่นอนเขาก็สามารถทำได้เช่นกันด้วยการตาย. นอกเหนือจาก นั้นพวกชาวเรือแสดงความกลัวที่จะ "ทำให้โลหิตที่ไร้ความผิดตก" (ข้อ 14) . ถ้าโยนาห์ได้สารภาพบาปด้วยความจริงใจ ทำไมพวกชาวเรือถึงคิดว่าเขาเป็น "ผู้บริสุทธิ์" . การกลับใจหมายถึงยอมรับความผิด แต่พวกชาวเรือกลับกลัวว่าจะ ฆ่าผู้บริสุทธิ์. ไม่ ผมก็ยังไม่เห็นการกลับใจอยู่ดี. ดูเหมือนเขาก็ยังรอดตัวไปได้
เราคงคิดว่าในขนะที่สถานการณ์กำลังคับขันสุดๆเช่นนี้ ขนะที่พายุพัดแรงขึ้นและทำให้ อันตรายร้ายแรงกำลังจู่โจมเข้ามา, พวกชาวเรือคงต้องรีบทำตามที่โยนาห์บอก แต่ พวกเขากลับใช้ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะช่วยชีวิตโยนาห์ไว้โดยการพยายามพาย กลับเข้าฝั่งเพื่อส่งท่านลง (ข้อ13). นี่เป็นความพยายามที่เสี่ยงตายเอาการ เพราะชาย ฝั่งมักมีโขดหินและบรรดาปะการังขวางอยู่ และน่าจะเป็นที่ที่อันตรายที่สุดท่ามกลาง พายุร้าย . สถานที่ที่ปลอดภัยกว่าน่าจะเป็นที่อยู่ไกลออกไปจากชายฝั่ง 13
หลังจากที่พยายามช่วยชีวิตโยนาห์จนถึงที่สุดแล้ว. พวกชาวเรือก็เห็นพ้องต้องกันว่า สิ่งที่โยนาห์บอกน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด. แต่ก่อนที่จะโยนโยนาห์ลงไปในทะเล พวกชาวเรือก็อธิษฐานอีกครั้ง: "ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายขอวิงวอนต่อ พระองค์ ขออย่าให้ พวกข้าพระองค์พินาศ เพราะชีวิตของชายผู้นี้เลย ขออย่าให้ โทษของ การทำให้โลหิตที่ไร้ความผิดตกมาเหนือข้าพระองค์์ ข้าแต่พระเจ้า เพราะว่าพระองค์ได้ทรงกระทำสิ่งที่พระองค์พอพระทัย ." (โยนาห์ 1:14).
ชาวต่างชาติเหล่านี้ได้ทำมากมายเพียงใด เขายอมละจาก "เทพเจ้า" ของพวกเขา เพื่อพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่แท้จริงพระองค์เดียว. พวกเขาอ้อนวอนต่อพระเจ้าก่อนที่จะทำ สิ่งใดกับโยนาห์. และพวกเขาก็ยอมรับในความยิ่งใหญ่ของพระองค์ . หลังจากที่ได้ อธิษฐานแล้ว พวกเขาก็จับท่านโยนลงทะเลไป
ทะเลสงบลงแล้ว แต่ไม่ใช่พวกชาวเรือ14
(1:15-16)
15 เขาจึงจับโยนาห์ทิ้งลงไปในทะเล ความปั่นป่วนในทะเลก็สงบลง. 16 คนเหล่านั้นก็ยำเกรงพระเจ้ายิ่งนัก, เขาทั้งหลายก็ถวายสัตวบูชาแด่ พระเจ้าและสาบานตัวไว้.
ในขนะที่ชาวเรือเฝ้าดูโยนาห์จมหายไปในคลื่น เขาเริ่มรู้สึกว่าลมนิ่งลง และทะเลก็สงบลง พวกเขานึกออกทันทีว่า ที่คิดเอาไว้นั้นเป็นความจริง พระเจ้าของโยนาห์น่าจะเป็น พระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงพระองค์เดียว พระองค์ ได้กระทำให้เกิดพายุใหญ่ สาเหตุเพราะ การหนีไปของโยนาห์ผู้เดียว และอย่าง ที่โยนาห์บอกไว้ให้โยนเขาลงไปในทะเล แล้วทะเลก็จะสงบเอง. ดังนั้นพระธรรมตอน นี้จึงจบลงที่เรื่องการนมัสการของพวกชาวเรือ "คนเหล่านั้นก็ยำเกรงพระเจ้ายิ่งนัก, เขาทั้งหลายก็ถวายสัตวบูชาแด่พระเจ้าและสาบานตัวไว้" (โยนาห์ 1:16). ในขนะ ที่คนต่างชาติกลับกลายเป็นคนชอบธรรม ผู้เผยพระวจนะก็ยังหลงหายอยู่ ในความ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการไปประกาศกับชาวนีนะเวห์ โยนาห์กลับประกาศแบบ ไม่ตั้งใจกับชาวเรือแทน และคนพวกนี้ก็ได้มารู้จัก และมีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว กับท่าน .
บทสรุป
มีบทเรียนที่สำคัญมากมายจากบทแรกของหนังสือโยนาห์นี้ ให้ผมลองนำข้อ ที่เด่นๆออกมาและดูว่าจะนำมาใช้กับชีวิตของเราได้อย่างไร
ภาพพจน์ของเราที่เคยมีต่อผู้เผยพระวจนะและพวกคนต่างชาติไปกันไม่ได้กับ พระธรรมเล่มนี้เลย มีผู้วิจารณ์บางท่านกล่าวว่า:
"ภาพพจน์บางอย่างตามอุดมคติของศาสนาฮีบรูถูกเหวี่ยงทิ้งลงเรือไป พร้อมๆกับโยนาห์. เหมือนสร้างความรู้สึกเชิงติดลบต่อผู้เผยพระวนะ ให้กับพวกผู้อ่าน และทำให้มองเห็นภาพของสุนัขต่างชาตินั้นน่านับถือ มากขึ้น ทัศนคติเช่นนี้เป็นเหมือนดังเมล็ดพืชที่ผู้เล่าเรื่องหว่านไว้เพื่อ การเก็บเกี่ยวที่จะตามมาในภายหลัง" .15
ยอมรับเถอะครับว่า เนื้อหาเรื่องนี้นั้นช่างกลับตาลปัตรไปทั้งฝ่ายพระเอกและผู้ร้าย ตอนเริ่มอ่านแรกๆ เราคงเดาว่าโยนาห์นั้นเป็นพระเอกแน่ๆ ขนะที่พวกชาวเรือนอก ศาสนานั้นต้องเป็นพวกผู้ร้าย. และนี่คือภาพที่สะท้อนชัดเจนของโยนาห์ และคน อิสราเอลที่โยนาห์เป็นเหมือนตัวแทน ในเนื่อเรื่องชาวเรืออธิษฐานภาวนา ในขนะ ที่โยนาห์ ไม่ได้คิดจะทำอะไร ชาวเรือค้นหาความบาปที่อาจมีอยู่ในเรือ แต่โยนาห์ เปล่า ชาวเรือจบลงที่ได้นมัสการพระเจ้า แต่โยนาห์ก็เปล่าอีก พวกชาวเรือมีความ สงสารในตัวโยนาห์ ในขนะที่ท่านไม่ได้แยแสเลยว่าตัวเองเป็น สาเหตุที่ทำให้คน พวกนี้เดือดร้อนแสนสาหัส เห็นได้ชัดเจนว่าพระธรรมเรื่องนี้ พลิกความคาดหมาย ของเราจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว.
ความรู้สึกส่วนตัวที่ผมมีต่อพระธรรมบทนี้นั้นใกล้เคียงกับที่มีต่อพระธรรมปฐมกาล ในตอนที่กล่าวถึงยาโคบและพี่ชายของเขา เอซาว. เอซาวอาจจะเป็นคนไม่มีพระเจ้า แต่ผมก็ยังชอบเขามากกว่ายาโคบคนขี้ฉ้ออารมณ์ศิลปินอยู่ดี. ถ้าผมจะต้องเลือกเพื่อน บ้านสักคนระหว่างยาโคบและเอซาว ผมก็จะเลือกเอซาวทุกครั้งไป เช่นกัน ระหว่าง โยนาห์กับชาวเรือ ผมก็อยากได้ชาวเรือพวกนี้มาอยู่ข้างบ้านมากกว่าให้โยนาห์มาอยู่ เพียงแต่ในกรณีนี้ชาวเรือในที่สุดเชื่อในพระเจ้า แต่เอซาวมิใช่.
ให้มาดูข้อแตกต่างระหว่างโยนาห์และชาวเรือในบทแรกของพระธรรมโยนาห์ :
ชาวเรือ
โยนาห์
อธิษฐาน
ไม่ได้อธิษฐาน
ช่วยกันรักษาเรือและชีวิตอย่างแข็งขัน
นอนหลับสนิท
สงสารโยนาห์
ไม่แยแสต่อความเดือดร้อนของชาวเรือ
พยายามช่วยชีวิตโยนาห์
ไม่สนใจที่จะช่วยชาวเรือ
อยากมีชีวิตอยู่
อยากตาย
พยายามหาความบาป
อยากอยู่ในบาปต่อไป
เชื่อฟังในสิ่งที่ได้รู้มา
ไม่เชื่อฟังทั้งๆที่รู้มากกว่า
นมัสการพระเจ้า
ไม่นมัสการ
ตระหนกต่อความบาปของโยนาห์
ไม่รู้สึกรู้สมกับบาปของตนเอง
ยำเกรงพระเจ้า
ไม่มีหลักฐานว่ากลัวพระเจ้า
มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ทั้งโยนาห์และชาวเรือเห็นพ้องต้องกัน และเป็นสิ่งที่คิดผิดทั้งคู่ เพราะ ทั้งคู่ยึดตามแบบธรรมเนียมเดิมที่เคยทำมา และป็นไปตามขั้นตามตอน ทั้งคู่คิดตาม สิ่งที่ตนเองยึดถือ. คำถามที่ชาวเรือถามแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนความคิดของพวกเขา คำถามแบบในข้อ 8 ซึ่งเกี่ยวกับโยนาห์เช่น: (1) อาชีพ (เจ้าหากินทางใหน?) และ (2) เชื้อสาย เผ่าพันธ์ใด ? (และเจ้ามาจากใหน,ประเทศของเจ้าชื่ออะไร,เจ้าเป็นคน ชาติใหน?)
เป็นจริงมิใช่หรือ ว่าคนอิสราเอลนั้นภาคภูมิใจในบรรพบุรุษของตนเป็นอย่างยิ่ง (เราเป็นลูกหลานของอับราฮัม) และภูมิใจในชาติที่ได้ชื่อว่าเป็นชนของพระเจ้า พวกเขารู้สึกแตกต่างและโดดเด่นกว่าชาติอื่นใด และโยนาห์มิใช่ชนชาตินี้หรือ ? และยิ่งไปกว่านั้นอาชีพของเขายิ่งต้องเป็นที่น่าภาคภูมิใจสักเท่าใด ?
พระธรรมบทนี้บอกเราว่าเรื่องนี้ยังไม่ถึงที่สุด. ยังมีเรื่องที่สำคัญสำหรับพระเจ้าอีกสอง เรื่อง. เรื่องแรกคือ "รักพระเจ้า" เรื่องที่สองคือ "รักเพื่อนมนุษย์" โยาห์น่าจะสำแดง ความรักที่มีต่อพระเจ้าด้วยการเชื่อฟังพระองค์. โยนาห์ไม่ได้เชื่อฟัง แถมแสดงออก ด้วยการไม่ทำตามบัญญัติที่พระองค์สั่ง. เรื่องที่สองคือโยนาห์ไม่ได้รักเพื่อนมนุษย์ เราเห็นภาพสะท้อนชัดเจนจากการที่เขาแทบไม่่มีความสงสารต่อชาวเรือเลย
ในพระคัมภีร์ใหม่ องค์พระผู้เป็นเจ้ายังย้ำถึงเรื่องที่่สำคัญสองเรื่องนี้ซ้ำอีก - รักพระเจ้า และรักเพื่อนมนุษย์—เพราะเป็นหัวใจหลักจากพระบัญญัติในพระคัมภีร์เดิม และเป็นหลัก ของพันธสัญญาใหม่เช่นกัน(cf. มัทธิว 22:34-40). พระเยซูตรัสกับพวกสาวกว่าถ้าพวก เขารักพระองค์ พวกเขาควรจะเชื่อฟังและทำตามพระบัญญัติที่สอนให้รักผู้อื่น (ยอห์น 13:34; 14:15; 15:9-13).
ไม่ใช่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่พวกผู้นำทางศาสนาของอิสราเอลในยุคพระกิตติคุณ เป็นเหมือนเช่นโยนาห์ผู้เผยพระวจนะ คือเป็น "ผู้ร้าย" มากกว่าเป็น "คนดี" โยนาห์ เป็นดังภาพพยากรณ์ความชั่วร้ายของบรรดาผู้นำอิสราเอลในสมัยของพระเยซู ในขนะที่ เราคิดว่าพวกเขาน่าจะต้อนรับพระองค์ พวกเขากลับปฎิเสธ และยุยงส่งเสริมให้พระองค์ ไปสู่ความตาย คนเหล่านี้คือผู้ที่ "ยึดเอาเรือนของหญิงหม้าย" และสมควรแล้วที่ถูก พระเยซูกล่าวโทษอย่างรุนแรง (มัทธิว 23).
โยนาห์บทที่ 1 เตือนเราว่าพระเจ้าไม่ได้สนใจเรื่องเชื้อชาติ เผ่าพันธ์ ต้นตระกูล หรือ หน้่าที่การงานของเรา แต่พระองค์สนใจว่าเราทำสิ่งใดต่อคำสั่งของพระองค์ . เช่นเดียว กับที่ อ.เปาโลกล่าว พระเจ้าไม่ได้สนใจว่าเราเป็นผู้ครอบครองธรรมบัญญัติหรือไม่ (เหมือนที่พวกยิวเป็น) มากไปกว่าว่าเราปฎิบัติตามหรือไม่.
11 เพราะว่าพระเจ้าไม่ทรงเห็นแก่หน้าผู้ใดเลย. 12 คนทั้งหลายที่ไม่มี ธรรมบัญญัติและทำบาป จะต้องพินาศโดยไม่อ้างธรรมบัญญัติ และคน ทั้งหลายที่มีธรรมบัญญัติ และทำบาปก็จะต้องมีโทษตามธรรมบัญญัติ 13 เพราะว่าคนที่เพียงแต่ฟังธรรมบัญญัติเท่านั้น หาใช่ผู้ชอบธรรมใน สายพระเนตรของพระเจ้าไม่ คนทีประพฤติตามธรรมบัญญัติต่างหาก ที่พระเจ้าทรงถือว่าเป็นผู้ชอบธรรม 14 เมื่อคนต่างชาติซึ่งไม่มีธรรม บัญญัติได้ประพฤติตามธรรมบัญญัติโดยปกติวิสัย คนเหล่านั้นแม้ไม่มี ธรรมบัญญัติก็เป็นธรรมบัญญัติให้ตัวเอง แม้ว่าเขาจะไม่มีธรรมบัญญัติ ก็ตาม 15 เขาแสดงให้เห็นว่าหลักความประพฤติที่เป็นตามธรรมบัญญัติ นั้น มีจารึกอยู่ในจิตใจของเขา และใจสำนึกผิดชอบก็เป็นพยานของเขา ด้วย ความคิดขัดแย้งต่างๆของเขานั้นแหละจะกล่าวโทษตัวเขา หรือ อาจจะแก้ตัวให้เขา 16 ในวันที่พระเจ้าทรงพิพากษาความลับของ มนุษย์โดยพระเยซูคริสต์ ทั้งนี้ตามข่าวประเสริฐที่ข้าพได้เจ้าประกาศนี้
17 แต่ถ้าท่านเรียกตัวเองว่ายิว และพึ่งธรรมบัญญัติ และยกพระเจ้าขึ้น อวด 18 และว่าท่านรู้จักพระทัยของพระองค์ และเห็นชอบในสิ่งที่ ประเสริฐ เพราะว่าท่านได้เรียนรู้ในธรรมบัญญัติ 19 และถ้าท่านมั่นใจ ว่าท่านเป็นผู้จูงคนตาบอด เป็นความสว่างให้แก่คนทั้งหลายที่อยู่ใน ความมืด 20 เป็นผู้สอนคนโง่ เป็นครูสอนเด็ก เพราะท่านมีแบบอย่าง ของความรู้และความจริงในธรรมบัญัตินั้น 21ฉะนั้นท่านซึ่งเป็นผู้สอน คนอื่นจะไม่สอนตัวเองหรือ ? หรือเมื่อท่านเทศนาว่าไม่ควรลักทรัพย์ ตัวท่านเองลักหรือเปล่า ? (โรม 2:11-21)
ประเด็นที่ อ.เปาโลชี้ให้เห็นง่ายๆคือ การที่เป็นผู้ครอบครองและสั่งสอนธรรมบัญญัติ อย่างเช่นพวกยิวเท่านั้นไม่พอ มนุษย์ต้องเชื่อฟังธรรมบัญญัติด้วย โยนาห์ก็เป็นเหมือน พวกชาวยิวในสมัยนั้น ภูมิอกภูมิใจนัก ในการเป็นผู้ครอบครองธรรมบัญญัติ แต่ไม่เคย ประพฤติตาม ดังนั้นพวกชาวเรือผู้ตื่นตระหนกกลับกลายเป็นพระเอกของเรื่องไป เพราะ พวกเขาปฎิบัติทุกอย่างเท่าที่รู้ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ในขณะที่โยนาห์กลับขัด คำสั่งที่พระเจ้าสั่งเขาโดยตรง ทั้งๆที่รู้
พวกชาวเรือได้รับความรอด (ผมเชื่อว่า ทั้งกายและวิญญาณ) เพราะเขาเชื่อฟังสิ่งที่เขา รู้ว่าเป็นน้ำพระทัยพระเจ้า ซึ่งนับเป็น "ข่าวประเสริฐ" ของพวกเขา พวกเขาได้เรียนรู้ แล้วว่าบรรดา "เทพเจ้า" พวกนั้นไม่ใช่พระเจ้า เพราะไม่สามารถตอบคำอธิษฐาน หรือควบคุมท้องทะเลได้ พวกเขารู้ว่าความบาปนำมาซึ่งการพิพากษา และเรียนรู้ว่า พระเจ้าของชาวอิสราเอลเป็นผู้สร้างฟ้าสวรรค์ และแผ่นดินโลก และรู้อีกด้วยว่าจะรอด ได้ด้วยการ "ตาย" ของโยนาห์ชาวยิวผู้นี้
พระกิตติคุณของพวกเราทั้งหลายในทุกวันนี้ก็ยึดหลักเดียวกัน แต่ชัดเจนมากกว่า พระเยซูเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ เป็นผู้สร้างและกระทำให้ทุกสิ่งที่ทรงสร้างให้ดำรงอยู่ (โคโลสี. 1:16-17). โดยความเชื่อในพระคริสต์ ในการสิ้นพระชนม์ การฝังพระศพ และในการคืนพระชนม์ ทำให้เราได้รับความรอด เราทุกคนก็เหมือนชาวเรือที่อยู่บนเรือ ลำนั้น ตกอยู่ในอันตรายของการถูกพิพากษา เราเหมือนพวกเขาเพราะได้รับความรอด จากการสิ้นชีวิตของผู้อื่น ผู้เป็นชาวยิว พระเยซูคริสต์ ผู้แบกรับพระพิโรธของพระเจ้า เพื่อช่วยเราให้รอด โยนาห์ก็เป็นเหมือนพระเยซู ตายเพื่อความรอดของผู้อื่น แต่ที่ต่าง กันคือพระเยซูทรงปราศจากบาป และยอมสละพระองค์เองบนกางเขนที่เนินหัว กระโหลกเพื่อช่วยทุกคนที่เชื่อในพระองค์
ขอให้ความเชื่อของพวกชาวเรือนี้เป็นบทเรียนให้เราทั้งหลายว่า การพบคนหลอกลวง ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างที่จะปฎิเสธความเชื่อ โยนาห์เป็นคนที่หลอกลวง และผมเชื่อ ว่าพวกชาวเรือรู้ข้อนี้ดี ถึงกระนั้นการหลอกลวงของโยนาห์ก็ไม่สามารถขัดขวางความ เชื่อและไว้ใจที่พวกเขามีต่อพระเจ้าได้ ฉะนั้นอย่าพยายามหาข้ออ้างโดยชี้ให้เห็นถึง คนของพระเจ้าที่หลงผิดไป เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงการทำตามคำสั่งบ้าง เราทุกคนมี หน้าที่รับผิดชอบในการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า
ความบาปเป็นอันตรายต่อผู้อื่นจึงควรกำจัดให้หมดสิ้นไป. ตัวโยนาห์เองเป็นมหันตภัย อย่างยิ่งต่อชาวเรือ ความบาปของเขาเร่งพระพิโรธของพระเจ้าและทำให้ทุกคนบนเรือ ลำนั้นตกอยู่ในอันตราย พวกชาวเรือจะรอดได้ทางเดียวคือต้องโยนโยนาห์ลงทะเลไป
เรื่องนี้นับเป็นอุทาหรณ์ที่ดีเยี่ยมสำหรับวินัยของคริสตจักร เช่นเดียวกับที่บาปของ โยนาห์เป็นอันตรายต่อเรือทั้งลำ บาปของธรรมิกชนสักคนก็อาจทำให้ทั้งคริสตจักร ล่มลงมาได้ อย่างที่ อ.เปาโลกล่าวไว้ "เชื่อขนมปังเพียงนิดเดียว ย่อมทำให้ แป้งดิบฟูทั้งก้อน" (1 โครินธ์ 5:6). ดังนั้นถ้าทางคริสตจักรล้มเหลวที่จะจัดการกับ ความบาปของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง ก็จะเป็นอันตรายกับทั้งคริสตจักรด้วย และเช่นที่ โยนาห์ต้องถูกโยนลงทะเล สมาชิกที่ยังยืนยันจะทำบาปต่อไปต้องสมควรที่จะถูก "กำจัดออกไปเสีย" ด้วย (1 โครินธ์. 5:5, 9-13).
ไม่ใช่ตำแหน่งหรืออาชีพที่เราทำ แต่การกระทำของเราต่างหากที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เราเป็นบุตรของพระเจ้าหรือไม่ ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งงานสูงๆมักเป็นผู้ที่เมินเฉยต่อการ ทรงเรียกเป็นที่สุด ผู้ใดได้รับมากก็จะถูกเรียกเอาคืนมาก ขออย่าให้เราเป็นเหมือน โยนาห์ ผู้ที่รู้แล้วฝ่าฝืน แต่ให้เป็นเหมือนชาวเรือที่เชื่อฟังและทำตามพระประสงค์ของ พระเจ้าในทุกสิ่งที่รู้มา
"มีสันติสุข" ไม่ได้หมายความว่าอยู่ในน้ำพระทัยเสมอไป โยนาห์นอนหลับสนิทอยู่ใน เรือนั้นเห็นภาพชัดเจนว่าไม่มีใครกล้าฝ่าฝืนคำสั่งได้เท่าเขา บางทีก็เป็นจริงว่าการ "มีสันติสุข" อาจพิสูจน์ถึงการอยู่ในน้ำพระทัย แต่ก็ไม่เสมอไป สันติสุขของโยนาห์ เป็นผลมาจากจิตใจที่แข็งกระด้างและสำนึกที่เย็นชา ผู้ที่อยู่ในสภาพฝ่ายวิญญาณ เช่นนี้กำลังตกอยู่ในภัยอันตรายอันใหญ่หลวง
ความบาปที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งบรรดาธรรมิกชนทั้งหลาย ควรรู้ไว้ ข้อต่างๆด้านล่างเป็นอาการที่เกิดเพราะความบาปของโยนาห์ที่เราควรจำ:
1. ขาดการอธิษฐาน
2. ขาดการสรรเสริญ และความชื่นชมยินดี
3. ไม่มีความพอใจในชีวิต / ความตายอาจดีกว่า
4. ขาดการสำนึกในบาปของตนเอง
5. ขาดการสำนึกในผลของความบาปที่อาจมีต่อผู้อื่น
6. ไม่มีความสงสารให้ใคร
7. จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า
ขออย่าให้มีอาการเช่นนี้ในชีวิตของเราเลย ถ้ามีขอให้เราจัดการกับมันอย่างเร่งด่วน และจริงจัง
(จบบทที่ 1 - ยังมีต่อครับ)
ขยายความตอนแรก
--------------------------------------------------------------------------------
1 "โดยทั่วไปเรื่องคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมมักยกย่องคนของพระเจ้าในแง่ที่เขา เป็นคนกลางผู้่เปิดเผยพระราชอำนาจและพระสิริของพระองค์ แต่โยนาห์ไม่ใช่วีรบุรุษ เรื่องของเขาดูเหมือนอยู่ในแสงสลัว คำพยากรณ์หลายเรื่องในพระคัมภีร์เดิมที่เรา สามารถย้อนกลับไปค้นคว้าดูว่าพระเจ้ากระทำให้สำเร็จลงได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้ กลับมีรูปแบบตรงกันข้าม คือคำพยากรณ์ในเรื่องการทำลายนครนีนะเวห์ กลับไม่ เป็นไปตามนั้น " อ้างอิงจาก Leslie C. Allen, The Books of Joel, Obadiah, Jonah and Micah (Grand Rapids: William B. Eerdmans Publishing Company, 1976), p. 175.
2 2 ชื่อ "โยนาห์" แปลว่า "นกพิราบ," ถึงแม้เราชอบไพล่นึกไปว่าผู้เผยพระวจนะคนนี้ น่าจะเป็น "เหยี่ยว." มากกว่า "อามิททัย" แปลว่า "ผู้แท้จริง[ของฉัน] "
3 "ความชั่วร้ายของนีนะเวห์ ประกอบด้วย, นอกจากการกราบไหว้รูปเคารพแล้ว ยังมี ความยโสจนเกินควร (10:5-19; 36:18-20), และการกดขี่ข่มเหงเมืองขึ้นอย่าง ทารุณ (2 พกษ 15:29; 17:6; Is. 36:16, 17), "สงครามที่ไร้มนุษยธรรม" จาก Theodore Laetsch, The Minor Prophets (St. Louis: Concordia Publishing House, 1956), p. 221.
4 "ความตั้งใจหนีไปทารชิช", เมืองเก่าแก่ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของฟินิเซีย ตั้ง อยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน เป็นเมืองที่อยู่ใกลที่สุดทางทิศตะวันตกที่ รู้จักกันในสมัยนั้นว่า, "อยู่เกือบนอกโลก" อ้างอิงจาก Ibid., p. 221.
5 "เขาหนีไปจากพระพักตร์พระเจ้า" การที่จะไปยืนต่อหน้าผู้ใด ถูกใช้ในแง่ของการ ไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา. (ปฐก. 41:46;ฉธบ. 1:38; 10:8; 1 ซมอ. 16:21; 1 พกษ. 17:1; 18:15; 2 พกษ. 3:14, etc.) การหนีไปจากพระพักตร์ = ปฎิเสธที่จะไป รับใช้ผู้บังคับบัญชา" อ้างอิงจาก Ibid., p. 222.
6 "‘หลับสนิท,’ ใช้ใน Niphal, เป็นเหมือนการนอนหลับลึกอย่างไม่รู้ตัว(โยนาห์ 1:5, 6; Ps. 76:7, A.V., 6), ‘หลับเหมือนตาย’ (ผู้วินิจฉัย. 4:21; ดาเนียล. 8:18; 10:9); มีใน ปฐก. 2:21; 15:12; สภษ. 19:15, etc." Ibid., p. 223.
7 "จงลุกขึ้นไปยัง … —โยนาห์คงคิดว่าฝันร้ายไป: แต่เป็นคำพูดที่พระเจ้าทำลายความ สุขส่วนตัวของเขาก่อนหน้านี้" อ้างอิงจาก Allen, pp. 207-208.
8 "‘ข้าพเจ้าเป็นคนฮีบรู,’ เป็นชื่อที่คนต่างชาติรู้จักว่าเป็นชาวอิสราเอล (ปฐก. 14:13; 39:14, 17; 1 ซมอ. 29:3; กิจการ 6:1)." Laetsch, p. 225.
9 "พระลักษณะของพระเจ้า"แห่งฟ้าสวรรค์" ที่โยนาห์ต่อท้ายพระนามพระเจ้า พระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ (ปฐก. 24:3, 7), ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายใน เปอร์เซีย หลังจากช่วงที่ถูกเนรเทศ เป็นการพูดถึงยาเวห์ ในฐานะพระเจ้าที่มีพระ ราชอำนาจและฤทธานุภาพสูงสุด ชาวยิวใช้นามนี้เมื่อติดต่อกับชาวต่างชาติเพราะเป็น ที่เข้าใจว่าพระองค์ปกครองทั่วสากลโลก มากกว่าที่ชาวยิวคิดว่าเป็นพระเจ้าของ บรรพบุรุษ ’ โดยใช้พระนามนี้ ผู้คนทั่วไปจะสามารถพึ่งพิงได้้มากกว่าเป็นเพียงพระ เจ้าของกลุ่มบุคคลใด ดังนั้นจึงมีการต่อท้ายด้วยคำว่า "ผู้สร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดิน แห้ง." อ้างอิงจาก Allen, pp. 209-210.
10 จาก Ibid., pp. 210-211. Allen ดูเหมือนจะมีหมายเหตุในเรื่องนี้ทำนองไม่อยาก ให้โยนาห์เป็นวีรบุรุษ แต่เป็นผู้ร้าย แต่ผมเห็นว่าโยนาห์เพียงอยากจะหนีจากหน้าที่ด้วย การยอมตาย คำร้องขอในบทที่ 4 จะช่วยเสริมให้เห็นความเป็นไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
11 อ้างอิงจาก Laetsch, p. 227.
12 ตัวอย่างของการกลับใจที่แท้จริง, 2 ซมอ. 24:17; 1 พศด. 21:17.
13 ทำไมพระเจ้าไม่ช่วยโยนาห์โดยความพยายามของชาวเรือ ? Allen (p. 211) ผมคิดว่าเป็นเพราะบางทีพระองค์อยากให้โยนาห์รู้ว่าเขาได้รับการช่วยกู้โดยการ อัศจรรย์ที่เป็นพระคุณล้วนๆ โยนาห์ต้องการ "การช่วยกู้" ไปพร้อมๆกับที่ชาวนีนะเวห์ ได้รับ และโยนาห์จะชื่นชมยินดีในการได้รับความรอด แต่คนละแบบกับวิธีของชาว นีนะเวห์
14 ผมชอบชื่อเรื่องที่ Allen (p. 205) ให้ไว้เป็นหัวข้อของ vv. 4-16, ว่า "การลงโทษโยนาห์: ความภักดีของคนนอกศาสนา"
15 อ้างอิงจาก Allen, p. 212.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น